Site icon SDG Move

เมื่อไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ รัฐมีนโยบายอย่างไร? เพื่อส่งเสริมรายได้และการจ้างงาน ชวนค้นหาคำตอบจากงานวิจัยของ ‘ผศ. ดร.ศุภชัย ศรีสุชาติ  และคณะ’

ชวนอ่านงานวิจัย “ส่งเสริมการมีรายได้และการมีงานทำของผู้สูงอายุ ตามนโยบายประชารัฐเพื่อสังคม (E6)” ผศ. ดร.ศุภชัย ศรีสุชาติ และคณะ คณะเศรษฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอต่อกองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยสถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปัจจุบัน ประเทศไทยกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุ โดยมีประชากรที่อายุตั้งแต่ 60 ขึ้นไปถึง 10 กว่าล้านคน คิดเป็นร้อยละ 15.82 ของประชากรทั้งหมด ขณะที่ คาดการณ์ว่าจะมีประชากรที่เคลื่อนไปเป็นผู้สูงอายุในช่วง 10 ปีข้างหน้าอีกประมาณ 9.2 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 14.23 ของประชากรทั้งหมด รวมถึงที่ผ่านมา การมีอัตราการเกิดที่ลดลง โดยจากการคาดการณ์พบว่า สามปีให้หลังมานี้ประเทศไทย มีประชากรอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปมากกว่าประชากรวัยเด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปี  ซึ่งในปี 2564 คาดว่าไทยจะเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ และในปี 2574 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด คือ ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด 

ดังนั้น การสูงวัยของประชากรเป็นประเด็นท้าทายต่อการพัฒนาเศษฐกิจและสังคมของประเทศ การเตรียมพร้อมต่อสังคมสูงวัย จึงมีความจำเป็นเพื่อให้เศรษฐกิจยังสามารถขยายตัวได้ และประชากรผู้สูงอายุมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม

เพื่อเป็นการส่งเสริมรายได้และการการมีงานทำของผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ จึงได้ให้มีการศึกษาตามโครงการส่งเสริมการมีรายได้และการมีงานทำของผู้สูงอายุตามนโยบายประชารัฐเพื่อสังคม (E6) เพื่อศึกษาเชิงปฏิบัติการและจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายตามรายละเอียดต่อไป มีวัตถุประสงค์ ดังนี้

เพื่อเป็นการส่งเสริมรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีของผู้สูงอายุให้สามารถพึ่งพาตนเองได้และมีโอกาสในการได้รับจ้างงานเท่าเทียมกับวัยอื่น ๆ งานวิจัยฉบับนี้ของ ผศ. ดร.ศุภชัย และคณะ จึงสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 3 เป้าหมาย ได้แก่ เป้าหมายที่ 3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี เป้าหมายที่ 8 งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ และเป้าหมายที่ 10 ลดความเหลื่อมล้ำ

นอกเหนือจากการพิจารณาข้อมูลการจ้างงานผู้สูงอายุ นโยบายและมาตรการการจ้างงานผู้สูงอายุทั้งในและต่างประเทศ การศึกษานี้ ได้มีการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบการที่ให้ความสนใจกับการขยายอายุการทำงานของผู้สูงอายุและการลงพื้นที่ภาคสนามเพื่อระดมสมองร่วมกับผู้แทนของผู้สูงอายุ หน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 4 จังหวัด คือ เชียงใหม่ พระนครศรีอยุธยา ขอนแก่น และภูเก็ต จังหวัดละ 50 ท่าน พร้อมศึกษาดูงานที่บริษัทผึ้งน้อยเบเกอรี จังหวัดเชียงใหม่ และศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จังหวัดภูเก็ต เพื่อนำมาสังเคราะห์และตอบต่อวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้

จากงานวิจัยดังกล่าว สถานการณ์ของประเทศชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของการจ้างงานผู้สูงอายุ เพื่อเป็นการรักษากำลังการผลิตในระยะยาว พร้อมทั้งเสริมสร้างศักยภาพและศักดิ์ศรีของความเป็นผู้สูงอายุ โดยมาตรการหลักจะเป็นไปตามกลไกของตลาดแรงงานและยังคงขึ้นกับความต้องการของนายจ้างที่จะตัดสินใจจ้างงานผู้สูงอายุหรือไม่ ซึ่งในทางปฏิบัติมีจำนวนไม่มากนัก ส่งผลให้ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม มีการเข้ามาร่วมกันในรูปแบบประชารัฐเพื่อการจ้างงานผู้สูงอายุอย่างเป็นระบบ 

โดยจากผลการศึกษาค้นพบรูปแบบเพื่อเสริมสร้างการจ้างงานผู้สูงอายุได้ 3 รูปแบบ ดังนี้

กล่าวโดยสรุป เพื่อเป็นการส่งเสริมรายได้และการมีงานทำของผู้สูงอายุอย่างเป็นรูปธรรมภาครัฐควรมีมาตรการเสริมอื่น ๆ เพื่อจูงใจให้เกิดการจ้างงานผู้สูงอายุอย่างเป็นระบบ และสนับสนุนการจ้างงานผ่านรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งการสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้เป็นหนึ่งในกำลังแรงงาน ไม่เพียงช่วยให้เกิดรายได้เท่านั้น แต่ยังช่วยลดภาระพึ่งพิงสวัสดิการจากภาครัฐ ไปพร้อมสร้างคุณค่าให้แก่ผู้สูงอายุอีกด้วย

งานวิจัยดังกล่าวจัดอยู่ในกลุ่มการวิจัยเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบาย SDGs ในระดับชาติและภูมิภาค (policy) ธีมสุขภาพและสุขภาวะที่ดีของคนทุกช่วงวัย

งานวิจัยดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
– (3.4) ลดการตายก่อนวัยอันควรจากโรคไม่ติดต่อให้ลดลงหนึ่งในสาม ผ่านทางการป้องกันและการรักษาโรค และสนับสนุนสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดี ภายในปี 2573
#SDG8 งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
– (8.5) บรรลุการจ้างงานเต็มที่และมีผลิตภาพ และการมีงานที่มีคุณค่าสำหรับหญิงและชายทุกคน รวมถึงเยาวชนและผู้มีภาวะทุพพลภาพ และให้มีการจ่ายที่เท่าเทียมสำหรับงานที่มีคุณค่าเท่าเทียมกัน ภายในปี 2573
#SDG10 ลดความเหลื่อมล้ำ
– (10.2) ให้อำนาจและส่งเสริมความครอบคลุมด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมืองสำหรับทุกคน โดยไม่คำนึงถึงอายุ เพศ ความบกพร่องทางร่างกาย เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ แหล่งกำเนิด ศาสนา หรือสถานะทางเศรษฐกิจหรือสถานะอื่น ๆ ภายในปี 2573

Research recommends แนะนำงานวิจัยของนักวิจัยธรรมศาสตร์ที่สนับสนุนการขับเคลื่อน SDGs กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัยแบบบูรณาการระดับแนวหน้า เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (TU-SDG Research Network)

Author

  • Knowledge Communication | มนุษย์ผู้เชื่อว่า “การสื่อสารสามารถเชื่อมต่อความรู้สึกของกันและกันได้” ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหน หรือเผชิญกับอะไรอยู่ การสื่อสารจะช่วยบอกเล่าเรื่องราวส่งไปให้แก่ผู้อื่นได้รับรู้

Exit mobile version