เปิดฉาก HLPF 2025 เร่งขับเคลื่อน SDGs ก่อนถึงเส้นตายปี 2030 ปีนี้ไทยร่วมเวทีโลกนำเสนอ VNR 

การประชุมเวทีหารือระดับสูงทางการเมืองว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (High-Level Political Forum on Sustainable Development: HLPF) ประจำปี พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) หรือ ‘HLPF 2025’ เริ่มต้นขึ้นแล้วตั้งแต่วันที่ 14 – 23 กรกฎาคม 2568 ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยมีคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (Economic and Social Council: ECOSOC) เป็นเจ้าภาพการจัดการประชุม

การประชุม HLPF เป็นเวทีกลางของสหประชาชาติสำหรับการติดตามผลและทบทวนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030 และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในระดับโลก ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกเดือนกรกฎาคมของทุกปีโดยการประชุม HLPF ปี 2025 ถือเป็นครั้งแรกหลังจากการประชุมสุดยอดแห่งอนาคต (Summit of the Future) ที่จัดขึ้นในปี 2024 โดยสนับสนุนการดำเนินการตามข้อตกลงเพื่ออนาคต (Pact for the Future) และปฏิญญาทางการเมือง (Political Declaration) ที่ได้รับการรับรองในการประชุม SDG Summit ปี 2023 ตลอดจนผลลัพธ์อื่น ๆ เพื่อเร่งรัดความคืบหน้าในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนภายในช่วง 5 ปีสุดท้ายก่อนถึงเส้นตายปี 2030 

HLPF 2025 ในปีนี้จัดขึ้นภายใต้ธีมหลัก 

“Advancing sustainable, inclusive, science- and evidence-based solutions for the 2030 Agenda for Sustainable Development and its Sustainable Development Goals for leaving no one behind” หรือ “ส่งเสริมแนวทางแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน ครอบคลุม โดยอิงหลักวิทยาศาสตร์และข้อมูลเชิงประจักษ์ เพื่อบรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2030 และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”

ในปีนี้มีการทบทวนเจาะลึกเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้งหมด 5 เป้าหมาย ได้แก่

  • SDG3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี 
  • SDG5 ความเท่าเทียมทางเพศ
  • SDG8 งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
  • SDG14 ทรัพยากรทางทะเล
  • SDG17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

สำหรับปีนี้ ในช่วงการนำเสนอรายงานการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับชาติโดยสมัครใจ (Voluntary National Reviews: VNR) จะมีผู้แทนจาก 37 ประเทศ ขึ้นกล่าวถ้อยแถลงอย่างเป็นทางการต่อที่ประชุม ได้แก่ แองโกลา บาฮามาส บังกลาเทศ เบลารุส ภูฏาน บัลแกเรีย สาธารณรัฐเช็ก สาธารณรัฐโดมินิกัน เอลซัลวาดอร์ เอสวาตินี เอธิโอเปีย ฟินแลนด์ แกมเบีย เยอรมนี กานา กัวเตมาลา อินเดีย อินโดนีเซียอิรัก อิสราเอล ญี่ปุ่น คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน เลโซโท มาเลเซีย มอลตา สหพันธรัฐไมโครนีเซีย ไนจีเรีย ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ กาตาร์ เซนต์ลูเซีย  เซเชลส์ แอฟริกาใต้ ซูดาน ซูรินาเม และประเทศไทย ซึ่งปีนี้เป็นครั้งที่ 3 ที่ไทยเข้าร่วมนำเสนอ VNR ต่อเวที HLPF ของสหประชาชาติหลังจากครั้งแรกในปี 2017 และครั้งล่าสุดปี 2021 ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้อง

ติตตามข่าวสาร HLPF 2025
ได้ที่ :  https://hlpf.un.org/home
ข้อมูล HLPF ทั้งหมดที่ : https://hlpf.un.org/2025 
และ VNR ที่ : https://hlpf.un.org/2025/vnrs
หรือติดตามช่องทางของ SDG Move ที่ : https://www.sdgmove.com/category/sdg-news/hlpf-vnr/

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ #SDG17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

แหล่งที่มา: HLPF 2025 Prepares to Advance Inclusive, Evidence-based Solutions for SDGs (IISD)

Author

  • Praewpan Sirilurt

    Knowledge Communication | มนุษย์ผู้เชื่อว่า “การสื่อสารสามารถเชื่อมต่อความรู้สึกของกันและกันได้” ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหน หรือเผชิญกับอะไรอยู่ การสื่อสารจะช่วยบอกเล่าเรื่องราวส่งไปให้แก่ผู้อื่นได้รับรู้

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นและรายละเอียดของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับและใช้เพื่อการพัฒนาการสื่อสารองค์ความรู้ของ SDG Move เท่านั้น
* หมายถึง ข้อมูลที่จำเป็น