รายงาน ESCAP วิเคราะห์ ‘การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน’ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หลังยุคโควิด-19 พร้อมเสนอการตั้งรับปรับตัวในอนาคต

SDG Recommends ฉบับนี้ ขอเชิญชวนอ่าน รายงาน “The Future of Asian and Pacific Cities 2023” ในหัวข้อ ‘อนาคตของเมืองที่สามารถตั้งรับปรับตัวได้ในภาวะวิกฤต’ (Crisis Resilient Urban Futures)  เป็นการวิเคราะห์และประเมินการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกที่ครอบคลุม ในช่วงเวลาแห่งการหยุดชะงักครั้งใหญ่ (great disruption) และความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากหลายวิกฤตการณ์ระดับโลกที่เชื่อมโยงกัน ในยุคหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 

รายงานฉบับนี้ จัดทำโดยคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพื้นที่ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และด้านธรรมาภิบาลของเมือง พร้อมให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในภาพรวมเพื่อการฟื้นฟูเมืองอย่างยั่งยืนจากวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น

รายงานได้แบ่งเนื้อหาสาระสำคัญออกเป็น 5 บทหลัก ดังนี้

  • บทนำ (Introduction) เกริ่นถึงวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ที่โลกกำลังเผชิญ ซึ่งเปรียบเสมือนพายุครั้งใหญ่ที่กำลังทดสอบสอบขีดจำกัดของกระบวนทัศน์การพัฒนาในปัจจุบัน ขณะที่ประเทศและเมืองต่าง ๆ ในเอเชียและแปซิฟิก ก็พยายามในการฟื้นตัวจากวิกฤตด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 รวมถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • บทที่ 1 Urban and territorial planning for a resilient future เพื่อเสริมสร้างการวางแผนผังเมืองและอาณาเขต/ดินแดน ซึ่งบทนี้จะนำเสนอการวิเคราะห์ความเป็นพลวัตในปัจจุบันที่เมืองต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกต้องเผชิญในขณะที่เมืองต่าง ๆ เติบโตและพัฒนาในเชิงพื้นที่ โดยเฉพาะผลที่มาจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเมืองโดยไม่ได้วางแผนไว้ เน้นสาระไปที่เครือข่ายระบบที่เชื่อมต่อระหว่างกัน (interconnected network) ภายในเมืองและประโยชน์ของการวางผังเมืองและการใช้ที่ดิน พร้อมระบุเรื่องการจัดการความท้าทายชีวิตแบบเมือง การเคลื่อนย้าย (mobility)  การเข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียมกัน และที่อยู่อาศัยราคาไม่แพง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้คนที่อาศัยและทำงานในพื้นที่อยู่อาศัยแบบไม่เป็นทางการ (informal settlement)
  • บทที่ 2 Urban resilience at a crossroads: multilevel climate action –  บทนี้จะกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยคุกคามที่ส่งผลต่อศูนย์กลางเมืองในเอเชียและแปซิฟิก เนื่องจากภูมิภาคนี้ยังคงเสี่ยงต่อเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วและอันตรายที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อเมืองต่าง ๆ
  • บทที่ 3 Urban digital transformation: linking innovation to inclusion บทนี้จะเน้นไปที่การสร้างหลักประกันว่าทุกคนจะเข้าถึงและได้รับการกระจายเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างครอบคลุมและเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีโครงสร้างพื้นฐานและทรัพยากรจำกัด ซึ่งการร่วมมือกับเอกชนถือเป็นโอกาสที่ช่วยในการขับเคลื่อนนวัตกรรม การระดมการลงทุน และการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการแก้ไขปัญหา (digital solution) ไปใช้อย่างเป็นวงกว้าง
  • บทที่ 4 Urban finance during turbulent times บทนี้จะเน้นย้ำความจำเป็นของทรัพยากรทางการเงินที่เพียงพอในการลงทุนในด้านที่สำคัญ เช่นโครงสร้างพื้นฐาน ที่อยู่อาศัย การดูแลสุขภาพ การศึกษา และบริการสังคม ซึ่งทั้งหมดนี้มีความสำคัญในการบรรลุการพัฒนาเมืองที่ยั่งยืนและครอบคลุม

นอกจากนี้ รายงานฉบับนี้ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นของความพยายามร่วมกันในระดับท้องถิ่น เพื่อสร้างอนาคตของเมืองให้พร้อมตั้งรับปรับตัวต่อนานาวิกฤตที่เกิดขึ้น พร้อมสร้างร่วมมือทั้งต่อภาครัฐ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และภูมิภาค เพื่อจัดการกับความท้าทายที่ต้องเผชิญในอนาคต

● อ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
จะจัดการน้ำให้ยั่งยืน ต้องลงมือทำอย่างเป็นองค์รวมร่วมกับการปรับตัวต่อ Climate Change 
Brookings Report 2022 – ผู้นำท้องถิ่นใช้ SDGs ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างเมือง 
แนวคิด “Sponge City – เมืองฟองน้ำ” รับมือน้ำท่วม ด้วยการพัฒนาเมืองให้ ‘คนและน้ำอยู่ร่วมกัน’ 
พื้นที่สีเขียว หัวใจสำคัญของเมืองยั่งยืน 

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG11 เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน
– (11.1) สร้างหลักประกันว่าทุกคนจะเข้าถึงที่อยู่อาศัยและการบริการพื้นฐานที่พอเพียงให้ปลอดภัย และในราคาที่สามารถจ่ายได้ และยกระดับชุมชนแออัด ภายในปี 2573
– (11.3) ยกระดับการพัฒนาเมืองและขีดความสามารถให้ครอบคลุมและยั่งยืน เพื่อการวางแผนและการบริหารจัดการการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์อย่างมีส่วนร่วม บูรณาการและยั่งยืนในทุกประเทศ ภายในปี 2573
– (11.6) ลดผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมต่อหัวประชากรในเขตเมือง รวมถึงการให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อการจัดการคุณภาพอากาศ การจัดการของเสียของเทศบาล และการจัดการของเสียอื่น ๆ ภายในปี 2573|
– (11.7) จัดให้มีการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะสีเขียว ที่ปลอดภัยครอบคลุมและเข้าถึงได้ โดยถ้วนหน้า โดยเฉพาะผู้หญิง เด็ก คนชรา และผู้มีความบกพร่องทางร่างกาย ภายในปี 2573
– (11.a) สนับสนุนการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมระหว่างพื้นที่เมือง รอบเมือง และชนบท โดยการเสริมความแข็งแกร่งของการวางแผนการพัฒนาในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ
#SDG13 การรับมือกับการเปลี่ยนเเปลงสภาพภูมิอากาศ
– (13.2) บูรณาการมาตรการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการวางแผนระดับชาติ
#SDG17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
– (17.14) ยกระดับความสอดคล้องเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

แหล่งที่มา: The Future of Asian and Pacific Cities 2023: Crisis Resilient Urban Futures – UN ESCAP

ผลงานนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้โครงการกลยุทธไตรพลังในการดำเนินการเพื่อสุขภาวะและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย

Author

  • Praewpan Sirilurt

    Knowledge Communication | มนุษย์ผู้เชื่อว่า “การสื่อสารสามารถเชื่อมต่อความรู้สึกของกันและกันได้” ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหน หรือเผชิญกับอะไรอยู่ การสื่อสารจะช่วยบอกเล่าเรื่องราวส่งไปให้แก่ผู้อื่นได้รับรู้

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นและรายละเอียดของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับและใช้เพื่อการพัฒนาการสื่อสารองค์ความรู้ของ SDG Move เท่านั้น
* หมายถึง ข้อมูลที่จำเป็น