สหภาพยุโรปออกยุทธศาสตร์ใหม่ ‘หาทางออกและลงมือทำ’ ปรับตัวต่อ Climate Change

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 สหภาพยุโรปออกยุทธศาสตร์ใหม่ด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (EU Strategy on Adaptation to Climate Change) ปรับทิศทางเน้นสร้างความเข้าใจสู่ ‘การคิดหาทางออก’ จากวางแผนสู่ ‘การลงมือทำ’ เตรียมพร้อมรับมือด้วยการปรับตัว (adaptation) ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายในภูมิภาค อาทิ คลื่นความร้อนที่รุนแรง ภัยแล้ง ป่าไม้และชายฝั่งที่ถูกกัดเซาะจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น ความเสื่อมโทรมของที่ดินและระบบนิเวศ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และความเป็นกรดในทะเล

รวมไปถึงให้มีการประเมินความเสี่ยงของสภาพภูมิอากาศ (risk assessments) สร้างภูมิต้านทาน (resilience) สำหรับอนาคต สอดคล้องกับมาตราที่ 7 ของข้อตกลงปารีส และเป้าหมายที่ 13 ของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

“Smarter, More systemic, Faster adaptation”

Adaptation – ให้ทุกภาคส่วนปรับตัวไปพร้อมกันอย่างเป็นระบบ โดยการใช้ข้อมูลมหาศาลและเครื่องมือประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ อาทิ ในการตัดสินใจเชิงนโยบายที่เกี่ยวกับหลายประเด็น ผลักดัน ผนวกในนโยบายการคลัง แก้ปัญหาโดยมีธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based solutions: NBS) การซื้อ-สร้าง-ปรับปรุงบ้านและการทำธุรกิจในพื้นที่ชายฝั่งทะเล การทำการเกษตรและที่เกี่ยวกับพืชผลการเกษตร รวมทั้งการขยายแพลตฟอร์มเผยแพร่ความรู้ ‘Climate-ADAPT’

นอกจากนี้ ยังเป็นความพยายามให้ประชาคมโลกเกิดการร่วมมือกันทำ โดยสหภาพยุโรปจะนำเสนอวิธีการในระดับพื้นที่ ชาติ และภูมิภาค เน้นการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศที่แอฟริกาและประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นหมู่เกาะ พร้อมให้การสนับสนุนการเตรียมพร้อมและสร้างภูมิต้านทานระหว่างประเทศผ่านการให้ทรัพยากร ช่วยเหลือด้านเงินทุน การแลกเปลี่ยนและการมีส่วนร่วมในระดับโลก โดยเฉพาะการปิดช่องโหว่ในประเด็นที่เกี่ยวกับ ‘เงินทุน’ ในการจัดการกับ #SDG13

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG13 การลงมือทำอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น
● เป้าประสงค์ที่ 13.1 กล่าวถึงการเสริมภูมิต้านทานและขีดความสามารถในการปรับตัวต่ออันตรายและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศ
● เป้าประสงค์ที่ 13.2 กล่าวถึงการบูรณาการมาตรการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในนโยบายยุทธศาสตร์และการวางแผนระดับชาติ
#SDG17 หุ้นส่วนความร่วมมือการพัฒนาที่ยั่งยืน
● เป้าประสงค์ที่ 17.16 กล่าวถึงการยกระดับหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กับภาคส่วนที่หลากหลาย มีการระดมและแบ่งป็นความรู้ ความเชี่ยวชาญ เทคโนโลยี และทรัพยากรด้านการเงิน สนับสนุนการบรรลุ SDGs โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา

อ่านฉบับเต็ม

แหล่งอ้างอิง: https://ec.europa.eu/commission/presscorner/detail/en/ip_21_663

#SDGWatch #ihpp #SDG13 #SDG17

Last Updated on มีนาคม 4, 2021

Author

  • Thiraphon Singlor

    Editor | อยากรู้ความคิดของคนต่างพื้นเพ ต่างสังคมและวัฒนธรรม สนใจความเป็นไปของโลก ความมั่นคง และการพัฒนา แล้วนำมาถ่ายทอดร้อยเรียงเรื่องราวเล่าให้ฟัง

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นและรายละเอียดของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับและใช้เพื่อการพัฒนาการสื่อสารองค์ความรู้ของ SDG Move เท่านั้น
* หมายถึง ข้อมูลที่จำเป็น