Site icon SDG Move

รายงานของ The Lancet ชี้ Climate Change กำลังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้คนทั่วโลก ด้าน WMO เผย CO2ในชั้นบรรยากาศเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก

เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2565 The Lancet ได้เผยแพร่รายงาน “Lancet Countdown on Health and Climate Change” ประจำปี 2565 ซึ่งเป็นรายงานฉบับที่ 8 นับตั้งแต่มีการเผยแพร่เมื่อปี 2558 เป็นต้นมา

รายงานฉบับล่าสุดเผยแพร่ภายใต้ใต้ธีม ‘Health at the Mercy of Fossil Fuels’ โดยมุ่งเน้นการติดตามความเชื่อมโยงระหว่างสุขภาพและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจาก 43 ตัวชี้วัด แบ่งเป็นตัวแปรจำนวน 5 ตัวแปร ได้แก่

  1. อันตรายต่อสุขภาพ ความเสี่ยง และผลกระทบ (health hazards, exposures, and impact)
  2. การปรับตัว การวางแผน และการตั้งรับฟื้นตัวเพื่อสุขภาพ (adaptation, planning, and resilience for health)
  3. การดำเนินการบรรเทาผลกระทบและผลประโยชน์ร่วมกันด้านสุขภาพ (mitigation actions and health co-benefits)
  4. เศรษฐศาสตร์และการเงิน (economics and finance)
  5. การมีส่วนร่วมของประชาชนและการเมือง (public and political engagement)

ข้อค้นพบที่สำคัญซึ่งปรากฏในรายงาน อาทิ

Diarmid Campbell-Lendrum ผู้ประสานงานโครงการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสุขภาพของ WHO และสมาชิกของ Lancet Countdown Board เน้นย้ำถึงผลกระทบต่ออากาศที่สะอาด น้ำสะอาด อาหาร และที่อยู่อาศัยว่า “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้นอย่างเต็มที่ มีศักยภาพที่จะบ่อนทำลายความก้าวหน้าด้านสุขภาพโลกเป็นเวลาหลายทศวรรษ และการลดผลกระทบนั้นต้องใช้นโยบายที่ออกแบบโดยอาศัยหลักฐานเชิงประจักษ์ (evidence-based policy) ซึ่งวางอยู่บนฐานการสนับสนุนโดยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และเครื่องมือการจัดการที่ดีที่สุด” 

ขณะที่ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization: WMO) ก็ได้เผยแพร่วารสารก๊าซเรือนกระจก ประจำปี 2565 (Greenhouse Gas Bulletin) เมื่อวันที่ 26 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยมีสาระสำคัญย้ำเตือนว่า ก๊าซเรือนกระจก  (Greenhouse Gas: GHG)  หลักสามชนิด ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน และไนตรัสออกไซด์ มีความเข้มข้นในชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้นถึงระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปี 2564 โดย มีเทน เพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อเทียบเป็นรายปี นอกจากนี้ WMO ยังเปิดเผยด้วยว่าการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลและการผลิตปูนซีเมนต์เป็นสองสาเหตุหลักที่ทำให้ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศสูงถึง 149% ของระดับก่อนยุคอุตสาหกรรมในปี 2564

จากข้อค้นพบของ Lancet Countdown และ WMO ดังกล่าวข้างต้น ส่งผลให้เกิดความคาดหวังว่าประเด็นปัญหาเหล่านี้จะถูกนำมาสู่การถกเจรจาในการประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 27 (UNFCCC COP 27) ซึ่งเพิ่งเปิดฉากการประชุมไปเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2565 ณ เมืองชาร์ม ประเทศอียิปต์

ทั้งนี้ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกร่วมกับองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ขยับขับเคลื่อนความก้าวหน้าในการแก้ปัญหาผ่านแพลตฟอร์มสร้างความตระหนักและการเรียนรู้เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศและสุขภาพ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่รวบรวมข้อมูลที่สามารถดำเนินการได้ เพื่อปกป้องผู้คนจากความเสี่ยงด้านสุขภาพของ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ โดยได้รับการสนับสนุนจาก Wellcome Trust ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลด้านการวิจัยชีวการแพทย์ที่ตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

การตื่นตัวและเล็งเห็นถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อมิติด้านสุขภาพ จึงเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วน เป็นปัญหาเชิงรูปธรรมที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่าส่งผลร้ายต่อมวลมนุษยชาติอย่างไร และการหยุดยั้งความเสี่ยงนี้ก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกประเทศและทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ซึ่งเป็นผู้ผลิต บริโภค และอุปโภคสิ่งที่เป็นต้นตอของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอยู่ในชีวิตประจำวัน

● อ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
 SDG Updates | หายนะจาก ‘สภาพอากาศร้อนจัด’ ผลกระทบวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่คร่าชีวิตคนทั่วโลก
 คนทั่วโลกถึง 216 ล้านคน อาจต้องย้ายถิ่นฐานภายในประเทศเพราะผลกระทบจาก Climate Change ภายในปี 2050
–  หลายประเทศผนวกมิติสุขภาพของพลเมืองในการรับมือกับผลกระทบ – โรคที่มาจาก Climate Change แต่อุปสรรคหลักคือขาดเงินทุน
–   รายงาน IPCC ฉบับใหม่เผยข้อมูลผลกระทบและความเสี่ยงจาก Climate Change ต่อปัญหาสุขภาพปัจจุบัน
 ‘Global Climate & SDG Synergy Conference 2022’ หวังสร้างความเข้มแข็งเเก่นักเคลื่อนไหวเยาวชนในการจัดการสภาพภูมิอากาศเชื่อมโยงกับการบรรลุ SDGs
 ประชุมสมัชชา ICAO สมัยที่ 44 – ประเทศสมาชิกร่วมหารือจัดการการบินอย่างยั่งยืน หวังช่วยบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG2 ขจัดความหิวโหย
#SDG3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
– (3.d)  เสริมขีดความสามารถสำหรับทุกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา ในเรื่องการแจ้งเตือนล่วงหน้า การลดความเสี่ยง และการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพในระดับประเทศและระดับโลก
#SDG6 น้ำสะอาดและการสุขาภิบาล
#SDG7 พลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้
– (7.1) สร้างหลักประกันว่ามีการเข้าถึงการบริการพลังงานสมัยใหม่ที่เชื่อถือได้ ในราคาที่สามารถซื้อหาได้ ภายในปี 2573
– (7.2)  เพิ่มสัดส่วนของพลังงานทดแทนในการผสมผสานการใช้พลังงานของโลก ภายในปี 2573
– (7.a) ยกระดับความร่วมมือระหว่างประเทศในการอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงการวิจัย และเทคโนโลยีพลังงานที่สะอาด โดยรวมถึงพลังงานทดแทน ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และเทคโนโลยีเชื้อเพลิงฟอสซิลชั้นสูงและสะอาด และสนับสนุนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและเทคโนโลยีพลังงานที่สะอาด ภายในปี 2573
#SDG11 เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน
– (11.b)  ภายในปี 2563 เพิ่มจำนวนเมืองและกระบวนการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ที่เลือกใช้และดำเนินการตามนโยบายและแผนที่บูรณาการ เพื่อนำไปสู่ความครอบคลุม ความมีประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร การลดผลกระทบและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีภูมิต้านทางต่อภัยพิบัติ และให้พัฒนาและดำเนินการตามการบริหารความเสี่ยงจากภัยพิบัติแบบองค์รวมในทุกระดับ ให้เป็นไปตามกรอบการดำเนินงานเซนไดเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ พ.ศ.2558-2573
#SDG12 การผลิตเเละบริโภคที่ยั่งยืน
– (12.c) ทำให้การอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ไร้ประสิทธิภาพและนำไปสู่การบริโภคที่สิ้นเปลืองมีความสมเหตุสมผล โดยกำจัดกการบิดเบือนทางการตลาดโดยให้สอดคล้องสภาวะแวดล้อมของประเทศ รวมถึงการปรับโครงสร้างภาษีและเลิกการอุดหนุนที่เป็นภัยเหล่านั้นในที่ที่ยังมีการใช้อยู่ เพื่อให้สะท้อนผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงอย่างเต็มที่ถึงความจำเป็นและเงื่อนไขที่เจาะจงของประเทศกำลังพัฒนาและลดผลกระทบทางลบที่อาจเกิดขึ้นที่จะมีต่อการพัฒนาของประเทศเหล่านั้นในลักษณะที่เป็นการคุ้มครองคนจนและชุมชนที่ได้รับผลกระทบ
#SDG13 การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
– (13.1)  เสริมภูมิต้านทานและขีดความสามารถในการปรับตัวต่ออันตรายและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศในทุกประเทศ
– (13.2) บูรณาการมาตรการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการวางแผนระดับชาติ
– (13.3) พัฒนาการศึกษา การสร้างความตระหนักรู้ และขีดความสามารถของมนุษย์และของสถาบันในเรื่องการลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปรับตัว การลดผลกระทบ การเตือนภัยล่วงหน้า
#SDG17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
– (17.14) ยกระดับความสอดคล้องเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
– (17.16) ยกระดับหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยร่วมเติมเต็มหุ้นส่วนความร่วมมือจากภาคส่วนที่หลากหลายซึ่งจะระดมและแบ่งปันความรู้ ความเชี่ยวชาญ เทคโนโลยี และทรัพยากรด้านการเงิน เพื่อจะสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกประเทศ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา

แหล่งที่มา: Climate and Health Linkages Come to the Fore Ahead of COP 27 (IISD)

ผลงานนี้ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ภายใต้โครงการเร่งรัดการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพของประเทศไทย

Author

  • Knowledge Communication | สนใจประเด็นสันติภาพ ความมั่นคงมนุษย์ เเละสิ่งเเวดล้อมทางทะเล ใช้ชีวิตโดยเชื่อในสมดุลมากกว่าความสมบูรณ์เเบบ

Exit mobile version