SDG Vocab | 26 – Labour Rights – สิทธิแรงงาน

สิทธิแรงงาน หมายถึง สิทธิของผู้ใช้แรงงานที่จะได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรมและเพียงพอในการดำรงชีวิตสำหรับตนเองครอบครัว ได้ทำงานในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและถูกสุขอนามัย สิทธิการก่อตั้งสหภาพแรงงานและเข้าร่วมสหภาพแรงงาน สิทธิของสหภาพแรง งานที่จะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเสรีปราศจากการแทรกแซง สิทธิการหยุดงาน สิทธิในการ ประกันสังคม สิทธิการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับผู้ใช้แรงงาน 

กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ค.ศ. 1966 ซึ่งประเทศไทยเป็นสมาชิกได้กำหนดให้ แต่ละประเทศต้องปฏิบัติเพื่อสร้างหลักประกันว่าทุกคนจะได้รับการปฏิบัติพื้นฐานตามสิทธิแรงงานโดยสรุป ดังนี้

  1. สิทธิในการทํางาน
    คือ สิทธิที่รับรองว่าทุกคนต้องได้รับโอกาสในการเข้าทำงานอย่างเท่าเทียมกัน ไม่มีเลือกปฏิบัติด้วยข้อจำกัดต่าง ๆ เช่น เพศ เชื้อชาติ และจะไม่ถูกไล่ออกโดยพลการ ไม่มีการบังคับใช้แรงงาน
  2. สิทธิที่จะมีสภาพการทํางานที่ยุติธรรม
    ทุกคนจะมีสภาพการทํางานที่ยุติธรรมและน่าพึงพอใจ จะต้องได้รับสิทธิ 5 ประการต่อไปนี้
    2.1 สิทธิที่จะได้ค่าจ้างที่เป็นธรรมและรายได้เท่ากันสําหรับงานที่มีคุณค่าเท่ากัน โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้หญิงจะได้รับการประกันสภาพการทํางานที่ไม่ด้อยกว่าผู้ชาย
    2.3 สถานที่ทํางานต้องปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
    2.4 สิทธิที่จะได้รับการพักผ่อนและมีเวลาว่าง การจํากัดชั่วโมงการทํางาน การมีวันหยุด
    2.5 สิทธิที่จะได้รับการส่งเสริมให้มีความก้าวหน้าในการทํางานของตนในระดับที่สูงขึ้นตามเหมาะสมตามความสามารถ
  3. สิทธิของผู้ใช้แรงงาน
    นอกจากเรื่องทั่วไปที่เราคุ้นเคยแล้ว แรงงานทุกคนยังมีสิทธิที่จะรวมกลุ่มในรูปแบบของสหภาพแรงงาน ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของผู้ทำงานในอาชีพ หรือสถานที่ทำงานเดียวกันเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองกับผู้ประกอบการ หรือเจ้าของกิจการ เมื่อต้องมีต่อรองในเรื่องที่เกี่ยวกับประโยชน์ของแรงงาน สิทธิเหล่านี้ได้แก่

    3.1 สิทธิที่จะก่อตั้งสหภาพแรงงานและเข้าร่วมสหภาพแรงงานตามที่ตนเลือก เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของตน
    3.2 สิทธิของสหภาพแรงงานที่จะจัดตั้งสหพันธ์หรือสมาพันธ์แห่งชาติ และสิทธิของสมาพันธ์แห่งชาติที่จะก่อตั้งหรือเข้าร่วมกับองค์การสหภาพแรงงานระหว่างประเทศ
    3.3 สิทธิของสหภาพแรงงานที่จะดําเนินงานอย่างเสรีโดยไม่ขึ้นอยู่กับการจํากัดใด นอกจากที่ได้กําหนดโดยกฎหมาย “ เพื่อประโยชน์ของความ มั่นคงแห่งชาติ หรือความสงบเรียบร้อยของส่วนรวม หรือการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น”
    3.4 สิทธิที่จะนัดหยุดงาน
  4. สิทธิในการประกันสังคม
    คณะกรรมการกําหนดให้รัฐภาคีรายงานเรื่องแผนการประกันสังคมที่ประเทศภาคีสมาชิก ต่างๆ มีอยู่ แผนการประกันสังคมที่คณะกรรมการ ระบุ ได้แก่ การประกันสุขภาพ การประกัน ผู้สูงอายุ การประกันการว่างงาน รวมทั้งสิทธิประโยชน์ต่างๆ ได้แก่ สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อ เจ็บป่วยและต้องออกจากงาน สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อบาดเจ็บจากการทํางาน สิทธิประโยชน์ใน การลาป่วย สิทธิประโยชน์ที่ตกเป็นมรดกแก่ญาติ สิทธิประโยชน์ที่ครอบครัวมีสิทธิได้รับ สิทธิ ประโยชน์ในการลาคลอด

สิทธิแรงงานก็เป็นประเด็นสำคัญใน SDGs ด้วยเช่นกันโดยมีการกำหนดเป้าหมายระดับ Target เอาไว้ว่า

Target 8.8 – ปกป้องสิทธิแรงงานและส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและมั่นคงสำหรับผู้ทำงานทุกคน รวมถึงแรงงานต่างด้าว โดยเฉพาะแรงงานหญิงต่างด้าวและผู้ที่ทำงานเสี่ยงอันตราย


Target 8.8 – Protect labour rights and promote safe and secure working environments for all workers, including migrant workers, in particular women migrants, and those in precarious employment.

SDG Vocab รู้จักคำศัพท์ รู้จัก SDGs

หมายเหตุ – คำอธิบายข้างต้นสรุปโดยทีมงาน เพื่อให้อ่านแล้วทำความเข้าใจง่ายเท่านั้น
ไม่แนะนำให้นำไปอ้างอิงในเชิงวิชาการ

https://www.ohchr.org/en/instruments-mechanisms/instruments/international-covenant-economic-social-and-cultural-rights

Last Updated on สิงหาคม 22, 2022

Author

  • Pimnara Intaprasert

    Editor | คนทำงานข้ามสายที่ชอบมองภาพใหญ่และอยากเห็นงานพัฒนามองทุกศาสตร์อย่างเชื่อมโยง

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นและรายละเอียดของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับและใช้เพื่อการพัฒนาการสื่อสารองค์ความรู้ของ SDG Move เท่านั้น
* หมายถึง ข้อมูลที่จำเป็น