SDG 101 | รู้หรือไม่? ปัญหาเชื่อมโยงกับ SDGs แต่ละเป้าหมายต่างรูปแบบและส่งผลแตกต่างกัน

ตามหลักการพัฒนาอย่างบูรณาการ (Integrated Development) ที่เน้นให้เราคำนึงถึงเสมอว่าทุกปัญหา และการตัดสินใจลงมือทำบางอย่างล้วนมีความเชื่อมโยงกับปัญหา หรือส่งผลกระทบต่อภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเสมอ  ทว่าความเชื่อมโยงนั้นอาจเกิดขึ้นได้ในรูปแบบที่ต่างกัน และมีระดับความเกี่ยวข้องมากน้อยต่างกันไปด้วย   เราสามารถแบ่งระดับความเชื่อมโยงตั้งแต่ในระดับที่เชื่อมโยงในเชิงบวกหรือช่วยสนับสนุนเสริมแรงกัน ไปจนถึงระดับที่มีผลหักลบหรือขัดแย้งกันได้ 7 ลักษณะ ดังนี้

+3 Indivisible – เกี่ยวข้องโดยตรง ไม่สามารถแยกจากกันไม่ได้เลย เช่น การลดลงของสารเคมีเป็นพิษในอากาศ (SDG 12.4) จะช่วยให้โรคไม่ติดต่อลดลงและคนมีสุขภาพดีขึ้น (SDG 3.4)
+2 Reinforcing – เสริมแรงกัน เช่น การเพิ่มการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนจากทะเล ( SDG 14.7) ช่วยส่งเสริมให้ให้เกิดการจ้างงานที่ดีและธุรกิจขนาดกลางและเล็กเช่น ท่องเที่ยว (SDG 8.5 และ 8.9)
+1 Enabling – เปิดโอกาส เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม (SDG 9.1) ทำให้ผู้หญิงเข้าถึงงานและโอกาสอื่น ๆ ทางเศรษฐกิจ สังคมการเมืองได้ง่ายขึ้น ( SDG 5.5)

0  Consistent – ไม่เสริมไม่ขัดกัน 

-1 Constraining – เป็นข้อจำกัด เช่น การประกาศเขตอนุรักษ์บริเวณชายฝั่ง (SDG 14.5) อาจจำกัดพื้นที่การพัฒนาที่อยู่อาศัยและโครงสร้างพื้นฐาน (SDG 11.1)
-2 Counteracting – อาจส่งผลขัดกัน เช่น การเพิ่มผลิตภาพทางกรเกษตรและรายได้เกษตรกร
(SDG 2.3) อาจส่งผลขัดต่อความยั่งยืนในการใช้น้ำ (SDG 6.4) และการลดการปล่อยสารเคมีลงในน้ำและอากาศ (SDG 12.4)
-3 Cancelling – หักลบผลของกันและกัน เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของคมนาคมและด้านอื่น ๆ (SDG 9.1) อาจหักลบผลของความพยายามในการลดความสูญเสียที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติและระบบนิเวศ (SDG 15.1) 

การประเมินความเชื่อมโยงด้วยวิธีนี้ นอกจากจะทำให้เราเห็นว่าSDGs นั้นมีความเชื่อมโยงกันอย่างซับซ้อน ทั้งเสริมแรงกัน (Synergy) และขัดแย้งกัน (Trade-offs) ไม่สามารถทำการพัฒนา Goal หรือ Target ใด เพียงบางประเด็นโดยไม่คำนึงถึงการพัฒนาประเด็นอื่น ๆ ได้แล้ว ยังช่วยให้การตัดสินใจเมื่อจำเป็นต้องเลือกนั้นเป็นไปโดยคำนึงถึงผลกระทบ และหามาตรการเยียวยา ช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลเสียจากการตัดสินใจนั้น ๆ ด้วย

SDG 101 เนื้อหารูปแบบใหม่ที่อยากหยิบเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยมาเล่าแบบย่อยง่ายให้คุณรู้จัก SDGs ในมุมที่อาจไม่เคยรู้มาก่อน อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.sdgmove.com/category/sdg-101/

Last Updated on มกราคม 4, 2022

Author

  • Pimnara Intaprasert

    Editor | คนทำงานข้ามสายที่ชอบมองภาพใหญ่และอยากเห็นงานพัฒนามองทุกศาสตร์อย่างเชื่อมโยง

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นและรายละเอียดของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับและใช้เพื่อการพัฒนาการสื่อสารองค์ความรู้ของ SDG Move เท่านั้น
* หมายถึง ข้อมูลที่จำเป็น