การดำเนินงานในปีที่ 1 (2559-2560)

การดำเนินงานในปีที่1 ของ SDG Move เน้นไปที่การทำความเข้าใจสถานการณ์ ผู้เล่น และกลไกที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อน SDGs ในประเทศไทย รวมถึงร่วมมือกับหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยเฉพาะอนุกรรมการฯ​ ภายใต้ กพย. ในการขับเคลื่อน SDGs

กิจกรรมแรกที่โครงการดำเนินการในปีที่1คือการทำงานร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในการจัดลำดับความสำคัญเป้าประสงค์ (Targets) ของ SDGsโดยใช้วิธีการจัดเวทีย่อยและเชิญเจ้าหน้าที่ภาครัฐ​ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และภาควิชาการที่เชี่ยวชาญในแต่ละเป้าหมายทั้ง 17 เป้าหมาย เข้ามาหารือกันและช่วยกันจัดลำดับความสำคัญ เป็นจำนวน 5ครั้ง อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติผู้เข้าร่วมเป็นเจ้าหน้าที่ภาครัฐเป็นส่วนใหญ่ และภาคประชาสังคมเข้าร่วมไม่มากเท่าที่ควร

จากกิจกรรมดังกล่าว เราได้เป้าประสงค์ที่ผ่านการจัดลำดับความสำคัญออกมาทั้งหมด 30 เป้าประสงค์ ซึ่งเมื่อนำมาเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีแล้วจะสามารถจัดหมวดหมู่ได้ดังภาพต่อไปนี้

Screenshot 2018-07-28 20.40.03.png

ภาพที่ 1 ความเชื่อมโยงระหว่างเป้าประสงค์ที่สำคัญที่สุด30 เป้าประสงค์กับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

กิจกรรมที่ 2 ซึ่งถือว่าเป็นภารกิจหลักของโครงการ คือ การประกาศโจทย์ “โครงการสำรวจสถานะของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทประเทศไทย และทางเลือกมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ สังคม และกฎหมาย” ระยะที่ 1 ซึ่งในการประโจทย์ทุนวิจัยก้อนไม่ใหญ่มากนักในครั้งแรกนี้มีผู้สนใจส่งข้อเสนองานวิจัยเข้ามาถึง60ข้อเสนอ และเมื่อผ่านกระบวนการคัดเลือก มี 12 ข้อเสนอ ซึ่งครอบคลุม 12 เป้าหมายได้รับการคัดเลือกและได้รับทุนวิจัยโครงการละ300,000 บาท เพื่อดำเนินการวิจัยในระยะเวลา 5 เดือน เป้าหมายทั้ง 12 เป้าหมายที่ได้รับทุนวิจัยในปีแรกประกอบด้วยเป้าหมายที่1 2 4 5 7 8 9 12 13 14 15 และ 16 ตามภาพต่อไปนี้

Screenshot 2018-07-28 20.47.54.png

นักวิจัยทาง12 โครงการนั้นมาจากหลายสถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ดังนี้

  • สถาบันวิจัยสังคมและเศรษฐศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิต
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ราชภัฏเชียงราย
  • คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ ม.ราชภัฏอุบลราชธานี
  • คณะเศรษฐศาสตร์ ม.เชียงใหม่
  • วิทยาลัยนานาชาติเพื่อศึกษาความยั่งยืน ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
  • สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
  • คณะส่ิงแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหิดล

สำหรับรายงานขั้นสุดท้ายของการศึกษาในปีแรก และบทสังเคราะห์ ท่านสามารถติดตามได้ ที่นี่

กิจกรรมที่3 ที่ดำเนินการตลอดทั้งปีคือ การติดตามการขับเคลื่อน SDGs ในประเทศไทยและในระดับโลก และการประสานงานภาคส่วนต่าง ๆ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายคือการทำความเข้าใจกลไกการขับเคลื่อน SDGs ของประเทศในเบื้องต้น (ดูรายละเอียดที่นี่)

นอกจากนี้นักวิจัยของโครงการยังได้ไปร่วมประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการระดับสากล เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของ SDGs ผ่านทางเว็บไซต์ www.sdgmove.com และเฟซบุ๊คเพจ SDG Move TH   และผ่านการเขียนบทความเผยแพร่ทางสำนักข่าวออนไลน์และสำนักพิมพ์ต่าง ๆ เช่น

  • หนังสือพิมพ์
    • ชล บุนนาค. “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน”. กรุงเทพธุรกิจ: คอลัมน์​ เศรษฐธรรมศาสตร์ ตลาดวิชา. 17 พฤศจิกายน 2559http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/639468
    • “ย้ำSDGs เทรนด์สหประชาชาติ เป้าหมายการพัฒนาที่ยังยืนของไทย”. กรุงเทพธุรกิจ:เศรษฐกิจ.​ 26 กันยายน 2560. http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/774528
  • เว็บไซต์
    • ชล บุนนาค. “#SDGMove:บทเรียนสำคัญจากการประชุม High-Level Political Forum ต่อประเทศไทย”. ไทยพับลิก้า. 1 ตุลาคม 2560.https://thaipublica.org/2017/10/hlpf-chol/
    • ณัฐวิคม พันธุวงศ์ภักดี.“ ‘อยู่กับน้ำ’คนไทยควรจัดการอย่างไร? แล้วใครคือบิดาแห่งการจัดการพื้นที่น้ำท่วม”. The Standard. 3 พฤศจิกายน 2560. https://thestandard.co/thailand-flood-management/
    • “ถอดรหัสThailand SDGs ปลุกพลัง “Active Citizen”ร่วมสร้างสังคมยั่งยืน”. มูลนิธิเพื่อคนไทย. 16 กันยายน2560. http://khonthaifoundation.org/th/thailandsdgs/
  • จัดประชุม/อบรม
    • “Thailand SDGs Forum 2017#3: โรดแมปกระบวนการปลดล็อคสู่เป้าหมาย SDGs – จะบูรณาการความยั่งยืนเข้าไปในธุรกิจอย่างไร” – ชล บุนนาค หัวหน้าโครงการร่วมเป็นวิทยากร จัดโดยมูลนิธิมั่นพัฒนาและสำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2017/09/thailand-sdgs-forum-2017-3-1/

นอกจากนี้เรายังพัฒนาเนื้อหาและเครื่องมือการอบรมเรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยงานในการให้ความรู้กับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานนั้น ๆ หน่วยงานที่เราได้จัดการอบรมให้แล้ว เช่น กระทรวงยุติธรรม สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอบต.) เป็นต้น

ท่านสามารถอ่าน บทสรุปผู้บริหาร ของการดำเนินงานปีที่ 1 ได้ที่นี่

Author

  • Chol Bunnag

    ผู้อำนวยการศูนย์ และนักเศรษฐศาสตร์ ที่หันมาสนใจเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านมุมของกลไกการบริหารจัดการ (Governance) และนโยบายสาธารณะ (Public Policy)