Site icon SDG Move

คน กทม. เสี่ยงเสียชีวิตเพิ่มขึ้น เหตุเกาะความร้อนในเมือง – รายงาน World Bank เสนอรับมือด้วย “โครงสร้างพื้นฐานสีเขียว-น้ำเงิน” 

ในปี 2567 อุณหภูมิโลกพุ่งทะยานสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ส่งผลให้ภาวะความร้อนในเขตเมืองทวีความรุนแรงขึ้นและกลายเป็นความท้าทายเร่งด่วนที่หลายเมืองทั่วโลกต้องเผชิญ โดยเฉพาะ ‘กรุงเทพมหานคร’ ซึ่งมีสภาพอากาศร้อนเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ยิ่งเผชิญความเสี่ยงจากความร้อนจัดส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของประชาชน ตลอดจนกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและศักยภาพของเมือง จึงจำเป็นต้องมีการขยายขอบเขตมาตรการจัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นระบบ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากความร้อนและพัฒนาเมืองในระยะยาว

ธนาคารโลก (The World Bank) ร่วมกับกองทุนโลกเพื่อลดความเสี่ยงและฟื้นฟูหลังภัยพิบัติ (Global Facility for Disaster Reduction and Recovery – GFDRR) และกรุงเทพมหานคร เผยแพร่การศึกษาเรื่องพลิกโฉมกรุงเทพฯ ให้เย็นสบาย แก้ปัญหาความร้อนเพื่อมหานครที่น่าอยู่ ระบุว่ากรุงเทพฯ กำลังเผชิญผลกระทบรุนแรงจากภาวะความร้อนในเขตเมืองอย่างต่อเนื่อง โดยปรากฏการณ์เกาะความร้อนในเมือง (Urban Heat Island: UHI)  ยิ่งซ้ำเติมสถานการณ์ให้รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการก่อสร้างได้กลายเป็นแหล่งสะสมและกักเก็บความร้อน ซึ่งนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นอัตราการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับความร้อนที่เพิ่มขึ้น การสูญเสียผลิตภาพแรงงาน ต้นทุนพลังงานที่เพิ่มขึ้น และผลกระทบทางลบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนและระบบเศรษฐกิจของเมือง

การศึกษาพบความท้าทายสำคัญหลายประการ อาทิ

นอกจากนี้ รายงานดังกล่าวยังได้มีการเสนอมาตรการในการแก้ปัญหาความร้อนในเมือง เช่น การขยายขอบเขตมาตรการและการจัดสรรทรัพยากรเพื่อลดความร้อน รวมถึงการบูรณาการประเด็นสภาพอากาศในการวางแผนเมืองในระยะยาว เช่น การขยายโครงสร้างพื้นฐานสีเขียวและสีน้ำเงิน (Green and Blue Infrastructure) รวมถึงการปรับใช้กฎหมาย ข้อบังคับอาคาร และการพัฒนาระบบขนส่งที่คำนึงถึงสภาพอากาศ อีกทั้งยังมีความจำเป็นในการจัดตั้งคณะทำงานพิเศษด้านความร้อนในเมือง เพื่อบูรณาการงานระหว่างหน่วยงาน ลดความซ้ำซ้อน และพัฒนาแหล่งเงินทุนที่ยั่งยืน เช่น กองทุนพัฒนาความสามารถในการรับมือความร้อน เพื่อให้โครงการลดความร้อนในเมืองดำเนินต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
– (3.d) เสริมขีดความสามารถสำหรับทุกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา ในเรื่องการแจ้งเตือนล่วงหน้า การลดความเสี่ยง และการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพในระดับประเทศและระดับโลก
#SDG11 เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน
– (11.5) ลดจำนวนการตายและจำนวนคนที่ได้รับผลกระทบและลดการสูญเสียโดยตรงทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของโลกที่เกิดจากภัยพิบัติ ซึ่งรวมถึงภัยพิบัติที่เกี่ยวกับน้ำ โดยมุ่งเป้าปกป้องคนจนและคนที่อยู่ในสถานการณ์ที่เปราะบาง ภายในปี 2573
– (11.6) ลดผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมต่อหัวประชากรในเขตเมือง รวมถึงการให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อการจัดการคุณภาพอากาศ การจัดการของเสียของเทศบาล และการจัดการของเสียอื่น ๆ ภายในปี 2573
– (11.a) สนับสนุนการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมระหว่างพื้นที่เมือง รอบเมือง และชนบท โดยการเสริมความแข็งแกร่งของการวางแผนการพัฒนาในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ
#SDG13 การรับมือกับการเปลี่ยนเเปลงสภาพภูมิอากาศ
– (13.1) เสริมภูมิต้านทานและขีดความสามารถในการปรับตัวต่ออันตรายและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศในทุกประเทศ
– (13.2) บูรณาการมาตรการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการวางแผนระดับชาติ
– (13.3) พัฒนาการศึกษา การสร้างความตระหนักรู้ และขีดความสามารถของมนุษย์และของสถาบันในเรื่องการลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปรับตัว การลดผลกระทบ การเตือนภัยล่วงหน้า
– (13.b) ส่งเสริมกลไกที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการวางแผนและการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิผลในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด และให้ความสำคัญต่อผู้หญิง เยาวชน และชุมชนท้องถิ่นและชายขอบ

แหล่งที่มา: Shaping a Cooler Bangkok: Tackling Urban Heat for a More Livable City (worldbank)

Author

  • Knowledge Communication | มนุษย์ผู้เชื่อว่า “การสื่อสารสามารถเชื่อมต่อความรู้สึกของกันและกันได้” ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหน หรือเผชิญกับอะไรอยู่ การสื่อสารจะช่วยบอกเล่าเรื่องราวส่งไปให้แก่ผู้อื่นได้รับรู้

Exit mobile version