นับถอยหลัง HLPF 2021 – กิจกรรมตลอดทั้ง 8 วัน มีอะไรบ้าง?

– นับถอยหลังสู่การประชุม ‘HLPF 2021’ หมุดหมายสำคัญของวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน และเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมความเข้าใจก่อนวันประชุมจะเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 6-15 กรกฎาคม 2564 เราจึงชวนมารู้จักว่าการประชุม HLPF คืออะไร สำคัญอย่างไร ความเกี่ยวข้องของไทยกับเวที ดังกล่าว รวมถึงว่าประชาคมโลกเขาพูดเรื่องอะไรกันจนถึงปัจจุบันนี้ –

และเราจะปิดสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมิถุนายนนี้ ก่อนที่จะมีการประชุม HLPF 2021 ในสัปดาห์หน้า กับ…

HLPF 2021 – 06 – กิจกรรมตลอดทั้ง 8 วัน มีอะไรบ้าง

มาทำความรู้จัก HLPF และ VNRs ให้มากขึ้นก่อน

การประชุม HLPF 2021 มากับธีม ‘‘การฟื้นฟูอย่างยั่งยืนและยืดหยุ่นปรับตัวได้จากโรคระบาดโควิด-19 ที่จะส่งเสริมมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของการพัฒนาที่ยั่งยืน: สร้างหนทางที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังและมีประสิทธิภาพในการบรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน 2573 ในบริบทของทศวรรษแห่งการลงมือทำและการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน’’ กับการโฟกัส 9 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นการเฉพาะ และตลอดทั้ง 8 วันของการประชุมนี้ มีกิจกรรมที่หลากหลายทั้ง (1) กิจกรรมทางการ (Official Programme) (2) กิจกรรมพิเศษเกี่ยวกับ VNR (VNR LABS Special Events) และ (3) กิจกรรมคู่ขนาน (Side Events) โดยในแต่ละกิจกรรมนั้นอาจจะเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันพร้อมกัน ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมรับฟังกิจกรรมต่าง ๆ ในประเภท (2) และ (3) ได้

ดูกิจกรรมทั้งหมด รวมถึง Link สำหรับลงทะเบียนกดเข้าร่วมในแต่ละกิจกรรมการประชุม ที่นี่

กิจกรรมทางการ
กิจกรรมพิเศษ (สามารถกดตรงกิจกรรมที่สนใจเพื่อนำไปสู่หน้าต่างรายละเอียดและการเข้าร่วม หรือดู ที่นี่
กิจกรรมคู่ขนาน

ทั้งนี้ SDG Move ได้สรุปภาพรวมกิจกรรมโดยสังเขปเป็นภาษาไทย (เวลานครนิวยอร์ก) ดังนี้

สัปดาห์แรก (6-9 กรกฎาคม 2564) : สัปดาห์แห่งการถกแถลง-อภิปรายตามธีม หลักการ SDGs ความเชื่อมโยง-การเสริมพลัง-และ ‘trade-off’ ภายใน 9 เป้าหมายที่โฟกัส รวมถึงความเชื่อมโยงหรือบูรณาการกับเป้าหมายอื่น ๆ จากทั้งหมด 17 เป้าหมาย

วันที่ 6

  • กิจกรรมทางการ
    • 09.00 – 10.00 น. เปิดการประชุม
    • 10.00 – 12.00 น. SDGs ในห้วงเวลาของวิกฤติและการฟื้นตัวจากโรคระบาด โดยตระหนักถึง SDGs
    • 12.00 – 13.00 น. หลักประกันว่าไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังโดยคุ้มครองคนที่ยากจนที่สุดและเปราะบางที่สุดในสภาวะวิกฤติ และเสริมพลังให้ตระหนักถึง SDGs
    • 15.00 – 17.00 น.เสริมสร้างความสามารถในการตั้งรับและปรับตัวจากความผันผวนในอนาคตผ่านการเปลี่ยนแปลงระดับโครงสร้างและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน
  • กิจกรรมพิเศษเกี่ยวกับ VNR – อาทิ เรียนรู้ อบรม ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับ SDGs
  • กิจกรรมคู่ขนาน – มีกิจกรรมที่หลากหลายมาก อาทิ SDG16 ในฐานะกุญแจฟื้นฟูวิกฤติธรรมาภิบาลและผลกระทบโควิด-19 / เศรษฐกิจหมุนเวียนในฐานะเครื่องมือเร่งดำเนินการ #SDG12 และ #SDG13 / ความสำคัญของเป้าประสงค์ 4.7 / ความสัมพันธ์ในครอบครัวและการทำงานที่ยืดหยุ่น / การจัดการกับความท้าทายทางสิ่งแวดล้อม / คนไร้บ้านและ #SDG1 / ประเทศหมู่เกาะขนาดเล็ก / โซลูชั่นจากชนพื้นเมือง / สภาพภูมิอากาศและการเคลื่อนที่ของมนุษย์ / งานอาสาสมัครกับโควิด-19 / หุ้นส่วนองค์กรไม่แสวงผลกำไรระดับโลก (Global NGO Partnership)

วันที่ 7

  • กิจกรรมทางการ
    • 09.00 – 12.15 น. โฟกัสที่ #SDG1 #SDG2 #SDG8 และ #SDG17 ‘ยุติความยากจนและความหิวโหย และเปลี่ยนแปลงจากฐานรากไปสู่เศรษฐกิจที่ยั่งยืนและครอบคลุม’ ความเชื่อมโยงระหว่างกันและที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายอื่น
    • 12.15 – 13.15 น. ทบทวนการขับเคลื่อนเป้าประสงค์ในปี 2563 (2.5, 3.6, 4.b, 6.6, 8.6. 8.b, 9.c, 11.b, 12.4, 13.a, 14.2, 14.4, 14.5,14.6,15.1, 15.2, 15.5, 15.8, 15.9, 17.11, 17.18)
    • 15.00 – 17.00 น. โฟกัสที่ #SDG12 #SDG13 และ #SDG17 ‘การเปลี่ยนแปลงการผลิตและการบริโภคจากฐานราก จัดการกับและลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ’ ความเชื่อมโยงระหว่างกันและที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายอื่น
  • กิจกรรมพิเศษเกี่ยวกับ VNR – อาทิ เน้นเรื่องการศึกษา
  • กิจกรรมคู่ขนาน – มีกิจกรรมที่หลากหลายมาก อาทิ ผลกระทบของโควิด-19 ที่มีต่อยาเสพติดและอาชญากรรม / แฟชั่นที่ยั่งยืน / บทบาทการคุ้มครองทางสังคมที่ตระหนักถึงเด็ก / การค้า ภาษี และหนี้ / การควบคุมบุหรี่และโรคไม่ติดต่อ / การเข้าถึงน้ำและสุขาภิบาลในมุมเพศสภาพ / นิเวศเกษตรและ Nature-based Solutions / หุ้นส่วนกับภาคเอกชน / หุ้นส่วนทางวัฒนธรรม มรดกทางประวัติศาสตร์ และศิลปะ / การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิทธิมนุษยชน / One Health Approach / เทคโนโลยีช่วยปล่อยคาร์บอนต่ำ

วันที่ 8

  • กิจกรรมทางการ
    • 09.00 – 12.15 น. โฟกัสที่ #SDG3 #SDG10 #SDG16 และ #SDG17 ‘สร้างสังคมที่มีสันติสุข เท่าเทียม และครอบคลุมมากขึ้น’ ความเชื่อมโยงระหว่างกันและที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายอื่น
    • 12.15 – 13.15 น. ‘Going Local’ นำ SDGs ไปขับเคลื่อนในระดับชาติและระดับท้องถิ่น
    • 15.00 – 17.00 น. ฟื้นฟูสภาพแวดล้อม/เงื่อนไขที่จะสนับสนุนความก้าวหน้า SDGs ในประเทศแถบแอฟริกา ประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด (Least Developed Countries – LDCs) และประเทศที่ไม่มีอาณาเขตติดทะเล (Landlocked Developing Countries – LLDCs)
  • กิจกรรมพิเศษเกี่ยวกับ VNR – อาทิ เน้นการเร่งดำเนินการ SDGs
  • กิจกรรมคู่ขนาน – มีกิจกรรมที่หลากหลายมาก อาทิ การค้าเพื่อสันติภาพ / การมีส่วนร่วมของเยาวชนใน UN / ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ / ความสำคัญของการฟื้นฟูการบินที่ยั่งยืน / SDG Localization กับการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง / สวัสดิการสังคม / รายงานภาคประชาสังคมที่มีต่อ VNR / วิทยาศาสตร์นิวเคลียร์และเทคโนโลยีในการเข้ามาช่วยฟื้นฟูประเทศหลังโรคระบาด / Vaccine Passports / Building Back Fairer / ความเป็นผู้ประกอบการ

วันที่ 9

  • กิจกรรมทางการ
    • 09.00 – 11.00 น. ร่วมกันช่วยเหลือกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นหมู่เกาะ (Small Island Developing States – SIDs) ให้เดินหน้าพร้อม SDGs
    • 11.15 – 13.15 น. การเคลื่อนย้าย-สนับสนุนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม และเสริมสร้างการปฏิสังสรรค์ของวิทยาศาสตร์-นโยบาย-สังคม ซึ่งในช่วงการหารือนี้รวมถึงการเตรียมการ Global Sustainable Development Report (GSDR)
    • 15.00 – 17.00 น. วิสัยทัศน์และการจัดอันดับความสำคัญของภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียหลัก ๆ รวมถึงการตระหนักถึง SDGs ในการฟื้นฟูจากโควิด-19
  • กิจกรรมพิเศษเกี่ยวกับ VNR – อาทิ เน้นเรื่องน้ำ
  • กิจกรรมคู่ขนาน – มีกิจกรรมที่หลากหลายมาก อาทิ ICT เพื่อสังคมและเศรษฐกิจที่ครอบคลุม ยั่งยืน ตั้งรับปรับตัวได้ / ระบุประเด็นความท้าทายต่อสิทธิมนุษยชน ความยุติธรรมสภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาที่ยั่งยืน / แนวปฏิบัติที่ดีจากประเทศนอร์ดิก / บทบาทของข้อมูล / ทุกคนเป็นพลเมืองของมหาสมุทร / การให้เงินทุนกับ Nature-based solutions / ไม่มีสิทธิในการเข้าถึงที่ดิน ไม่มี SDGs

สัปดาห์ที่สอง (12-15 กรกฎาคม 2564) : สัปดาห์ของการเริ่มรายงาน VNR ของ 44 ประเทศ ทั้งที่ประเทศที่เริ่มเข้าร่วมนำเสนอครั้งแรก ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3ขณะเดียวกัน วันที่ 13-15 เป็นการประชุมระดับรัฐมนตรี 3 วันและจะมีการรับรองปฏิญญาระดับรัฐมนตรี (Ministerial Declaration) ด้วย

วันที่ 12

  • กิจกรรมทางการ
    • 09.00 – 11.30 น. การลงทุนใน SDGs ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อบรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน
    • 11.30 – 13.00 น. Key Message จาก VNRs 2021 และเริ่มการนำเสนอ VNRs โดยช่วงนี้จะเป็นการนำเสนอของประเทศที่รายงานเป็นครั้งที่ 3 (4 ประเทศ)
    • 15.00 – 17.00 น. นำเสนอ VNRs ต่อ โดยประเทศที่รายงานเป็นครั้งที่ 3 (6 ประเทศ)
  • กิจกรรมพิเศษเกี่ยวกับ VNR
    • สารจากรัฐสภา บทบาทของนโยบายสาธารณะและภาครัฐในการบริหารเศรษฐกิจและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน
    • หนังสั้นเกี่ยวกับการลงมือทำ SDGs (SDGs in Action Film Festival)
  • กิจกรรมคู่ขนาน – มีกิจกรรมที่หลากหลายมาก อาทิ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและน้ำ / พลเมืองกับการสนับสนุนนวัตกรรมการขับเคลื่อนและติดตาม SDGs / โซลูชั่นทางน้ำและพลังงานที่ยั่งยืน / ผลกระทบของโรคระบาดกับการวัดความก้าวหน้า SDG16 / การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน / ความสำคัญของความเสมอภาคทางสุขภาพ / ความเสี่ยงต่อผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนกับเป้าประสงค์ 16.10.1

วันที่ 13

  • กิจกรรมทางการ
    • 09.00 – 10.30 น. พิธีเปิด
    • 10.30 – 13.15 น. เริ่มการนำเสนอ VNRs โดยช่วงนี้จะเป็นการนำเสนอของประเทศที่รายงานเป็นครั้งแรก (5 ประเทศ)
    • 15.00 – 15.15 น. คำปราศรัยโดยผู้อำนวยการ UN Environment Assembly
    • 15.15 – 16.45 น. นำเสนอ VNRs ต่อ โดยประเทศที่รายงานเป็นครั้งแรก (3 ประเทศ)
  • กิจกรรมคู่ขนาน – มีกิจกรรมที่หลากหลายมาก อาทิ การเข้าถึงความยุติธรรมสำหรับเด็กทุกคน / โซลูชั่นจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในท้องถิ่น / พลังงานหมุนเวียนกับการฟื้นฟูจากโควิด-19 / บทบาทของภาคธุรกิจและการเงิน / เมืองสำหรับทุกคน / ระบบอาหารที่ยั่งยืน

วันที่ 14

  • กิจกรรมทางการ
    • 09.00 – 10.30 น. Messages จากภูมิภาคต่าง ๆ
    • 10.30 – 13.00 น. เริ่มการนำเสนอ VNRs โดยช่วงนี้จะเป็นการนำเสนอของประเทศที่รายงานเป็นครั้งแรก (1 ประเทศ) และประเทศที่รายงานเป็นครั้งที่ 2 (5 ประเทศ)
    • 15.00 – 17.00 น. นำเสนอ VNRs ต่อ โดยประเทศที่รายงานเป็นครั้งที่ 2 (6 ประเทศ)
  • กิจกรรมคู่ขนาน – มีกิจกรรมที่หลากหลายมาก อาทิ เทคโนโลยีอวกาศ / วิกฤติธรรมาภิบาล / ทศวรรษการลงมือทำ / เสริมสร้างความเข้มแข็งในการเตรียมพร้อมและตอบสนองต่อโรคระบาด / การต่อสู้กับการเลือกปฏิบัติในทุกการพัฒนา / จัดการกับความไม่เท่าเทียมและความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก

วันที่ 15

  • กิจกรรมทางการ
    • 09.00 – 13.00 น. เริ่มการนำเสนอ VNRs โดยช่วงนี้จะเป็นการนำเสนอของประเทศที่รายงานเป็นครั้งที่ 2 (12 ประเทศ)
    • 15.00 – 15.40 น. นำเสนอ VNRs ต่อ โดยประเทศที่รายงานเป็นครั้งที่ 2 (2 ประเทศ)
    • 15.40 – 17.00 น. การรับรองปฏิญญาระดับรัฐมนตรี
  • กิจกรรมพิเศษเกี่ยวกับ VNR – อาทิ ภาคธุรกิจกับ SDGs
  • กิจกรรมคู่ขนาน – มีกิจกรรมที่หลากหลายมาก อาทิ บทบาทนำขององค์กรไม่แสวงผลกำไร / Build Back Better ด้วยการลงทุนกับข้อมูลการพัฒนา

ทั้งนี้ จุดเด่นจากภาคประชาสังคม ยังมีการนำเสนอเอกสารรณรงค์จาก Forus International ‘Prioritizing the Capacity Building of Civil Society for effective SDG implementation’ ซึ่งเป็นบทวิเคราะห์การดำเนินการของภาครัฐ VNRs 2020 และ ‘Enabling Digital Environment for CSOs around the world.’

และยังมีกิจกรรมคู่ขนาน อาทิ  

  • 9 ก.ค. 2564 – หุ้นส่วนการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ลงทะเบียนที่นี่
  • 12 ก.ค. 2564 – การขับเคลื่อน SDG16 และ SDG17 กับการส่งเสริมพื้นที่สาธารณะและDigitalization สำหรับภาคประชาสังคมในทุกที่ ลงทะเบียนที่นี่
  • 14 ก.ค. 2564 – บทเรียนจาก VNR สำหรับทศวรรษแห่งการลงมือทำ ลงทะเบียนที่นี่
  • 16 ก.ค. 2564 – ประชุมเชิงปฏิบัติการภาคประชาสังคม สะท้อน HLPF 2021 ลงทะเบียนที่นี่

หรือติดตามเพิ่มเติม ที่นี่

ติตตามข่าวสาร HLPF 2021 ได้ที่ : https://sustainabledevelopment.un.org/hlpf/2021
ข้อมูล HLPF ทั้งหมดที่ : https://sustainabledevelopment.un.org/hlpf
และ VNRs ที่ : https://sustainabledevelopment.un.org/vnrs/
หรือติดตามช่องทางของ SDG Move ที่ : https://www.sdgmove.com/?tag=hlpf และ https://www.sdgmove.com/tag/vnr/

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ #SDG17 หุ้นส่วนระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

แหล่งที่มา:
https://sustainabledevelopment.un.org/hlpf/2021#programme
https://sustainabledevelopment.un.org/content/documents/275642021_HLPF_PROGRAMME.pdf
https://sustainabledevelopment.un.org/content/documents/280782021_HLPF_Tentative_programme_of_side_events.pdf
https://sustainabledevelopment.un.org/content/documents/280852021HLPFSpecialEventsFlyer.pdf
https://www.forus-international.org/

Last Updated on มกราคม 4, 2022

Author

  • Thiraphon Singlor

    Editor | อยากรู้ความคิดของคนต่างพื้นเพ ต่างสังคมและวัฒนธรรม สนใจความเป็นไปของโลก ความมั่นคง และการพัฒนา แล้วนำมาถ่ายทอดร้อยเรียงเรื่องราวเล่าให้ฟัง

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นและรายละเอียดของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับและใช้เพื่อการพัฒนาการสื่อสารองค์ความรู้ของ SDG Move เท่านั้น
* หมายถึง ข้อมูลที่จำเป็น