เมื่อน้ำแข็งในอาร์กติกละลายเปิดเส้นทางการเดินเรือขนส่งที่ถูกลง แต่ความเสียหายต่อระบบนิเวศยังอยู่เพราะภาวะโลกร้อน

งานวิจัยชิ้นใหม่โดยผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานและคมนาคมจากมหาวิทยาลัย UCL (University College London) แสดงให้เห็นประเด็นทางเลือกและการพิจารณาชั่งน้ำหนัก (trade-offs) ระหว่างต้นทุนทางเศรษฐกิจกับต้นทุนทางสิ่งแวดล้อม ในกรณีการละลายของน้ำแข็งในขั้วโลกเหนืออาร์กติกอย่างรวดเร็วอันเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน ได้เปิดโอกาสเส้นทางการเดินเรือขนส่งที่สั้นลงและทำให้มีต้นทุนถูกลง อย่างไรก็ดี หากมีการหันมาใช้เส้นทางนั้นมากขึ้นโดยคาดหวังกับภาวะโลกร้อนในฐานะโอกาส/ผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ นั่นก็อาจหมายความว่า เป็นสิ่งที่แย้งกันหรือไม่กับเป้าหมายตามข้อตกลงปารีสที่พยายามจะจำกัดอุณหภูมิโลกให้เพิ่มขึ้น 1.5 หรือ 2 องศาเซียลเซียส

เพราะในขณะที่เป็นโอกาสทางเศรษฐกิจ ความเสียหายจากการละลายของน้ำแข็งในอาร์กติกที่มีต่อสิ่งแวดล้อมนั้น ไม่ได้หายไป

การศึกษาดังกล่าวยังได้สำรวจการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจาก ‘เรือขนส่ง’ เหล่านั้น กับผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ผ่าน 2 ฉากทัศน์ที่จะนำไปสู่นโยบาย 2 แบบ ได้แก่

  • ฉากทัศน์แรก – เป็นการทำแบบที่เคยทำมา (business-as-usual) โดยที่ยังไม่มีนโยบายเกี่ยวกับ/คำนึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ
  • ฉากทัศน์ที่สอง – มีการดำเนินการภายใต้นโยบายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในอาร์กติก โดยที่เรือขนส่งต่าง ๆ พิจารณาใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน

จึงอาจกล่าวได้ว่าการดำเนินการตามฉากทัศน์แรกนั้น ไม่ได้เป็นการพิจารณาหรือคำนึงถึงต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมเท่ากับฉากทัศน์ที่สอง ที่ตระหนักถึงผลกระทบจากการเดินเรือขนส่งและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากเรือขนส่ง ที่สัมพันธ์กับการตักตวงประโยชน์จากภาวะโลกร้อน ที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมในอาร์กติก และมลพิษที่ก่อยังส่งผลต่อสุขภาพของคนด้วย

โดยสำหรับฉากทัศน์ที่สอง ทางทีมผู้ศึกษาจึงหวังให้มีการเพิ่มแรงจูงใจให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีและการใช้งานพลังงานสีเขียว (green fuels and technologies) โดยระบุว่า แอมโมเนียสีเขียว (green ammonia) ถือเป็นเชื้อเพลิงที่ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ กล่าวคือ ไม่มีการปล่อยก๊าซทั้งระหว่างกระบวนการผลิตและการใช้งานเรือขนส่ง ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานสีเขียวที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมและดีต่อการพาณิชย์

นอกจากนี้ ได้เน้นย้ำว่าการเลือกใช้เทคโนโลยีและนโยบายจะช่วยทั้งลดต้นทุนทางเศรษฐกิจและต้นทุนทางสิ่งแวดล้อม โดยรัฐมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปแทรกแซงเพื่อป้องกันไม่ให้การกระทำหนึ่งส่งผลกระทบต่อการกระทำหนึ่ง กล่าวในอีกแง่หนึ่งคือ สามารถเข้าไปแทรกแซงไม่ให้การลดต้นทุนทางเศรษฐกิจ (การเดินเรือขนส่ง) ไปเป็นตัวเร่งทำให้เกิดความเสื่อมโทรมต่อระบบนิเวศของอาร์กติกนั่นเอง

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG7 พลังงานสะอาด
-(7.a) ในส่วนของการสนับสนุนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและเทคโนโลยีพลังงานที่สะอาด ภายในปี 2573
#SDG8 การเติบโตทางเศรษฐกิจ
#SDG13 การรับมือและจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
#SDG15 อนุรักษ์และปกป้องระบบนิเวศ
-(15.5) ปฏิบัติการที่จำเป็นและเร่งด่วนเพื่อลดการเสื่อมโทรมของถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ หยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และภายในปี 2563 จะปกป้องและป้องกันการสูญพันธ์ของชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม

แหล่งที่มา:
Unsustainable Arctic shipping risks accelerating damage to the Arctic environment (UCL)

Last Updated on สิงหาคม 5, 2021

Author

  • Thiraphon Singlor

    Editor | อยากรู้ความคิดของคนต่างพื้นเพ ต่างสังคมและวัฒนธรรม สนใจความเป็นไปของโลก ความมั่นคง และการพัฒนา แล้วนำมาถ่ายทอดร้อยเรียงเรื่องราวเล่าให้ฟัง

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นและรายละเอียดของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับและใช้เพื่อการพัฒนาการสื่อสารองค์ความรู้ของ SDG Move เท่านั้น
* หมายถึง ข้อมูลที่จำเป็น