SDG Vocab | 38 – Sendai Framework for Disaster Risk Reduction 2015-2030 – กรอบปฏิญญาเซนไดเรื่องการลดภาวะเสี่ยงต่อภัยพิบัติปี 2558 – 2573


“กรอบปฏิญญาเซนได” เป็นเครื่องมือในการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติของโลกที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากจากกรอบการดำเนินงานเฮียวโกะ (Hyogo Framework for Action 2005-2015) โดยมีประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติให้การรับรองกว่า 187 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย กรอบปฏิญญานี้เกิดขึ้นในการประชุมสหประชาชาติระดับโลกว่าด้วยการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 14-18 มีนาคม 2558 ณ เมืองเซนได ประเทศญี่ปุ่น จึงเป็นที่มาของการตั้งชื่อกรอบปฏิญญานี้

“กรอบปฏิญญาเซนได” มีเป้าหมายสำคัญคือป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงใหม่และลดความเสี่ยงที่มีอยู่ เพื่อป้องกันและทำให้ความล่อแหลมและเปราะบาง ต่อภัยพิบัติลดน้อยลงตลอดจนช ่วยให้มีการเตรียมความพร้อมสำหรับการเผชิญเหตุและฟื้นฟูที่ดียิ่งขึ้นอันนำไปสู ่ความสามารถที่จะรับมือและฟื้นคืนกลับได้ในระยะเวลาที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สามรถแบ่งการดำเนินงานออกเป็น
“ลด 4 อย่าง เพิ่ม 3 อย่าง”

โดยการลด 4 อย่าง คือ 1) ลดอัตราการเสียชีวิต 2) ลดจำนวนผู้ได้รับผลกระทบ 3) ลดความสูญเสียด้านเศรษฐกิจ และ
4) ลดความเสียหายต่อสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และบริการพื้นฐาน

ในขณะที่การเพิ่ม 3 อย่าง คือ 1) เพิ่มแผนยุทธศาสตร์ ลดความเสี่ยงระดับชาติ และระดับท้องถิ่น 2) เพิ่มการให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศ และ 3) เพิ่มการเข้าถึงข้อมูลการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าและข้อมูลความเสี่ยง

กรอบปฏิญญานี้มีระยะ 15 ปี เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2558 – 2573 และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) มีการระบุประเด็นดังกล่าวเอาไว้เป็นเป้าหมายสำคัญใน #SDG11

SDG 11.b เพิ่มจำนวนเมืองและกระบวนการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ที่เลือกใช้และดำเนินการตามนโยบาย และแผนที่บูรณาการเพื่อนำไปสู่ความครอบคลุม ความมีประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร การลดผลกระทบและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีภูมิต้านทางต่อภัยพิบัติ และให้พัฒนาและดำเนินการตามการบริหารความเสี่ยงจากภัยพิบัติแบบองค์รวมในทุกระดับให้เป็นไปตามกรอบการดำเนินงานเซนไดเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ พ.ศ.2558-2573″

. . .

SDG Vocab รู้จักคำศัพท์ รู้จัก SDGs

หมายเหตุ – คำอธิบายข้างต้นสรุปโดยทีมงาน เพื่อให้อ่านแล้วทำความเข้าใจง่ายเท่านั้น
ไม่แนะนำให้นำไปอ้างอิงในเชิงวิชาการ

แหล่งที่มา

https://www.disaster.go.th/upload/download/file_attach/58a6b30b90d96.pdf

https://web.facebook.com/MinisterPichet/posts/817267665063210/?_rdc=1&_rdr

Last Updated on มกราคม 3, 2022

Author

  • Pimnara Intaprasert

    Editor | คนทำงานข้ามสายที่ชอบมองภาพใหญ่และอยากเห็นงานพัฒนามองทุกศาสตร์อย่างเชื่อมโยง

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นและรายละเอียดของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับและใช้เพื่อการพัฒนาการสื่อสารองค์ความรู้ของ SDG Move เท่านั้น
* หมายถึง ข้อมูลที่จำเป็น