Site icon SDG Move

สำรวจนโยบาย ‘บำนาญ’ ของแต่ละประเทศ ในวันที่โลกเผชิญสู่สังคมผู้สูงอายุ

ประชากรโลกกำลังเข้าสู่วัยสูงอายุ จากรายงาน World Population Prospects 2565 โดย องค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) คาดการณ์ว่า จำนวนประชากรโลกเพิ่มขึ้นถึง 8 พันล้านคน ซึ่งจะมีผู้ที่อายุมากกว่า 65 ปีอยู่ราวร้อยละ 10 และคาดว่าจะเพิ่มเป็นร้อยละ 16 ภายในปี 2593 ขณะที่ ประเทศไทย ได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี 2565 ซึ่งจากการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุ รัฐบาลทั่วโลก จึงได้มีการเตรียมพร้อมจัดสรรเพิ่มค่าใช้จ่ายสำหรับบำนาญและสวัสดิการผู้สูงอายุ เพื่อรองรับความท้าทายและลดความเหลื่อมล้ำในการใช้ชีวิตที่อาจเกิดขึ้น

ปัจจุบัน รัฐบาลในประเทศต่าง ๆ ได้มีแนวทางการจัดสรรงบประมาณเพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้น จึงอยากชวนผู้อ่านสำรวจว่า “แต่ละประเทศมีการจัดสรรสวัสดิการผู้สูงอายุเป็นอย่างไร เหมาะสมต่ออายุหรือไม่” 

จากรายงานการจัดอันดับประเทศที่มีระบบบำนาญดีที่สุดปี 2565 จัดทำขึ้นโดย Mercer CFA Institute Global Pension Index จากการสำรวจประเทศ 44 ประเทศทั่วโลก โดยคำนวณดัชนีชี้วัดระบบบำนาญจาก 3 ข้อหลัก ได้แก่ 1) ความเพียงพอของบำนาญ 2) ความยั่งยืนของระบบบำนาญ และ3) ความครบถ้วนของระบบบำนาญ จึงขอหยิบยกตัวอย่างการดำเนินงานที่น่าสนใจ ดังนี้ 

ขณะที่ ประเทศไทย รั้งท้ายอันดับที่ 44 ด้านการจัดการระบบบำนาญ โดยรัฐบาลได้จัดสรรเบี้ยยังชีพคนชรา เป็นเงินบำนาญให้แก่ผู้สูงอายุที่อายุครบ 60 ปีขึ้นไป ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 600 บาท และจะปรับเพิ่มขึ้นตามช่วงอายุ ด้วยการใช้ระบบขึ้นทะเบียนก่อนเปลี่ยนแปลงเป็นการยืนยันสิทธิ โดยไม่มีเงื่อนไขหรือคุณสมบัติด้านรายได้ มีเพียงการระบุว่าจะต้องไม่เป็นผู้รับสวัสดิการอื่นอยู่ก่อนแล้ว อย่างไรก็ดี ล่าสุดวันที่ 11 สิงหาคม 2566 ได้เผยแพร่ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงิน เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566 มีการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพว่าต้องเป็นผู้ไม่มีรายได้หรือรายได้ไม่เพียงพอ หรือ “พิสูจน์ว่าจน” ไม่ใช่แบบถ้วนหน้าอย่างที่ผ่านมา ซึ่งผู้สูงอายุที่ขึ้นทะเบียนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อนการประกาศระเบียบนี้ให้ยังคงได้รับสิทธิต่อไป

แนวทางการจัดสรรบำนาญเป็นการลดความเหลื่อมล้ำในการใช้ชีวิต การพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้า ต้องคำนึงถึงความทั่วถึงแก่คนทุกกลุ่มอย่างรอบด้าน เมื่อแนวโน้มการใช้จ่ายของภาครัฐอาจสูงขึ้น รัฐควรจะเพิ่มการจัดเก็บรายได้ภาครัฐ เพื่อประสิทธิภาพและความยั่งยืนในระยะยาวโดยไม่ลดทอนสิทธิที่พึงจะได้รับสำหรับทุกคน

● อ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
รายงานของธนาคารโลก ชี้ไทยจำเป็นต้องเพิ่มการจัดเก็บรายได้ภาครัฐ เตรียมรับมือการใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น 
ก่อนไปสู่ ‘Healthy Ageing’ ต้องเข้าใจ 10 ความจริงของ ‘การสูงวัย และ สุขภาพ’ 
ผู้สูงวัยที่รู้สึกโดดเดี่ยวบ่อยครั้งมีแนวโน้มมีอายุที่เหลือ และมีช่วงชีวิตที่สุขภาพดีในบั้นปลายสั้นลง
UN เผยแพร่ The Global Report on Ageism พบว่า ‘การเหยียดอายุ’ ส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้สูงอายุ 

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG1 ยุติความยากจน
– (1.3) ดำเนินการให้ทุกคนมีระบบและมาตรการการคุ้มครองทางสังคมในระดับประเทศที่เหมาะสม รวมถึงการคุมครองทางสังคมขั้นพื้นฐานและบรรลุการครอบคลุมถึงกลุ่มที่ยากจนและเปราะบาง ภายในปี 2573
#SDG3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
– (3.8) บรรลุการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมถึงการป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน การเข้าถึงการบริการสาธารณสุขจำเป็นที่มีคุณภาพ และเข้าถึงยาและวัคซีนจำเป็นที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ ในราคาที่สามารถซื้อหาได้
– (3.c) เพิ่มการใช้เงินสนับสนุนด้านสุขภาพ และการสรรหา การพัฒนา การฝึกฝน และการเก็บรักษากำลังคนด้านสุขภาพในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศพัฒนาน้อยที่สุดและรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก
#SDG10 ลดความเหลื่อมล้ำ
– (10.2) ให้อำนาจและส่งเสริมความครอบคลุมด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมืองสำหรับทุกคน โดยไม่คำนึงถึงอายุ เพศ ความบกพร่องทางร่างกาย เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ แหล่งกำเนิด ศาสนา หรือสถานะทางเศรษฐกิจหรือสถานะอื่น ๆ ภายในปี 257
– (10.3) สร้างหลักประกันว่าจะมีโอกาสที่เท่าเทียมและลดความไม่เสมอภาคของผลลัพธ์ รวมถึงการขจัดกฎหมาย นโยบาย และแนวทางปฏิบัติที่เลือกปฏิบัติ และส่งเสริมการออกกฎหมาย นโยบาย และการปฏิบัติที่เหมาะสมในเรื่องนี้

แหล่งที่มา: 
Best Countries for Pensions and Retirement – investopedia
เมื่อโลกเข้าสู่สังคมสูงวัย สำรวจสวัสดิการผู้สูงอายุแต่ละประเทศเป็นยังไงบ้าง? – the matter
ปี 2030 ไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด – Urban Creature 
ถอดรหัสนโยบาย ‘บำนาญ’ ผ่านสวัสดิการ 3 ประเทศที่ดีที่สุดในโลก – สสส. 
เกณฑ์จ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุฉบับใหม่ รัฐประหยัดงบหรือลดสวัสดิการประชาชน – BBC News ไทย 
ทำไม “ไทย” รั้งท้ายการจัดอันดับ “ระบบบำนาญ” ที่ดีที่สุดในโลก? – Money & Banking Magazine 

ผลงานนี้ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ภายใต้โครงการเร่งรัดการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพของประเทศไทย

Author

  • Knowledge Communication | มนุษย์ผู้เชื่อว่า “การสื่อสารสามารถเชื่อมต่อความรู้สึกของกันและกันได้” ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหน หรือเผชิญกับอะไรอยู่ การสื่อสารจะช่วยบอกเล่าเรื่องราวส่งไปให้แก่ผู้อื่นได้รับรู้

Exit mobile version