Site icon SDG Move

30 ปีหลังปฏิญญาปักกิ่ง สิทธิสตรียังเปราะบาง เด็กผู้หญิงเผชิญความรุนแรง-ขาดโอกาสทางการศึกษา

ตลอดสามทศวรรษที่ผ่านมา แม้จะมีความก้าวหน้าสำคัญด้านสิทธิสตรี แต่เด็กผู้หญิงหลายล้านคนทั่วโลกยังคงเผชิญกับความเหลื่อมล้ำทางโอกาส ไม่ได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม ขาดทักษะที่จำเป็นสำหรับอนาคต และเข้าไม่ถึงบริการสุขภาพที่สำคัญต่อชีวิต นอกจากนี้ ยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากการปฏิบัติที่เป็นอันตราย เช่น การบังคับแต่งงานในวัยเด็ก การขลิบอวัยวะเพศหญิง ความรุนแรง และการล่วงละเมิด ซึ่งล้วนเป็นอุปสรรคต่อเด็กผู้หญิงเหล่านี้ 

กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ร่วมกับ Plan International และองค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ (UN Women) เปิดตัวรายงานฉบับใหม่ Girl goals: What has changed for girls? Adolescent girls’ rights over 30 yearsเป็นรายงานเพื่อทบทวนการเปลี่ยนแปลงในชีวิตของเด็กผู้หญิงตลอด 30 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ที่ประกาศปฏิญญาปักกิ่งและแผนปฏิบัติการเพื่อความก้าวหน้าของสตรี (Beijing Declaration and Platform for Action) ที่ได้รับการรับรองในปี 2538 จากรัฐบาล 189 ประเทศและดินแดน นับเป็นพิมพ์เขียวในการดำเนินงานด้านสิทธิสตรี

รายงานฉบับนี้มีข้อค้นพบสำคัญ เช่น

รายงานฉบับนี้เน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการดำเนินการระดับโลก เพื่อสร้างโอกาสที่เท่าเทียมให้กับเด็กผู้หญิง ผ่านการลดช่องว่างด้านการศึกษา ขจัดความรุนแรงทางเพศ ส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต ตลอดจนการลงทุนในพื้นที่ที่ต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบและการดำเนินงานอย่างมีเป้าหมาย โดยเฉพาะการส่งเสริมศักยภาพทางเศรษฐกิจเพื่อให้แน่ใจว่าเด็กผู้หญิงทั่วโลกได้รับโอกาสที่เท่าเทียมและสามารถกำหนดอนาคตได้ด้วยตนเอง

● อ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
รายงานของ UNODC และ UN Women เผย ‘บ้าน’ คือสถานที่สร้างความรุนแรง ต่อผู้หญิงและเด็กหญิงหลายคนทั่วโลก
– ความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กเพิ่มขึ้นในช่วงโควิด-19: UN Women, UNODC, IAWP ออกคู่มือสำหรับตำรวจ จัดการเคสโดยคำนึงประเด็นทางเพศและ “ผู้รอดชีวิต” เป็นศูนย์กลาง 
 ผู้หญิงยังคงเผชิญกับ ‘ความรุนแรงบนฐานของเพศสภาพ’ (GBV) ในแต่ละวัน แต่รัฐบาลและงานด้านมนุษยธรรมยังให้ความสำคัญน้อยเกินไป
 รายงาน UNODC เผย ผู้หญิง-เด็กหญิง 51,100 รายทั่วโลก ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงจากคนรักและครอบครัว
 SDG Recommends | 5 อินโฟกราฟิกเล่าสถานการณ์ “ความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กหญิง” ในโลก 5 รูปแบบ  

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG5 ความเท่าเทียมทางเพศ
– (5.1) ยุติการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบที่มีต่อผู้หญิงและเด็กหญิงในทุกที่
– (5.2) ขจัดความรุนแรงทุกรูปแบบที่มีต่อผู้หญิงและเด็กหญิงทั้งในที่สาธารณะและที่รโหฐาน รวมถึงการค้ามนุษย์ การกระทำทางเพศ และการแสวงประโยชน์ในรูปแบบอื่น
– (5.3) ขจัดแนวปฏิบัติที่เป็นภัยทุกรูปแบบ อาทิ การแต่งงานในเด็กก่อนวัยอันควรโดยการบังคับ และการขลิบอวัยวะเพศหญิง
– (5.6) สร้างหลักประกันว่าจะมีการเข้าถึงสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์และสิทธิด้านการเจริญพันธุ์โดยถ้วนหน้า ตามที่ตกลงในแผนปฏิบัติการของการประชุมนานาชาติว่าด้วยประชากรและการพัฒนา และปฏิญญาปักกิ่งและเอกสารทบทวนผลลัพธ์จากการประชุมเหล่านั้น
– (5.c) เลือกใช้และเสริมความเข้มแข็งแก่นโยบายที่ดีและกฎระเบียบที่บังคับใช้ได้ เพื่อส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและการเพิ่มบทบาทแก่ผู้หญิงและเด็กหญิงทุกคนในทุกระดับ
#SDG10 ลดความเหลื่อมล้ำ
– (10.2) เสริมสร้างศักยภาพและส่งเสริมความครอบคลุมทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองสำหรับทุกคน โดยไม่คำนึงถึงอายุ เพศ ความพิการ เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ แหล่งกำเนิด ศาสนา สถานะทางเศรษฐกิจ หรืออื่น ๆ ภายในปี พ.ศ. 2573
– (10.3) สร้างหลักประกันถึงโอกาสที่เท่าเทียมและลดความไม่เสมอภาคของผลลัพธ์ รวมถึงโดยการขจัดกฎหมาย นโยบาย และแนวทางปฏิบัติที่เลือกปฏิบัติ และส่งเสริมการออกกฎหมาย นโยบาย และการปฏิบัติที่เหมาะสมในเรื่องดังกล่าว
#SDG16 ความสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันที่เข้มแข็ง
– (16.1) ลดความรุนแรงทุกรูปแบบและอัตราการตายที่เกี่ยวข้องในทุกแห่งให้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

แหล่งที่มา : Fast facts: 30 years of uneven progress for adolescent girls (UN Women)

Author

  • Knowledge Communication | มนุษย์ผู้เชื่อว่า “การสื่อสารสามารถเชื่อมต่อความรู้สึกของกันและกันได้” ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหน หรือเผชิญกับอะไรอยู่ การสื่อสารจะช่วยบอกเล่าเรื่องราวส่งไปให้แก่ผู้อื่นได้รับรู้

Exit mobile version