รัฐบาลไทยกำลังเดินหน้าผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ พ.ศ. …. เพื่อให้ความคุ้มครองแก่แรงงานอิสระกว่า 20 ล้านคน ที่ปัจจุบันยังไม่ได้รับการดูแลจากระบบสวัสดิการสังคมเพราะไม่มีสถานะเป็นลูกจ้างตามกฎหมายแรงงาน เช่น เกษตรกร ฟรีแลนซ์ พ่อค้าแม่ค้า ศิลปิน นักแสดง ยูทูบเบอร์ และไรเดอร์
ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มีเป้าหมายหลักคือการให้แรงงานนอกระบบเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงาน มีความปลอดภัยในการทำงาน มีหลักประกันทางสังคม มีสิทธิในการรวมกลุ่มจัดตั้งองค์กรเพื่อสร้างอำนาจต่อรองให้เกิดความเป็นธรรมในการทำงาน นอกจากนี้ ยังมีการวางแผนที่จะจัดตั้งระบบทะเบียนเพื่อรวบรวมข้อมูลของแรงงานนอกระบบ ซึ่งจะช่วยให้รัฐบาลสามารถออกนโยบายและมาตรการช่วยเหลือที่ตรงจุดมากขึ้น
ตามร่างพระราชบัญญัตินี้ แรงงานนอกระบบจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ หมายถึง ผู้ประกอบอาชีพซึ่งไม่มีนายจ้าง เช่น เกษตรกร ผู้ค้า และผู้ประกอบวิชาชีพอิสระต่าง ๆ และผู้ประกอบอาชีพกึ่งอิสระ เช่น ไรเดอร์ หรือผู้ที่ทำงานผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล
นอกจากนี้ เพื่อให้แรงงานนอกระบบทุกคนได้รับทราบถึงสิทธิประโยชน์ที่ตนเองจะได้รับ รัฐบาลได้เปิดตัวโครงการ “ครู ข.” ซึ่งเป็นโครงการฝึกอบรมผู้นำชุมชนเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับกฎหมายฉบับนี้ และกระตุ้นให้แรงงานนอกระบบเข้ามาร่วมโครงการอีกทาง
● อ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
– ILO ชี้นโยบายคุ้มครองทางสังคมไทย ยังไม่ครอบคลุมถึง แรงงานทำ ‘งานบ้าน’
– (ร่าง) ระเบียบปรับเงื่อนไขทำงานของบริษัทแพลตฟอร์ม จะทำให้ gig workers ใน EU เป็น “พนักงาน” ที่มีสิทธิแรงงาน
– พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ ประกาศเพิ่มบทบัญญัติ มาตรา 23/1 สนับสนุนสิทธิลูกจ้างในการทำงาน Work from Home
– ILO รายงานสภาพการทำงานภาคเกษตรไทย พร้อมชี้แรงงานข้ามชาติ ยังเผชิญการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม
ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG1 ขจัดความยากจน
– (1.3) ดำเนินการให้ทุกคนมีระบบและมาตรการการคุ้มครองทางสังคมระดับประเทศที่เหมาะสม ซึ่งรวมถึงฐาน การคุ้มครองทางสังคม (floors) โดยให้ครอบคลุมกลุ่มประชากรยากจน และกลุ่มเปราะบางให้มากพอ ภายในปี พ.ศ. 2573
#SDG8 งานที่ดี และการเติบโตทางเศรษฐกิจ
– (8.8) ปกป้องสิทธิแรงงานและส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและมั่นคงสำหรับผู้ทำงานทุกคน รวมถึงผู้ทำงานต่างด้าว โดยเฉพาะหญิงต่างด้าว และผู้ที่ทำงานเสี่ยงอันตราย
แหล่งที่มา:
รัฐดันกฎหมายขึ้นทะเบียน ‘อินฟลู-ยูทูปเบอร์’ ช่วยเข้าถึงสิทธิพื้นฐาน (posttoday)
Thai YouTubers among those set for social security coverage (Bangkok Post)
กฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครองแรงงานอิสระในประเทศไทย (วุฒิสภา)
Last Updated on สิงหาคม 14, 2024