ตัวชี้วัด (Indicators) ของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) เป็นชุดเป้าหมายการพัฒนาของ UN ที่มีความกว้างขวางและครอบคลุมแทบทุกมิติที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของมนุษย์ มีเป้าหมายที่จะบรรลุให้ได้ภายในปี ค.ศ. 2030 ในการที่จะทราบว่าสถานะของเป้าหมายทั้งในระดับโลกและของแต่ละประเทศเป็นอย่างไร บรรลุเป้าหมายหรือไม่ จำเป็นต้องมีตัวชี้วัด (Indicators) มาเป็นเครื่องบ่งชี้สถานะเหล่านั้น

จากเป้าหมายทั้งหมด 17 ข้อ เป้าประสงค์ร่วม 169 เป้าประสงค์ SDGs มีตัวชี้วัดรวมทั้งหมด 241 ตัวชี้วัด (ดู Official list of SDGs Indicator ที่นี่) กระจายอยู่ในแต่ละเป้าประสงค์ กล่าวคือ ทุกเป้าประสงค์จะมีตัวชี้วัดอย่างน้อย 1 ตัว บางข้ออาจมีมากกว่านั้น ตัวชี้วัดสำหรับบางเป้าประสงค์อาจจะไม่เกี่ยวกับประเทศไทย ชุดตัวชี้วัดของบางเป้าประสงค์อาจดูแคบ ไม่ครอบคลุม ก็ได้ ซึ่งส่วนนี้เป็นเรื่องของแต่ละประเทศที่จะพัฒนาตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศนั้น ๆ และครอบคลุมประเด็นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งโจทย์วิจัยที่เปิดรับในขณะนี้จะเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการปรับปรุงตัวชี้วัดต่อไป (ดูในประกาศโจทย์วิจัย)

สำหรับในกรณีประเทศไทยนั้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และสำนักงานสถิติแห่งชาติ กำลังร่วมกันรวบรวมสถิติทุกอย่างที่ภาครัฐมีอยู่เพื่อตรวจสอบว่า ปัจจุบันสถานะด้านข้อมูลทางสถิติของประเทศไทยมีความพร้อมเพียงใด และจะปรับปรุงให้ครอบคลุมเพื่อให้การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ SDGs มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นได้อย่างไร (คณะอนุกรรมการที่รับผิดชอบส่วนนของการปรับปรุงตัวชี้วัดคือ คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน)

ในเบื้องต้นสามารถสรุปในภาพรวมได้ตามตารางด้านล่าง และหากท่านต้องการทราบโดยละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัดสำหรับแต่ละเป้าหมายและเป้าประสงค์ พร้อมทั้งปัจจุบันภาครัฐมีข้อมูลอะไรบ้าง โดยหน่วยงานใด ท่านสามารถเข้าไปโหลดเอกสารได้ที่นี่  ในลิงค์นี้จะมี 2 folders คือ เอกสารตัวชี้วัดของ สศช. (ตัวชี้วัดและข้อมูลที่มีอยู่ในไทย) และ Metadata (เอกสารของ UN เพื่ออธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัดแต่ละตัว)

สถานภาพข้อมูลและตัวชี้วัด SDGs ของไทย

เป้าหมาย UN กำหนด มีอยู่แล้ว ต้องปรับปรุง ต้องตรวจสอบ ไม่เกี่ยวข้อง
1. No Poverty 12 8 1 3 0
2. Zero Hunge 14 11 1 2 0
3. Health and Well-being 26 17 0 9 0
4. Quality Education 11 5 0 6 0
5. Gender Equality 14 8 1 5 0
6. Clean Water and Sanitation 11 7 2 2 0
7. Affordable and Clean energy 6 4 1 1 0
8. Decent Jobs and Economic Growth 17 8 1 8 0
9. Industry Innovation and Infrastructure 12 10 1 1 0
10. Reduced Inequalities 11 6 0 5 0
11. Sustainable Cities and Communities 15 6 2 6 1
12. Responsible Consumption and Production 13 3 0 10 0
13. Climate Action 7 4 0 1 2
14. Life under Water 10 3 3 3 1
15. Life on Land 14 3 0 11 0
16. Peace and Justice, Strong Institution 23 10 0 13 0
17. Partnership for the Goals 25 6 1 17 1
Total 241 119 14 103 5
ที่มาข้อมูล สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

Last Updated on พฤศจิกายน 4, 2016

Author

0 thoughts on “ตัวชี้วัด (Indicators) ของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นและรายละเอียดของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับและใช้เพื่อการพัฒนาการสื่อสารองค์ความรู้ของ SDG Move เท่านั้น
* หมายถึง ข้อมูลที่จำเป็น