คนที่ต้องแบกรับภาระหนี้ที่ไม่มีหลักประกันในช่วงวัยผู้ใหญ่ มีแนวโน้มเจ็บป่วยมากกว่าเมื่อเริ่มแก่ตัว

งานวิจัย “Trajectories of unsecured debt and health at midlife” พบว่า ความเครียดจากการแบกรับภาระเป็นหนี้ที่ไม่มีหลักประกันตลอดช่วงวัยผู้ใหญ่ เชื่อมโยงกับการมีสภาวะสุขภาพร่างกายที่ย่ำแย่ เช่น การเกิดความเจ็บปวดที่รบกวนกิจกรรมประจำวันในช่วงชีวิตต่อมา

Adrianne Frech นักสังคมวิทยาทางการแพทย์และรองศาสตราจารย์จาก University of Missouri School of Health Professions ได้วิเคราะห์ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแรงงานแห่งสหรัฐอเมริกาเพื่อศึกษาสุขภาพทางการเงินของ ‘คนรุ่น Baby Boomers’ (เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2489 ถึง 2507) เกือบ 8,000 คน ในช่วงที่มีอายุ 28 – 40 ปี และเก็บข้อมูลสุขภาพร่างกายของพวกเขาเมื่ออายุครบ 50 ปี

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ที่แบกรับภาระหนี้สินที่เป็นหนี้สูญ หรือมีการะสะสมภาระหนี้ประเภทแบบไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เช่น หนี้บัตรเครดิต สินเชื้อเงินสดล่วงหน้าในช่วงวัยทำงาน มีแนวโน้มที่จะมีสุขภาพทางกายที่แย่กว่าผู้ที่มีหนี้เพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยเมื่อเข้าสู่วัยกลางคน

โดยผู้ที่มีภาระหนี้ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องถึง 76% จะต้องเผชิญกับความเจ็บปวดทางร่างกายที่รบกวนชีวิตประจำวันมากกว่าเมื่ออายุ 50 ปี และถึงแม้ว่าจะมีความสามารถในการชำระหนี้ได้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาก็ยังคงมีแนวโน้มที่จะมีความเจ็บปวดตามร่างกายมากกว่าผู้ที่ไม่มีภาระหนี้ไม่มีหลักประกันถึง 50%

จากการเก็บข้อมูลสุขภาพทางการเงิน พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงของภาระหนี้ที่ไม่มีหลักประกันแตกต่างกันไปตามช่วงเวลา โดยบางคนมีภาระหนี้สูงอย่างต่อเนื่อง มีภาระหนี้ต่ำอย่างตัว หรือผันผวนไปตามช่วงอายุ แต่การเลือกกู้สินเชื่อที่ไม่มีหลักประกันนี้มักเกิดขึ้นในสถานการณ์มีความเครียดหรือขับขัน เช่น การเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรือ มีรายได้น้อยคงที่จนไม่เพียงพอต่อค่าครองชีพ ความต้องการพื้นฐาน เช่น อาหารและที่อยู่อาศัย ที่เพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ เป็นต้น

นักวิจัยอธิบายว่า การหยุดชะงักการขึ้นค่าแรง (Stagnant wages) อาจทำให้คนต้องเลือกกู้หนี้แบบไม่มีหลักประกันซึ่งมีดอกเบี้ยสูง และความเครียดที่มาจากการหนี้ก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพกาย ที่อาจจำกัดความสามารถในการทำงานและชำระหนี้ไม่อย่างเต็มที่ จึงทำให้วัฏจักรการก่อหนี้ดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ ดังนั้น หากพิจารณาตามหลักการแล้ว วิธีป้องกันไม่เกิดวงจรการก่อหนี้ที่ไม่มีหลักประกัน ควรเริ่มต้นด้วยการมีค่าแรงที่มากพอสำหรับตอบสนองความต้องการพื้นฐานของชีวิตได้

ประเด็นดังกล่าว เกี่ยวข้องกับ
#SDG1 ขจัดความยากจน
- (1.4) ภายในปี 2573 สร้างหลักประกันว่าชายและหญิงทุกคน โดยเฉพาะที่ยากจนและเปราะบาง มีสิทธิเท่าเทียมกันในการเข้าถึงทรัพยากรทางเศรษฐกิจ รวมถึงการเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐาน
#SDG3 การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

- (3.4) ลดการตายก่อนวัยอันควรจากโรคไม่ติดต่อให้ลดลงหนึ่งในสาม
#SDG8 งานที่ดีและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

- (8.1) ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจต่อหัวประชากรมีความยั่งยืนตามบริบทของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของประเทศพัฒนาน้อยที่สุดมีการขยายตัวอย่างน้อยร้อยละ 7 ต่อปี
- (8.5) บรรลุการจ้างงานเต็มที่และมีผลิตภาพ และการมีงานที่มีคุณค่าสำหรับหญิงและชายทุกคน รวมถึงเยาวชนและผู้มีภาวะทุพพลภาพ และให้มีการจ่ายที่เท่าเทียมสำหรับงานที่มีคุณค่าเท่าเทียมกัน ภายในปี 2573
#SDG10 ลดความเหลื่อมล้ำภายในและระหว่างประเทศ
- (10.1) บรรลุการเติบโตอย่างก้าวหน้าและยั่งยืนของรายได้ของประชากรที่อยู่ในกลุ่มรายได้ต่ำกว่า 40% ให้มีอัตราสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ภายในปี 2573

ที่มา : Carrying ‘bad’ debt may lead to worse physical health (Futurity)

Last Updated on กันยายน 29, 2021

Author

  • Natetida Bunnag

    Social Media Manager - ตัวแทน 'คนธรรมดา' ในชุมชนนักวิชาการ อ่าน แปล และสื่อสารเรื่องความยั่งยืน

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นและรายละเอียดของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับและใช้เพื่อการพัฒนาการสื่อสารองค์ความรู้ของ SDG Move เท่านั้น
* หมายถึง ข้อมูลที่จำเป็น