Site icon SDG Move

รายงาน ILO ชี้ โควิด-19 เป็นเหตุให้ภาวะว่างงานเพิ่มสูงทั่วโลก อัตราเยาวชนไม่มีการศึกษาและไม่มีงานทำเพิ่มขึ้นกว่า 1.5 %

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) เปิดเผยข้อมูลว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เยาวชนอายุ 15 – 24 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มเเรงงงานเยาวชนหรือแรงงานใหม่ (young worker) ต้องประสบกับภาวะว่างงานที่สูงกว่ามากเมื่อเทียบกับแรงงานสูงอายุ (older worker) โดยนับตั้งแต่มีการประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพโลกเมื่อต้นปี 2563 เยาวชนหญิงต้องดิ้นรนเพื่อหางานทำมากกว่าเยาวชนชาย ขณะที่กลุ่มประเทศอาหรับคาดว่าภายในสิ้นปีนี้ (2565) จะมีอัตราการว่างงานของเยาวชนสูงที่สุดเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลก

“เราทราบดีว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้สร้างความเสียหายแก่ตลาดแรงงานเยาวชนทั่วโลก” Martha Newton รองอธิบดีด้านนโยบายของ ILO กล่าว “มันเผยให้เห็นถึงความล้มเหลวหรือจุดบกพร่องหลายประการเกี่ยวกับแนวทางการจัดการกับความต้องการมีงานทำของเยาวชน โดยเฉพาะกับเยาวชนที่หางานครั้งแรกซึ่งมีความเปราะบางที่สุด เยาวชนที่ออกจากโรงเรียนกลางคัน เยาวชนที่เป็นนักศึกษาจบใหม่ซึ่งมีประสบการณ์การทำงานน้อย และผู้ที่ยังคงไม่ได้รับคัดเลือกเข้าทำงาน”

ในการกล่าวเปิดตัวรายงานของ ILO ที่ชื่อว่า “Global Employment Trends for Youth 2022: Investing in transforming futures for young people” Newton เปิดเผยว่าสัดส่วนของเยาวชนที่ไม่ได้รับการจ้างงาน การศึกษา หรือการฝึกอบรมเพิ่มขึ้นจากปี 2562 เดิมอยู่ที่ 21.8% เพิ่มเป็น 23.3% ในปี 2563 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 15 ปี จากฐานข้อมูลของรายงาน ILO

“เยาวชนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงเป็นพิเศษที่จะประสบกับภาวะโอกาสในตลาดแรงงานตกต่ำลงในระยะยาว เนื่องจากผลกระทบจาก ‘แผลเป็นทางเศรษฐกิจ’ (scarring effects) ที่จะเกิดขึ้น” รายงานข้างต้นระบุ

นอกจากนี้ รายงานดังกล่าวยังระบุข้อค้นพบที่น่าสนใจอีกหลายประเด็น อาทิ

ทั้งนี้ การว่างงานในหมู่แรงงานใหม่นับว่าเป็นปัญหาที่น่ากังวลระดับโลก องค์การสหประชาชาติ จึงเรียกร้องให้รัฐบาลทั่วโลกดำเนินมาตรการเชิงนโยบายเศรษฐกิจสีเขียว (เศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม) และเศรษฐกิจสีน้ำเงิน (เศรษฐกิจที่คำนึงถึงผลกระทบต่้อสิ่งแวดล้อมทางทะเล) อย่างยั่งยืน ซึ่งตามรายงานข้างต้นระบุว่าภายในปี 2573 เศรษฐกิจทั้งสองจะสามารถสร้างงานแก่เยาวชนเพิ่มขึ้นกว่า 8.4 ล้านงาน 

ขณะที่การมุ่งเน้นการลงทุนในเทคโนโลยีดิจิทัลก็จะสามารถช่วยดึงดูดแรงงานใหม่จำนวนมากได้ โดยหากบรรลุเป้าหมายการมีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ครอบคลุมได้ภายในปี 2573 ก็จะสามารถสร้างงานใหม่ได้ถึง 24 ล้านตำแหน่งทั่วโลก ซึ่งจะเป็นการจ้างงานเยาวชนกว่า 6.4 ล้านงาน

● อ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
การสำรวจภาวะ Eco-anxiety ของคนหนุ่มสาวใน 10 ประเทศ พบว่า 75% รู้สึกว่า “อนาคตของพวกเขาช่างน่าหวาดหวั่น”
รายงาน ILO ชี้ ภูมิภาคอาหรับมีระดับการว่างงานสูงที่สุดในโลก และ 2 ใน 3 ของการจ้างงานทั้งหมดเป็นการจ้างงานนอกระบบ
UN และพันธมิตรเปิดตัวแคมเปญ #LetMeLearn ก่อนการประชุมสุดยอดด้านการศึกษา – หลังพบว่าเด็ก 260 ล้านคนทั่วโลกไม่ได้เรียนหนังสือ
ความยากจน-ความเหลื่อมล้ำ และการว่างงาน แซงหน้าโควิด-19 เป็น 2 อันดับแรกที่ผู้คน “กังวล” มากที่สุด

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ 
#SDG4 การศึกษาที่มีคุณภาพ
– (4.4) เพิ่มจำนวนเยาวชนและผู้ใหญ่ที่มีทักษะที่เกี่ยวข้อง รวมถึงทักษะทางด้านเทคนิคและอาชีพสำหรับการจ้างงาน การมีงานที่มีคุณค่า และการเป็นผู้ประกอบการ ภายในปี 2573
– (4.5) ขจัดความเหลี่อมล้ำทางเพศด้านการศึกษา และสร้างหลักประกันว่ากลุ่มที่เปราะบางซึ่งรวมถึงผู้พิการ ชนพื้นเมือง และเด็ก เข้าถึงการศึกษาและการฝึกอาชีพทุกระดับอย่างเท่าเทียม ภายในปี 2573
#SDG5 ความเท่าเทียมทางเพศ
– (5.a) ดำเนินการปฏิรูปเพื่อให้ผู้หญิงมีสิทธิที่เท่าเทียมในทรัพยากรทางเศรษฐกิจ และการเข้าถึงการเป็นเจ้าของที่ดิน การควบคุมที่ดินและทรัพย์สินในรูปแบบอื่น การบริการทางการเงิน การรับมรดก และทรัพยากรธรรมชาติ ตามกฎหมายของประเทศ
#SDG8 งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ 
– (8.5) บรรลุการจ้างงานเต็มที่และมีผลิตภาพ และการมีงานที่มีคุณค่าสำหรับหญิงและชายทุกคน รวมถึงเยาวชนและผู้มีภาวะทุพพลภาพ และให้มีการจ่ายที่เท่าเทียมสำหรับงานที่มีคุณค่าเท่าเทียมกัน ภายในปี 2573
– (8.6) ลดสัดส่วนของเยาวชนไม่มีการศึกษาและที่ไม่ได้รับการฝึกอบรม ให้มาก ภายในปี 2563
#SDG9 โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม และอุตสาหกรรม
– (9.c) เพิ่มการเข้าถึงเทคโนโลยีด้านข้อมูลและการสื่อสาร และพยายามที่จะจัดให้มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตโดยถ้วนหน้าและในราคาที่สามารถจ่ายได้ ในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ภายในปี 2563

แหล่งที่มา: Young workers have been hit hardest by COVID fallout, says UN labour agency (UN)

ผลงานนี้ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ภายใต้โครงการเร่งรัดการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพของประเทศไทย

Author

  • Knowledge Communication | สนใจประเด็นสันติภาพ ความมั่นคงมนุษย์ เเละสิ่งเเวดล้อมทางทะเล ใช้ชีวิตโดยเชื่อในสมดุลมากกว่าความสมบูรณ์เเบบ

Exit mobile version