Site icon SDG Move

SDGs Report 2022 ชี้ปีนี้ 1 ใน 10 ของประชากรโลกตกอยู่ในภาวะหิวโหย พร้อมเตือน 679 ล้านชีวิตจะไม่มีไฟฟ้าใช้ในปี 2573

ระหว่างการประชุมเวทีหารือระดับสูงทางการเมืองว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (High-level Political Forum on Sustainable Development: HLPF) ประจำปี 2565 ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา สำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Department of Economic and Social Affairs – UN DESA) ได้เผยแพร่รายงานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนประจำปี 2565 (Sustainable Development Goals Report) ย้ำเตือนถึงวิกฤติที่เกี่ยวเนื่องและเชื่อมโยงกัน ที่ถูกชักนำโดยโควิด-19 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความขัดแย้ง เป็นเหตุให้ความก้าวหน้าในการขจัดความยากจนและความหิวโหย การปรับปรุงสุขภาพและการศึกษา รวมถึงการให้บริการขั้นพื้นฐานเกิดการก้าวถอยหลัง ซึ่งเป็นผลให้วาระการพัฒนา 2030 (The 2030 Agenda) ตกอยู่ในภาวะวิกฤติอันตราย

รายงานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นรายงานอย่างเป็นทางการฉบับเดียวขององค์การสหประชาชาติที่ติดตามความก้าวหน้าเกี่ยวกับวาระการพัฒนา 2030 ทั่วโลก ซึ่งจัดทำโดย UN DESA ร่วมมือกับระบบสถิติของสหประชาชาติ (UN Statistical System) โดยอาศัยข้อมูลและการวินิจฉัยของฐานข้อมูลตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั่วโลก (Global SDG Indicators Database) และฐานข้อมูลนี้ประกอบด้วยตัวข้อมูล (data) และข้อมูลอภิพันธุ์ (metadata) ที่เกี่ยวกับตัวชี้วัดของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งระดับโลก ภูมิภาค และประเทศ 

ตามที่ Yongyi Min หัวหน้ากลุ่มติดตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Monitoring Section) แผนกสถิติของ UN DESA และหัวหน้าทีมผู้เขียนรายงานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ปี 2565 ได้บรรยายถึง “ภาพแห่งความสิ้นหวัง” ของวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ปี 2573 และ “ภาวะการถูกทำให้ตกอยู่ในความเสี่ยงอย่างร้ายแรง” จากหลายวิกฤตการณ์ที่ซ้อนทับกัน ซึ่งมาขัดขวางความก้าวหน้าของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไปหลายปี และผลักส่งคนนับล้านเผชิญความหิวโหยและความยากจน

ข้อค้นพบที่สำคัญบางประการของรายงาน ได้แก่ :

ทั้งนี้ ในการขับเคลื่อนรายงานฉบับนี้ António Guterres เลขาธิการสหประชาชาติได้เรียกร้องให้มีความพยายามในการสนับสนุนอย่างเร่งด่วนสำหรับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยการสร้างเศรษฐกิจโลกที่เป็นประโยชน์สำหรับคนทุกคน รวมถึงการสร้างหลักประกันการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลเพิ่มขึ้น ขณะที่ Liu Zhenmin รองเลขาธิการฝ่ายเศรษฐกิจและสังคม สะท้อนถึงสารดังกล่าว โดยสรุปว่าแผนการดำเนินการเพื่อความอยู่รอด หรือ “road map for survival” นั้นมีสามขั้นตอน ได้แก่ หนึ่ง ยุติความขัดแย้งทางการทหารและเริ่มดำเนินการผ่านวิธีการทางการทูตและสันติภาพ สอง ใช้แนวทางการพัฒนาที่เน้นการใช้คาร์บอนต่ำ การฟื้นคืนอย่างมีภูมิคุ้มกัน และครอบคลุมคนทั้งหมด และสาม ปฏิรูปโครงสร้างระบบทางการเงินและหนี้ระหว่างประเทศอย่างทั่วถึง

● อ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
– UNDESA ออกรายงาน ‘SDGs Report 2021’ พบผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้อัตราความยากจนขั้นรุนแรงทั่วโลกเพิ่มขึ้นในรอบ 20 ปี
– สำนักเลขาธิการ UN รวบรวมสารสำคัญ VNR ปี 2022 นำเสนอความท้ายทายในการเร่งบรรลุ SDGs ของ 45 ประเทศ
– SDGs in Focus for HLPF 2022: โลกหลังโควิดมีเด็กหญิงราว 11 ล้านคนเสี่ยงไม่ได้เรียน ต้องเร่งสร้างคุณภาพทางการศึกษาที่มีความเท่าเทียมทางเพศ
– SDG Updates | เปิดรายงาน Sustainable Development Report 2022 และ SDG Index 2022

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG1 ขจัดความยากจน
#SDG2 ขจัดความหิวโหย
#SDG3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
#SDG4 การศึกษาที่มีคุณภาพ
#SDG5 ความเท่าเทียมทางเพศ
#SDG6 น้ำสะอาดและการสุขาภิบาล
#SDG7 พลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้
#SDG8 งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
#SDG9 โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม อุตสาหกรรม
#SDG10 ลดความเหลื่อมล้ำ
#SDG11 เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน
#SDG12 การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
#SDG13 การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
#SDG14 ทรัพยากรทางทะเล
#SDG15 ระบบนิเวศบนบก
#SDG16 ความสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันที่เข้มแข็ง
#SDG17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

แหล่งที่มา:
SDGs Report 2022 Delivers “Reality Check” on Reversal of Progress (IISD)

ผลงานนี้ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ภายใต้โครงการเร่งรัดการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพของประเทศไทย

Author

  • Knowledge Communication | สนใจประเด็นสันติภาพ ความมั่นคงมนุษย์ เเละสิ่งเเวดล้อมทางทะเล ใช้ชีวิตโดยเชื่อในสมดุลมากกว่าความสมบูรณ์เเบบ

Exit mobile version