Site icon SDG Move

24 มีนาคม วันวัณโรคโลก – “The Clock is Ticking” โลกกำลังหมดเวลาในการทำตามคำสัญญาที่จะยุติวัณโรค

ข้อมูลล่าสุดขององค์การอนามัยโลก (WHO) จากการสำรวจมากกว่า 80 ประเทศ พบว่า มีผู้ป่วยวัณโรคประมาณ 1.4 ล้านคนทั่วโลกที่ไม่ได้รับการรักษาที่จำเป็น หรือคิดเป็น 21% ในปีแรกของสถานการณ์การระบาดใหญ่ของโควิด-19 เมื่อเทียบกับปี 2019 โดยการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดอยู่ในอินโดนีเซีย (ลดลง 42%) แอฟริกาใต้ (ลดลง 41%) ฟิลิปปินส์ (ลดลง 37%) และอินเดีย (25%)

“การหยุดชะงักของการให้บริการที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยวัณโรคเป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างที่น่าสะเทือนใจของผลกระทบอย่างไม่ได้สัดส่วนที่การแพร่ระบาดใหญ่มีต่อกลุ่มคนที่ยากจนที่สุดในโลก ซึ่งเป็นผู้มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อวัณโรคอยู่แล้ว” นายเทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าว

ดังนั้นธีมวันวัณโรคโลก ประจำปี 2021 (World Tuberculosis Day 2021) ในวันที่ 24 มีนาคม คือ “The Clock is Ticking” หรือ “เวลาใกล้หมดแล้ว” เพื่อส่งสัญญาณความเร่งด่วนว่าโลกกำลังหมดเวลาในการทำตามคำสัญญาที่จะยุติวัณโรค โดยเฉพาะเมื่อการระบาดของโควิด-19 ทำให้การดำเนินงานเพื่อต่อสู้กับวัณโรคเดินถอยหลังไปถึง 8 ปี องค์การอนามัยโลกจึงเรียกร้องให้ทุกคนรักษาคำมั่นที่จะ:

วัณโรคคร่าชีวิตคนทั่วโลกไปวันละเกือบ 4,000 คน และมีอีก 28,000 คน ต้องล้มป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันและรักษาได้นี้ ปัจจุบัน วัณโรคยังเป็นโรคติดเชื้อที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของประเทศไทย และจากรายงาน Global Tuberculosis Report 2020 ขององค์การอนามัยโลกพบว่ามีอัตราผู้ป่วยวัณโรครายใหม่สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก 1.15 เท่า

ที่มา: กองวัณโรค กองควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

เข้าถึง World TB Day 2021 – Campaign Materials จาก WHO
อ่านเพิ่มเติม เอกสารเผยแพร่ ข้อมูล ความรู้ และสถานการณ์วัณโรคในไทย จาก กองวัณโรค กองควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

วัณโรค เชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย ในเป้าประสงค์ 3.3 ยุติการแพร่กระจายของเอดส์ วัณโรค มาลาเรีย และโรคเขตร้อนที่ถูกละเลย และต่อสู้กับโรคตับอักเสบ โรคติดต่อทางน้ำและโรคติดต่ออื่นๆ ภายในปี 2030

ที่มา: UN News, WHO

Author

  • Social Media Manager - ตัวแทน 'คนธรรมดา' ในชุมชนนักวิชาการ อ่าน แปล และสื่อสารเรื่องความยั่งยืน

Exit mobile version