ปฏิรูประบบขนส่งมวลชนหลังยุคโควิด-19 ไปสู่ความยั่งยืน เพื่อสุขภาพมนุษย์และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

บทสรุปเชิงนโยบาย “The Road to Sustainable Transport” โดย Leila Mead ที่ปรึกษากลุ่มธนาคารโลก (World Bank Group) เสนอข้อเสนอแนะในการปรับปรุงระบบขนส่งสินค้าและระบบขนส่งมวลชนหลังยุคโควิด-19 ที่จะสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อระดับการปล่อยมลพิษและคุณภาพอากาศ ที่เป็นผลดีต่อทั้งสุขภาพมนุษย์และสุขภาพโลก

ระบบการขนส่งในปัจจุบันมีสัดส่วนใช้น้ำมันถึง 64% ของการใช้น้ำมันทั่วโลก มีสัดส่วนการใช้พลังงานอีก 27% และปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มาจากกระบวนการเผาไม้เชื้อเพลิงเป็นสัดส่วน 23% ของปริมาณรวมทั่วโลก การปฏิรูปแนวทางของรัฐบาลในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสามารถช่วยแก้ปัญหามลพิษจากรถยนต์ การเสียชีวิตบนท้องถนน และความท้าทายทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมมากมายได้

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์โควิด-19 หากมีความสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาคาร์บอนต่ำ (low-carbon development) จะสามารถพลิกโฉมระบบขนส่งแบบเดิมที่สร้างผลกระทบมากมายได้ ดังมีตัวอย่างจากทั่วโลก ดังนี้

  • ในยุโรป หลายเมืองมีการปิดถนนแล้วเปลี่ยนเป็นพื้นที่สำหรับกิจกรรมต่างๆ ให้คนเดินเท้าแทน มีการขยายช่องทางจักรยาน โดยนับตั้งแต่ระยะเริ่มต้นการฟื้นตัวจากโควิด เมืองต่างๆ ในยุโรปและรัฐบาลระดับประเทศได้จัดสรรงบประมาณอย่างน้อย 823 ล้านยูโรให้กับ active mobility หรือ การเดินทางที่ใช้แรงกายเป็นหลัก และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการใช้จักรยานระยะทางกว่า 1,200 กม.
  • เมืองโบโกตา ประเทศโคลอมเบีย ได้สร้างโครงข่ายเส้นทางจักรยานฉุกเฉิน ความยาว 84 กม. สำหรับผู้ปฏิบัติงานในสายงานที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตของคน เช่น บุคลากรทางการแพทย์ และ ตำรวจ
  • กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ได้เริ่มพัฒนาโครงข่ายเส้นทางจักรยานระยะทาง 500 กม.

Leila Mead เสนอแนะอีกว่า รัฐบาลควรให้เงินอุดหนุนระบบขนส่งที่ยั่งยืนแทนระบบขนส่งที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล

สามารถติดตามข้อมูลแบบเรียลไทม์ของการใช้งบประมาณของรัฐที่ได้รับอนุมัติและมาตรการด้านนโยบายที่กำหนดเป้าหมายการผลิตและการใช้พลังงานกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ได้บนแพลตฟอร์ม Energy Policy Tracker

The brief is part of the ‘Still Only One Earth’ series from IISD, being published in the lead-up to the 50th anniversary of the Stockholm Conference on the Human Environment.

เอกสารนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดบทสรุปนโยบาย ‘Still Only One Earth’ จาก International Institute for Sustainable Development (IISD) ซึ่งตีพิมพ์ในโอกาสครบรอบ 50 ปีของการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ที่สตอกโฮล์ม เมื่อปี 1972

ระบบขนส่งมวลชนที่ยั่งยืน เกี่ยวข้องกับ SDGs ในเป้าหมาย ..
- SDG3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ในประเด็น ลดการตายและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน (3.6) ลดการตายและป่วยจากสารเคมีอันตรายและจากการปนเปื้อนและมลพิษต่าง ๆ (3.9)
- SDG7 พลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้ ในประเด็น เพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทน (Renewable Energy) (7.2) 
- SDG11 เมืองและชุมชนยั่งยืน ในประเด็น การเข้าถึงคมนาคมขนส่งที่ยั่งยืน ปลอดภัย จ่ายได้ และคำนึงคนเปราะบางกลุ่มต่าง ๆ ด้วย (11.2)
- SDG13 ต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในประเด็น ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (13.2)

ที่มา : IISD

Last Updated on มกราคม 12, 2022

Author

  • Natetida Bunnag

    Social Media Manager - ตัวแทน 'คนธรรมดา' ในชุมชนนักวิชาการ อ่าน แปล และสื่อสารเรื่องความยั่งยืน

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นและรายละเอียดของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับและใช้เพื่อการพัฒนาการสื่อสารองค์ความรู้ของ SDG Move เท่านั้น
* หมายถึง ข้อมูลที่จำเป็น