Site icon SDG Move

พัฒนาแช็ตบอตช่วยค้นหากฎหมายเกี่ยวกับ อปท. ให้ตอบโจทย์และมีประสิทธิภาพได้อย่างไร ชวนหาคำตอบจากงานวิจัยของ ‘รศ. ดร.นพพร ลีปรีชานนท์’

ชวนอ่าน “โครงการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ สำหรับค้นหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” โดย  รศ. ดร.นพพร ลีปรีชานนท์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภายใต้การสนับสนุนของสถาบันพระปกเกล้า และสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-RAC)

การช่วยผู้ประสบปัญหาเรื่องเกี่ยวกับข้อกฎหมายให้สามารถหาคำตอบในเบื้องต้นได้นั้น หน่วยงานที่ให้บริการให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายจะมีการให้บริการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ เพื่อให้บริการปรึกษาด้านกฎหมาย ทว่ามีข้อจำกัดหลายประการ เช่น ความล่าช้าในการตอบคำถาม ซึ่งเมื่อผู้ให้คำปรึกษาไม่มีความรู้เพียงพอ จึงต้องรอผู้เชี่ยวชาญตอบคำถาม และบ่อยครั้งที่ผู้เชี่ยวชาญไม่มีเวลาตอบ ซึ่งบางครั้งเป็นคำถามที่มีการถามซ้ำจากหลายบุคคลที่มีปัญหาเดียวกัน แต่ไม่มีการจดบันทึกรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ ทำให้ปัญหาเช่นนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นการให้บริการต้องใช้มนุษย์ในการนั่งรอโทรศัพท์เพื่อตอบคำถามซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูงและมีความไม่แน่นอน 

เพื่อแก้ปัญหาการใช้มนุษย์ตอบคำถาม จึงมีความพยายามนำเทคโนโลยีมาช่วยในการพัฒนาการให้บริการ เช่น ระบบโทรศัพท์แบบตอบรับอัตโนมัติ ซึ่งสามารถให้บริการได้ตลอดเวลา แต่เนื่องจากการใช้ระบบโทรศัพท์แบบตอบรับอัตโนมัตินั้น เมื่อผู้ถามโทรเข้าไปใช้ระบบ ระบบจะทำการถามคำถามและตัวเลือกของคำตอบตามลำดับที่ได้เตรียมไว้ ซึ่งการที่ต้องฟังคำถามและตัวเลือกคำตอบที่มีความยาวนั้นเป็นภาระให้กับผู้ใช้ อาจมีความผิดพลาดในการฟังจากผู้ใช้ และมีค่าใช้จ่ายสูง การใช้ระบบนี้จึงไม่เหมาะนัก 

เพื่อช่วยแก้ปัญหาข้างต้น รศ. ดร.นพพร ร่วมกับวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า จึงดำเนินการวิจัยข้างต้น โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 

  1. เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลจาก “คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับข้อกฎหมายสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านบริหารงานบุคคลท้องถิ่น” 
  2. เพื่อสร้าง “กรอบการสนทนา (dialogue)” การถาม-การตอบเกี่ยวกับข้อกฎหมายสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านบริหารงานบุคคลท้องถิ่น เพื่อนำไปพัฒนาเป็นรูปแบบจำลอง (model) การถาม-การตอบ เกี่ยวกับข้อกฎหมายสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

จึงนับว่าเป็นงานวิจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 2 เป้าหมาย ได้แก่ เป้าหมายที่ 9 และเป้าหมายที่ 16 ความสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันเข้มแข็ง

รศ. ดร.นพพร ดำเนินการวิจัยด้วยวิธีการศึกษา ดังรายละเอียดต่อไปนี้

  1. กำหนดหัวข้อและขอบเขตของการศึกษาภายใต้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายท้องถิ่น 
  2. ศึกษารวบรวมข้อมูลและคัดกรองข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับหัวข้อในกรอบการวิจัยคำพิพากษา รวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึกกับเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 
  3. นำข้อมูลที่ได้ไปประมวลผลโดยประมวลรูปแบบ “คำถามที่อาจเกิดขึ้น” ในประเด็นข้อกฎหมายหนึ่งๆ พร้อมทั้ง “คำตอบ” สำหรับคำถามเหล่านั้น 
  4. จัดทำโครงสร้างกรอบสนทนาตามรูปแบบที่ปัญญาประดิษฐ์เข้าใจ 
  5. ทดสอบกรอบสนทนาโดยใช้เครื่องมือด้านปัญญาประดิษฐ์ เช่น Google Diaglogflow โดยเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายปกครองส่วนท้องถิ่น 
  6. นำกรอบสนทนาที่ผ่านการทดสอบแล้วไปจัดทำและพัฒนาเป็นฐานข้อมูล 
  7. นำเสนอผลการวิจัยต่อสถาบันพระปกเกล้า

ผลการศึกษาแบ่งตามประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้

นอกจากนี้ รศ. ดร.นพพร ยังได้ให้ข้อเสนอแนะที่น่าสนใจหลายประการ อาทิ

กล่าวโดยสรุป งานวิจัยของ รศ. ดร.นพพร ได้ศึกษา สำรวจ และทดลองการพัฒนาแช็ตบอตสำหรับช่วยค้นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งผลการศึกษาและคำแนะนำสามารถต่อยอดพัฒนาให้ตอบโจทย์ ง่ายต่อการใช้งาน และมีประสิทธิภาพอีกได้ อย่างไรก็ดีขั้นริเริ่มพัฒนานี้ก็นับว่าเป็นก้าวสำคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์สำหรับประชาชนเพื่อให้สามารถเรียนรู้และเข้าถึงข้อกฎหมายได้ด้วยตนเองผ่านอุปกรณ์สื่อสารที่มีอยู่

งานวิจัยดังกล่าวจัดอยู่ในกลุ่มการวิจัยเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนการนำ SDGs ไปปฏิบัติในพื้นที่ธีมการลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในสังคม 

งานวิจัยดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG9 โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม และอุตสาหกรรม
– (9.c) เพิ่มการเข้าถึงเทคโนโลยีด้านข้อมูลและการสื่อสาร และพยายามที่จะจัดให้มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตโดยถ้วนหน้าและในราคาที่สามารถจ่ายได้ ในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ภายในปี 2563 
#SDG16 ความสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันเข้มแข็ง
– (16.3) ส่งเสริมหลักนิติธรรมทั้งในระดับชาติและระหว่างประเทศ และสร้างหลักประกันว่าทุกคนสามารถเข้าถึงความยุติธรรมอย่างเท่าเทียม

Research recommends แนะนำงานวิจัยของนักวิจัยธรรมศาสตร์ที่สนับสนุนการขับเคลื่อน SDGs กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัยแบบบูรณาการระดับแนวหน้า เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (TU-SDG Research Network)

Author

  • Knowledge Communication | สนใจประเด็นสันติภาพ ความมั่นคงมนุษย์ เเละสิ่งเเวดล้อมทางทะเล ใช้ชีวิตโดยเชื่อในสมดุลมากกว่าความสมบูรณ์เเบบ

Exit mobile version