ประกาศโจทย์วิจัย: การสำรวจสถานะของ SDGs ในบริบทประเทศไทย ระยะที่ 2 (เป้าหมายที่ 3, 6, 10, 11, 17)

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยประกาศรับข้อเสนอโครงการวิจัย “การสำรวจสถานะของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทประเทศไทยและทางเลือกมาตรการทางเศรษฐกิจ สังคม และกฎหมาย” ปีที่ 2 

การเสนอโครงการ

ผู้สนใจเสนอโครงการโปรดดำเนินการดังนี้

  1. โปรดอ่านรายละเอียดประกาศรับข้อเสนอโครงการวิจัยโดยละเอียดที่นี่
  2. โปรดดาวน์โหลดแบบฟอร์มในลิงค์นี้เพื่อใช้ในการเขียนและส่งข้อเสนอ

รายละเอียดโดยสังเขปเกี่ยวกับการประกาศรับข้อเสนอโครงการวิจัย

(หากสนใจโปรดดาวน์โหลดเอกสารข้อ 1 เพื่ออ่านรายละเอียดทั้งหมด)

วัตถุประสงค์ของการวิจัย มีดังนี้

1) เพื่อศึกษาสถานะปัจจุบันของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับเป้าประสงค์ (Target) ภายใต้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Goal) โดยอาศัยมุมมองเชิงวิชาการและหลักฐานเชิงประจักษ์ (ถ้ามี)

2) เพื่อจัดลำดับความสำคัญของเป้าประสงค์ (Target) ภายใต้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Goal) โดยพิจารณาความสำคัญและความพร้อมของประเทศไทยในการบรรลุเป้าหมายนั้น โดยอาศัยมุมมองเชิงวิชาการและหลักฐานเชิงประจักษ์ (ถ้ามี)

3) เพื่อสำรวจมาตรการทางเศรษฐกิจ สังคมและกฎหมาย และประสบการณ์จากต่างประเทศที่สามารถใช้เป็นทางเลือกของมาตรการในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศไทยได้

เป้าหมายที่เป็นหัวข้อในการศึกษา มีทั้งหมด 5 เป้าหมาย แบ่งออกเป็น 7 หัวข้อดังนี้

  • เป้าหมายที่ 3: สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย
  • เป้าหมายที่ 6: สร้างหลักประกันว่าจะมีการจัดให้มีน้ำและสุขอนามัยสำหรับทุกคนและมีการบริหารจัดการที่ยั่งยืน
  • เป้าหมายที่ 10: ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ
  • เป้าหมายที่ 11: ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความครอบคลุม ปลอดภัย มีภูมิต้านทานและยั่งยืน
  • เป้าหมายที่ 17(1): เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเน้นไปที่กลุ่มเป้าประสงค์ด้านการเงิน (Finance)และการค้า (Trade)ครอบคลุมเป้าประสงค์ที่ 1 17.2 17.3 17.4 17.5 17.10 17.11 และ 17.12
  • เป้าหมายที่ 17(2): เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเน้นไปที่กลุ่มเป้าประสงค์ด้านประเด็นเชิงระบบ (Systemic Issues) ครอบคลุมเป้าประสงค์ที่ 13 ถึง 17.17
  • เป้าหมายที่ 17(3): เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเน้นไปที่กลุ่มเป้าประสงค์ด้านเทคโนโลยี (Technology) และการสร้างศักยภาพ (Capacity Building) และการติดตามความก้าวหน้า (Data, Monitoring and Accountability) ครอบคลุมเป้าประสงค์ที่6 17.7, 17.8, 17.9 17.18 และ 17.19

*ขอบเขตของหัวข้อได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมจากในประกาศโจทย์เวอร์ชั่น pdf

แนวทางการวิจัย

มุ่งให้เป็นโครงการวิจัยเชิงนโยบาย (Policy Research) ที่มุ่งเน้นการสำรวจองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้วในวงวิชาการ รวมถึงประสบการณ์ทำงานที่มีอยู่ในภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเป็นกระบวนการวิจัยที่มุ่งเน้นการศึกษาร่วมกันระหว่างนักวิชาการ ตัวแทนหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง องค์กรประชาสังคม ภาคธุรกิจ ฯลฯ ในกระบวนการค้นหาสถานะปัจจุบันของแต่ละเป้าหมายและเป้าประสงค์ การประเมินความพร้อม และการสำรวจมาตรการ   ต่างๆ ในเบื้องต้นเพื่อการบรรลุเป้าหมาย

กรอบงบประมาณ: โครงการละไม่เกิน 300,000 บาท ใช้หลักเกณฑ์ด้านงบประมาณตามระเบียบของ สกว.

กำหนดรับข้อเสนอโครงการ

ผู้สนใจสามารถส่งเอกสารเชิงแนวคิด (Concept Paper) ตามกรอบโจทย์วิจัยข้างต้นได้ตั้งแต่บัดนี้ ถึง 15 ตุลาคม 2561 โดยส่งเอกสารมีที่

Email: sdgmove.th@gmail.com  และ

โครงการประสานงานการวิจัยเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

ศูนย์บริการวิชาการเศรษฐศาสตร์ (ERTC) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เลขที่ 2 ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200


ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่อีเมล์: sdgmove.th@gmail.comหรือ โทรศัพท์ 097-103-9102

Last Updated on มกราคม 4, 2022

Author

  • Chol Bunnag

    ผู้อำนวยการศูนย์ และนักเศรษฐศาสตร์ ที่หันมาสนใจเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านมุมของกลไกการบริหารจัดการ (Governance) และนโยบายสาธารณะ (Public Policy)

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นและรายละเอียดของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับและใช้เพื่อการพัฒนาการสื่อสารองค์ความรู้ของ SDG Move เท่านั้น
* หมายถึง ข้อมูลที่จำเป็น