Site icon SDG Move

TU SDG Seminars | งานวิจัยจะศึกษาและหนุนเสริมการร่วมมือและเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอย่างไร ชวนหาคำตอบจากบทสรุปสัมมนาการวิจัยด้านหุ้นส่วนการพัฒนาและกลไกการขับเคลื่อน

ชวนอ่านบทสรุปการสัมมนา หัวข้อ “การวิจัยระดับพื้นที่ด้านหุ้นส่วนการพัฒนาและกลไกการขับเคลื่อน”   โดย ผศ. ดร.คมน์ พันธรักษ์ และ ศ.วิทวัส รุ่งเรืองผล คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งจัดขึ้นภายใต้เวทีสัมมนาการวิจัยด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2566 ผ่านระบบ Zoom Meeting

ด้วยประเด็นที่กล่าวถึง การสัมมนาข้างต้นจึงมีความเกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 4 เป้าหมาย ได้แก่ เป้าหมายที่ 8 งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ เป้าหมายที่ 9 โครงสร้างพื้นฐาน วิจัยและนวัตกรรม เป้าหมายที่ 11 เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน เเละเป้าหมายที่ 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน


01 – บทสรุปการนำเสนอประเด็น “ความสำคัญในการพัฒนา MSME” (micro small and medium enterprises)

ผศ. ดร.คมน์ พันธรักษ์ ได้กล่าวถึงการวิจัยเพื่อสนับสนุนหุ้นส่วนการพัฒนาและกลไกขับเคลื่อน ในประเด็นของความสำคัญในการพัฒนา MSME มีสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้ 


02 – บทสรุปการนำเสนองานวิจัย “เรื่อง City DNA สำหรับเมืองรอง (meeting incentive conference event) ของ 3 จังหวัด (นครศรีธรรมราษ กระบี่ สุราษฎร์ธานี)”

ศ.วิทวัส รุ่งเรืองผล ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานวิจัยเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่และงานวิจัยลงพื้นที่ เรื่อง “City DNA สำหรับเมืองรอง (meeting incentive conference event) ของ 3 จังหวัด (นครศรีธรรมราษ กระบี่ สุราษฎร์ธานี)” มีสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้ 


03 – ประเด็นสำคัญที่ได้จากการแลกเปลี่ยนพูดคุยในห้องสัมมนา

การสนทนาแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ร่วมสัมมนากับนักวิจัยแนวหน้า มีประเด็นสำคัญ อาทิ

กล่าวโดยสรุป การสัมมนาหัวข้อข้างต้นได้เปิดเผยให้เห็นถึงประสบการณ์การทำงานวิจัยในการหนุนเสริมการสร้างความร่วมมือ เครือข่าย และกลไกในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการหนุนเสริมพลังของการทำงานวิจัยและการสร้างพื้นที่ให้ท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วม

รับชมวิดีโอบันทึกจากงานสัมมนาย้อนหลัง ได้ที่นี่ : https://youtu.be/8nuxk_0xPOU
ติดตามสรุปสัมมนาในโครงการทั้ง 12 เวที ได้ที่ : sdgmove.com

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG8 งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
– (8.10) เสริมความแข็งแกร่งของสถาบันทางการเงินภายในประเทศเพื่อส่งเสริมและขยายการเข้าถึงการธนาคาร การประกัน และบริการทางการเงินแก่ทุกคน
#SDG9 โครงสร้างพื้นฐาน วิจัยและนวัตกรรม
– (9.3)  เพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงิน โดยรวมถึงเครดิตในราคาที่สามารถจ่ายได้ให้แก่อุตสาหกรรมและวิสาหกิจขนาดเล็ก โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา และให้เพิ่มการผนวกกลุ่มเหล่านี้เข้าสู่ห่วงโซ่มูลค่าและตลาด
#SDG11 เมืองและชุมชนที่ยั่งยื
– (11.3) ยกระดับการพัฒนาเมืองและขีดความสามารถให้ครอบคลุมและยั่งยืน เพื่อการวางแผนและการบริหารจัดการการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์อย่างมีส่วนร่วม บูรณาการและยั่งยืนในทุกประเทศ ภายในปี 2573
#SDG17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
– (17.17) สนับสนุนและส่งเสริมหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาครัฐ-ภาคเอกชน และประชาสังคม สร้างบนประสบการณ์และกลยุทธ์ด้านทรัพยากรของหุ้นส่วน

กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัยแบบบูรณาการระดับแนวหน้า เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (TU-SDG Research Network)

Author

  • Knowledge Communication | สนใจประเด็นสันติภาพ ความมั่นคงมนุษย์ เเละสิ่งเเวดล้อมทางทะเล ใช้ชีวิตโดยเชื่อในสมดุลมากกว่าความสมบูรณ์เเบบ

Exit mobile version