Site icon SDG Move

COP 27 ย้ำการปกป้อง ‘ความหลากหลายทางชีวภาพ’ เชื่อมโยงกับ ‘การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ’ เป็นเรื่องที่ไม่อาจแยกออกจากกัน

สิ้นสุดลงแล้วกับการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 27 (COP27) จัดขึ้น ณ เมืองชาร์มเอลชีค ประเทศอียิปต์ ระหว่างวันที่ 6-18 พฤศจิกายน 2565 พบว่ามีสาระสำคัญที่น่าสนใจ จากการประชุมเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งได้กล่าวถึงประเด็น วิกฤตสภาพภูมิอากาศและวิกฤตความหลากหลายทางชีวภาพว่าหลายปีที่ผ่านมา ทั้งสองประเด็นมีแนวทางดำเนินการที่แยกออกจากกัน แต่ความเป็นจริงแล้วนั้น ‘ไม่มีทางเป็นไปได้‘ ที่จะจำกัดอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มสูงขึ้นถึง 1.5 องศาเซลเซียส ตามความตกลงปารีส (Paris Agreement) หากไม่มีการปกป้องและฟื้นฟูธรรมชาติอย่างเร่งด่วน 

การประชุม COP27 เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 เป็นวันที่เปิดโอกาสให้มีการอภิปรายเกี่ยวกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) ตั้งแต่การระดมวิธีดำเนินการทั่วโลกเพื่อจัดการกับความท้าทายเเละหยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ การลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและมลพิษ รวมถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อมหาสมุทร สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ เเละแนวปะการัง  

โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UN Environment Programme: UNEP) อธิบายความเชื่อมโยงว่า การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับภูมิภาคและระดับโลก ในขณะที่ระบบนิเวศทางธรรมชาติจะมีบทบาทสำคัญในการควบคุมสภาพอากาศและสามารถช่วยกักเก็บคาร์บอนได้ แต่การสูญเสียป่าไม้ การระบายพื้นที่ชุ่มน้ำ และความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ล้วนมีส่วนสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งสิ้น ซึ่งจากข้อมูลของ UNEP ความพยายามที่จะลดการตัดไม้ทำลายป่า ลดกิจกรรมที่ทำให้ป่าเสื่อมโทรม (forest degradation) และการฟื้นฟูระบบนิเวศ นับมีส่วนสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาทิ สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประจำปีได้ 

ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่สะท้อนความเชื่อมโยงระหว่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับความหลากหลายทางชีวภาพ อาทิ

จากการหารือเรื่องดังกล่าว ภายใต้สถานการณ์ที่เกิดขึ้น หวังจะเห็นความเต็มใจและความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปพร้อมกับการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ เพราะสองสิ่งนี้ล้วนเกี่ยวเนื่องกันทั้งสิ้น ซึ่งการประชุมครั้งนี้ คงไม่มีความหมายหากการปฏิบัติต่อไป ยังคงเป็นเพียงแค่คำพูดแต่ไม่อาจแสดงถึงความทะเยอทะยานถึงความคืบหน้าในการกระทำและนำไปปฏิบัติได้อย่างแท้จริง

● อ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มประเทศพัฒนาน้อยที่สุดออกเอกสารแสดงจุดยืนเรียกร้องให้ประเทศร่ำรวยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและชดเชยทางการเงินให้ประเทศที่ได้รับผลกระทบ
‘Glasgow Climate Pact’ ข้อตกลงจากการประชุม COP26 ที่ยังคงเป้าหมายควบคุมอุณหภูมิโลก ‘1.5°C’ แต่ล้มเหลว ‘ยุติการใช้ถ่านหิน’
การศึกษาใหม่พบว่าโลกเหลือพื้นที่ที่ยังคงมีสภาพทางนิเวศวิทยาที่สมบูรณ์เพียง 3% เท่านั้น
รายงานสถานะแนวปะการังจากข้อมูล 40 ปี พบว่า โลกสูญเสียแนวปะการังไปถึง 14% ภายในช่วงแค่สิบปีที่ผ่านมา
ประชุม COFO ครั้งที่ 26 นานาประเทศหารือความเชื่อมโยงของป่าไม้-การเกษตร กับ ‘climate change’ หวังหยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
SDG Updates | Climate Change ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ – สิ่งที่รัฐต้องตระหนักจากรายงาน IPCC ล่าสุด 
SDG Updates | Flora of Thailand – พรรณพฤกษชาติของไทย นักพฤกษศาสตร์กับการพิทักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในป่าไทย 

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG13 การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
– (13.1) เสริมภูมิต้านทานและขีดความสามารถในการปรับตัวต่ออันตรายและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศในทุกประเทศ
– (13.2) บูรณาการมาตรการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการวางแผนระดับชาติ
– (13.3) พัฒนาการศึกษา การสร้างความตระหนักรู้ และขีดความสามารถของมนุษย์และของสถาบันในเรื่องการลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปรับตัว การลดผลกระทบ การเตือนภัยล่วงหน้า
– (13.a) ดำเนินการให้เกิดผลตามพันธกรณีที่ผูกมัดต่อประเทศพัฒนาแล้วซึ่งเป็นภาคีของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีเป้าหมายร่วมกันระดมทุนจากทุกแหล่งให้ได้จำนวน 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ภายในปี 2563 เพื่อจะแก้ปัญหาความจำเป็นของประเทศกำลังพัฒนาในบริบทของการดำเนินการด้านการบรรเทาที่ชัดเจนและมีความโปร่งใสในการดำเนินงานและทำให้กองทุน Green Climate Fund ดำเนินการอย่างเต็มที่โดยเร็วที่สุดผ่านการให้ทุน
#SDG14 นิเวศทางทะเลและมหาสมุทร
– (14.1) ป้องกันและลดมลพิษทางทะเลทุกประเภทอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะจากกิจกรรมบนแผ่นดิน รวมถึงขยะทะเลและมลพิษจากธาตุอาหาร (nutrient pollution) ภายในปี 2568
– (14.2) บริหารจัดการและปกป้องระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืนเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบทางลบที่มีนัยสำคัญ รวมถึงโดยการเสริมภูมิต้านทานและปฏิบัติการเพื่อฟื้นฟู เพื่อบรรลุการมีมหาสมุทรที่มีสุขภาพดีและมีผลิตภาพ ภายในปี 2563
– (14.3) ลดและแก้ปัญหาผลกระทบของความเป็นกรดในมหาสมุทร โดยผ่านทางการเพิ่มพูนความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ในทุกระดับ
#SDG15 ระบบนิเวศบนบก
– (15.1) สร้างหลักประกันว่าจะมีการอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ระบบนิเวศบนบกและในน้ำจืดในแผ่นดินรวมทั้งบริการทางระบบนิเวศอย่างยั่งยืน เฉพาะอย่างยิ่ง ป่าไม้ พื้นที่ชุ่มน้ำ ภูเขา และเขตแห้งแล้ง โดยเป็นไปตามข้อบังคับภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศ ภายในปี 2563
– (15.7) ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อจะยุติการล่าและการขนย้ายชนิดพันธุ์พืชและสัตว์คุ้มครอง และแก้ปัญหาทั้งอุปสงค์และอุปทานต่อผลิตภัณฑ์สัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย
– (15.c) เพิ่มพูนการสนับสนุนในระดับโลกสำหรับความพยายามที่จะต่อสู้กับการล่า การเคลื่อนย้ายชนิดพันธุ์คุ้มครอง รวมถึงโดยการเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่น
#SDG17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
– (17.3) ระดมทรัพยากรทางการเงินเพิ่มเติมจากแหล่งที่หลากหลายไปยังประเทศกำลังพัฒนา
– (17.16) ยกระดับหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยร่วมเติมเต็มหุ้นส่วนความร่วมมือจากภาคส่วนที่หลากหลายซึ่งจะระดมและแบ่งปันความรู้ ความเชี่ยวชาญ เทคโนโลยี และทรัพยากรด้านการเงิน เพื่อจะสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกประเทศ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา

แหล่งที่มา:
COP27: Protecting biodiversity is protecting the Paris Agreement | UN News 
Biodiversity Day –  COP27

ผลงานนี้ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ภายใต้โครงการเร่งรัดการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพของประเทศไทย 

Author

  • Knowledge Communication | มนุษย์ผู้เชื่อว่า “การสื่อสารสามารถเชื่อมต่อความรู้สึกของกันและกันได้” ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหน หรือเผชิญกับอะไรอยู่ การสื่อสารจะช่วยบอกเล่าเรื่องราวส่งไปให้แก่ผู้อื่นได้รับรู้

Exit mobile version