“ฝากทิ้ง E-Waste กับพี่ไปรฯ อุ่นใจถึง AIS” ไปรษณีย์ไทยร่วมกับ AIS รับฝากขยะอิเล็กทรอนิกส์ถึงบ้าน

บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ร่วมมือกับ AIS รับฝากทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเจ้าหน้าที่นำจ่ายไปรษณีย์จากที่พักอาศัยได้โดยตรง เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เสียหรือไม่ใช้แล้ว เช่น มือถือ แท็ปเล็ต สายชาร์จ หูฟัง พาวเวอร์แบงก์ แบตเตอเตอรี่มือถือ โดยจะนำส่งไปยังหน่วยงานที่มีบริการกำจัดและรีไซเคิลขยะเหล่านี้อย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา

ก่อนหน้านี้ทางไปรษณีย์ไทยและเอไอเอสได้มีโครงการ “คนไทยไร้ E-Waste” ตั้งจุดรับทิ้งขยะ E-Waste ในที่ทำการไปรษณีย์ จำนวน 160 แห่งทั่วประเทศ เพื่อความสะดวกให้แก่ประชาชน ตั้งแต่ปี 2563 และการต่อยอดบริการเข้ารับขยะอิเล็กทรอนิกส์ถึงบ้านโดยเจ้าหน้าที่ของไปรษณีย์ไทยกว่า 20,000 คน จะช่วยข้อจำกัดของการเดินทางไปถึงจุดรับทิ้งได้ และเพิ่มจำนวนขยะที่ได้รับการจัดการตามมาตรฐานสากลในรูปแบบของ Zero Landfill ได้มากขึ้น

ผู้ที่สนใจส่งฝากทิ้ง E-Waste กับเจ้าหน้าที่จัดส่งไปรษณีย์ มีขั้นตอนดังนี้

  1. นำ E-Waste ทั้ง 5 ประเภท ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ/แท็บเล็ต, สายชาร์จ, หูฟัง, พาวเวอร์แบงก์ และแบตเตอรี่มือถือ บรรจุใส่กล่อง พร้อมเขียนหน้ากล่อง “ฝากทิ้ง ขยะอิเล็กทรอนิกส์”
  2. ฝากทิ้งกับเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ที่มานำจ่ายจดหมายตามบ้านได้เลย โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ที่มา: AIS

ศึกษาแคมเปญ “ฝากทิ้ง E-Waste กับพี่ไปรฯ อุ่นใจถึง AIS” ได้ที่ AIS


สถานการณ์ E-Waste ในประเทศไทย

ข้อมูลรายงานเฝ้าระวังขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก (The Global E-Waste Monitor) ประจำปี 2020 ระบุว่า ประชากรประเทศไทย 1 คน ผลิตขยะอิเล็กทรอนิกส์เฉลี่ย 9.2 กิโลกรัมต่อปี หรือสูงถึง 621 ตันต่อปี แต่เป็นหนึ่งใน 17 ประเทศในทวีปเอเชียที่มีกฎหมาย/นโยบายหรือข้อบังคับเกี่ยวกับขยะอิเล็กทรอนิกส์ระดับชาติ และปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำ (ร่าง) พระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิล็กทรอนิกส์ พ.ศ. …. ซึ่งได้ดำเนินการมาเป็นเวลากว่า 5 ปี แล้ว

ที่มา: Global E-Waste Monitor 2020
การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ เกี่ยวข้องกับ SDGs ในเป้าหมาย ..
- SDG 12 การบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน ในประเด็น บรรลุเรื่องการจัดการสารเคมีและของเสียทุกชนิดด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และลดการปลดปล่อยสิ่งเหล่านั้นออกสู่อากาศ น้ำ และดิน เพื่อจะลดผลกระทบทางลบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม (12.4)

ที่มา : AIS , Brand Inside , ประชาชาติธุรกิจ

Last Updated on พฤศจิกายน 8, 2021

Author

  • Natetida Bunnag

    Social Media Manager - ตัวแทน 'คนธรรมดา' ในชุมชนนักวิชาการ อ่าน แปล และสื่อสารเรื่องความยั่งยืน

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นและรายละเอียดของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับและใช้เพื่อการพัฒนาการสื่อสารองค์ความรู้ของ SDG Move เท่านั้น
* หมายถึง ข้อมูลที่จำเป็น