พื้นที่ต้องการอะไร? : ความต้องการและข้อเสนอเชิงนโยบายจากภาคใต้

โครงการจัดทำแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืน (Area Need) แบ่งพื้นที่การศึกษาออกเป็น 6 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ ภาคใต้ชายแดน และยังแบ่งพื้นที่ของภาคต่าง ๆ ออกเป็นกลุ่มพื้นที่ย่อยสำหรับการศึกษาทั้งสิ้น 18 กลุ่มย่อย โดยยึดการแบ่งกลุ่มตามที่ตั้งของจังหวัดในเขตติดต่อกันหรือต่อเนื่องกันเป็นหลัก จากนั้นพิจารณาความสอดคล้องหรือเกื้อหนุนกันของประเด็นยุทธศาสตร์หรือทิศทางการพัฒนา ประกอบกับความเกี่ยวเนื่องทางเศรษฐกิจ การผลิต การค้า การลงทุนเพื่อเพิ่มมูลค่า ความได้เปรียบในการแข่งขันร่วมกัน รวมไปถึงการแก้ไขประเด็นสำคัญ เร่งด่วนที่จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมกันระหว่างจังหวัด

ภาคใต้

ภาคใต้แบ่งพื้นที่ศึกษาเป็น 2 กลุ่มย่อย ได้แก่

  1. กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย : ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี สงขลา
  2. กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน : กระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง สตูล

1. ประเด็นพัฒนาสำคัญและเร่งด่วนของภาคใต้

ประเด็นพัฒนาสำคัญและเร่งด่วนในภาพรวมภาคใต้

จากการผลการประมวลและวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าในพื้นที่ภาคใต้มีปัญหาร่วมกัน แบ่งได้ออกเป็น 3  มิติ ดังนี้

  • มิติสังคม ประกอบด้วย 1) สารเสพติดมีความรุนแรง 2) ความยากจนมีแนวโน้มสูงขึ้น 3) การปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม ให้แก่เด็กและเยาวชน 4) ปัญหาธรรมาภิบาลของหน่วยงานภาครัฐมีแนวโน้มสูงขึ้น  (มิติสันติภาพ) 5) การจัดการศึกษาไม่ตอบโจทย์ตลาดแรงงาน และไม่สร้างความสามารถในการแข่งขัน และ 6) ปัญหาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 
  • มิติเศรษฐกิจ ประกอบด้วย 1) จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงจากผลกระทบของสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 2) ความเหลื่อมล้ำมีแนวโน้มสูงขึ้น 3) การขยายตัวทางเศรษฐกิจของภาคใต้อยู่ในระดับต่ำ และ 4) การเสียดุลการค้าชายแดนภาคใต้มีแนวโน้มสูงขึ้น
  • มิติสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย 1) การจัดการของเสียที่มีเพิ่มขึ้น 2) ความสมบูรณ์ลุ่มน้ำ ภูเขา ป่าไม้ พื้นที่ชุ่มน้ำ แม่น้ำ ทะเลสาบ มีแนวโน้มลดลง และ 3) ปัญหาการขาดแคลนน้ำ

2. ความต้องการของพื้นที่

ความต้องการพัฒนาระดับกลุ่มจังหวัดของภาคใต้ 2 กลุ่มย่อย มีดังนี้

กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย

มิติสังคม ความต้องการการพัฒนาทั้งสิ้น 7 ประเด็น ดังนี้ 

  1. ความยากจนมีแนวโน้มสูงขึ้น [SDG1]
  2. สารเสพติดมีความรุนแรง [SDG3, SDG16]
  3. การจัดการศึกษาไม่ตอบโจทย์ตลาดแรงงาน และไม่สร้างความสามารถในการแข่งขัน [SDG4, SDG8]
  4. ปัญหาธรรมาภิบาลของหน่วยงานภาครัฐมีแนวโน้มสูงขึ้น [SDG16] (มิติสันติภาพ)
  5. การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่เด็กและเยาวชน [SDG4]
  6. ปัญหาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ [SDG1, SDG10]
  7. การสูญเสียคุณภาพชีวิต จากปัญหาสิ่งแวดล้อม [SDG3,SDG6,SDG11,SDG14, SDG13, SDG15]

มิติเศรษฐกิจ ความต้องการการพัฒนาทั้งสิ้น 6 ประเด็น ดังนี้ 

  1. จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง จากผลกระทบของสถานการณ์โควิด–19 [SDG8, SDG12]
  2. ความเหลื่อมล้ำมีแนวโน้มสูงขึ้น [SDG8, SDG 10]
  3. ปัญหาการว่างงาน จากการไม่สามารถปรับตัวเพื่อหางานใหม่ในสถานการณ์โควิด-19 [SDG8]
  4. การไม่สามารถเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร เพื่อสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นให้กับเกษตรกร [SDG2, SDG11]
  5. การเสียดุลการค้าชายแดนของภาคใต้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น [SDG8]
  6. การขยายตัวทางเศรษฐกิจของภาคใต้อยู่ในระดับต่ำ [SDG8]

มิติสิ่งแวดล้อม ความต้องการการพัฒนาทั้งสิ้น 5 ประเด็น ดังนี้ 

  1. การกัดเซาะชายฝั่งมีความรุนแรงมากขึ้น [SDG14]
  2. ขยะของเสียทุกชนิดเพิ่มขึ้น [SDG11, SDG12]
  3. ความสมบูรณ์ของลุ่มน้ำ ภูเขา ป่าไม้ พื้นที่ชุ่มน้ำ แม่น้ำ ทะเลสาบ มีแนวโน้มลดลง [SDG6, SDG14, SDG15]
  4. การสูญเสียคุณภาพชีวิตจากปัญหาสิ่งแวดล้อม [SDG13, SDG15]
  5. ปัญหาการขาดแคลนน้ำ [SDG6]

กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน

มิติสังคม ความต้องการการพัฒนาทั้งสิ้น 6 ประเด็น ดังนี้ 

  1. สารเสพติดมีความรุนแรง [SDG3, SDG16]
  2. ความยากจนมีแนวโน้มสูงขึ้น [SDG1]
  3. การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่เด็กและเยาวชน [SDG4] 
  4. การจัดการศึกษาไม่ตอบโจทย์ตลาด แรงงานและไม่สร้างความสามารถในการแข่งขัน [SDG4, SDG8] 
  5. ปัญหาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ [SDG1, SDG10]
  6. ปัญหาธรรมาภิบาลของหน่วยงานภาครัฐมีแนวโน้มสูงขึ้น [SDG16] (มิติสันติภาพ)

มิติเศรษฐกิจ ความต้องการการพัฒนาทั้งสิ้น 4 ประเด็น ดังนี้

  1. ความเหลื่อมล้ำมีแนวโน้มสูงขึ้น [SDG8, SDG 10]
  2. การพึ่งพาการท่องเที่ยวจากต่างชาติ ทำให้การท่องเที่ยวขาดความยั่งยืน [SDG8, SDG12]
  3. การขยายตัวทางเศรษฐกิจของภาคใต้อยู่ในระดับต่ำ [SDG8]
  4. การเสียดุลการค้าชายแดนของภาคใต้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น [SDG8]

มิติสิ่งแวดล้อม ความต้องการการพัฒนาทั้งสิ้น 4 ประเด็น ดังนี้

  1. ขยะของเสียทุกชนิดเพิ่มขึ้น [SDG11, SDG12]
  2. การบริหารจัดการน้ำมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ [SDG6]  
  3. ความสมบูรณ์ของลุ่มน้ำ ภูเขา ป่าไม้ พื้นที่ชุ่มน้ำ แม่น้ำ ทะเลสาบ มีแนวโน้มลดลง [SDG6, SDG14, SDG15]
  4. การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และภัยพิบัติตามธรรมชาติ [SDG11, SDG13]

3. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

จากความต้องการพัฒนาของภาคใต้ข้างต้น คณะทำงานได้ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อนำไปสู่การริเริ่มดำเนินการของภาคใต้ไว้หลายประการ อาทิ

  1. การนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในภาคการท่องเที่ยวและบริการ เพื่อสร้างการเชื่อมต่อกับต่างชาติ
  2. ส่งเสริมกลุ่มชาวพื้นเมือง ด้านภูมิปัญญา เพื่อสร้างกระบวนการการเรียนรู้ในการอยู่ร่วมกัน เช่น กลุ่มชาวเล
  3. แผนการจัดการผังเมืองที่เหมาะสมกับภูมิศาสตร์และการท่องเที่ยว
  4. การจัดการน้ำที่ยั่งยืน ประชาชนเข้าถึงทรัพยากรอย่างทั่วถึง
  5. การจัดการขยะตลอดสายทางด้วยสำนึกรับผิดชอบ
  6. มีการอนุรักษ์ทรัพยากรที่สวยงาม ทะเล ป่าชื้น พื้นราบ การเกษตรให้อุดมสมบูรณ์
  7. พัฒนาความเป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยวสุขภาพเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว
  8. การสร้างแรงขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อให้เกิดความร่วมมือของเครือข่ายทางสังคม 6 ภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน ภาคการศึกษา สถาบันทางศาสนา ภาคสื่อมวลชน และภาคประชาสังคม 
  9. ควรมีนโยบายนำความหลากหลายทางธรณีวิทยา มากระตุ้นความร่วมมือด้านการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมได้
คณะนักวิจัยภาคใต้ : รศ.ดร.พรพันธุ์ เขมคุณาศัย , วีณา ลีลาประเสริฐศิลป์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ,  ผศ.ดร.กรุณา แดงสุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา และคณะ

● บทความที่เกี่ยวข้องกับโครงการ Area Need
Introduction of Area Need | เราจะรู้ได้อย่างไรว่างานวิจัยที่มีอยู่ตอบโจทย์ความต้องการพื้นที่
พื้นที่ต้องการอะไร? : ความต้องการและข้อเสนอเชิงนโยบายจากภาคเหนือ
Area Need พื้นที่ต้องการอะไร? | ความต้องการและข้อเสนอเชิงนโยบายจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พื้นที่ต้องการอะไร?: ความต้องการและข้อเสนอเชิงนโยบายจากภาคตะวันออก
พื้นที่ต้องการอะไร? : ความต้องการและข้อเสนอเชิงนโยบายจากภาคกลาง

ซีรีส์ Area Need จะสรุปข้อค้นพบสำคัญของโครงการปีที่ 1  และอัปเดตสิ่งที่เรากำลังทำต่อในปีที่ 2 ตั้งแต่เดือนธันวาคมนี้ ไปจนถึง เมษายน 2566

แพรวพรรณ ศิริเลิศ – เรียบเรียง
พิมพ์นารา อินต๊ะประเสริฐ – บรรณาธิการ
อติรุจ ดือเระ – พิสูจน์อักษร
วิจย์ณี เสนเเดง – ภาพประกอบ

Last Updated on มีนาคม 17, 2023

Author

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นและรายละเอียดของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับและใช้เพื่อการพัฒนาการสื่อสารองค์ความรู้ของ SDG Move เท่านั้น
* หมายถึง ข้อมูลที่จำเป็น