วันที่ 8 กรกฎาคม 2568 องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development: OECD) เผยแพร่ ‘ข้อมูลสถิติด้านสุขภาพ ฉบับปี 2568’ (Health Statistics) ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลที่มีความครอบคลุมสำหรับเปรียบเทียบระหว่างประเทศในเรื่องสุขภาพและระบบสุขภาพของประเทศสมาชิก OECD และประเทศหุ้นส่วน
สาระสำคัญของชุดข้อมูลล่าสุดนี้ ประกอบด้วย
- รายจ่ายด้านสุขภาพและการจัดหาเงินทุน (health expenditure and financing) ประกอบด้วยรายได้ของแผนการเงินด้านการดูแลสุขภาพ ต้นทุนปัจจัยการผลิตสำหรับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ และการสะสมทุนถาวรเบื้องต้นในระบบบริการสุขภาพ รวมถึงตัวชี้วัดอื่น ๆ
- ข้อมูลสถานะสุขภาพ (health status) รวมถึงชุดตัวชี้วัดอัตราการเสียชีวิตและการเจ็บป่วย
- ปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ (risk factors for health) โดยมีตัวชี้วัดการบริโภคยาสูบ การใช้ผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้า การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การจัดหาและการบริโภคอาหาร และประชากรที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วน
- กำลังคนด้านการดูแลสุขภาพ (healthcare human resources) รวมถึงตัวชี้วัดด้านสุขภาพโดยรวมและการจ้างงานทางสังคม แพทย์ พยาบาลผดุงครรภ์ พยาบาล บุคลากรผู้ให้การดูแล ทันตแพทย์ เภสัชกร นักกายภาพบำบัด การจ้างงานในโรงพยาบาล ผู้สำเร็จการศึกษา และค่าตอบแทนของผู้ประกอบวิชาชีพด้านการดูแลสุขภาพ
- ทรัพยากรด้านผู้ให้บริการดูแลสุขภาพ (healthcare provider resources) พร้อมตัวชี้วัดเกี่ยวกับโรงพยาบาล เตียงโรงพยาบาล และเทคโนโลยีทางการแพทย์
- การใช้บริการด้านการดูแลสุขภาพ (healthcare utilization) ครอบคลุมถึงตัวชี้วัดต่าง ๆ เช่น การให้คำปรึกษา การสร้างภูมิคุ้มกัน การสำรวจคัดกรองและข้อมูลโปรแกรม ข้อมูลรวมของโรงพยาบาล การตรวจวินิจฉัย วิธีปฏิบัติในการผ่าตัด และระยะเวลาการรอสำหรับการผ่าตัดแบบรอได้
ข้อมูลข้างต้นนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ผู้กำหนดนโยบาย นักวิจัย นักข่าว และพลเมือง ในการเปรียบเทียบและปรับใช้ระบบสุขภาพที่หลากหลายของประเทศต่าง ๆ เพื่อยกระดับหรือพัฒนาระบบสุขภาพในประเทศของตน
● อ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
– ‘สงครามคร่าชีวิตพลเรือนเพิ่มขึ้น 17,000 ราย – เด็กตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์เพิ่มกว่า 35%’ ชวนสำรวจผ่าน ‘รายงาน SDG 16’ ฉบับใหม่ของ UN
– เด็กหลักล้านคนในโลกตกเป็นทาสสมัยใหม่ โดยรูปแบบหนึ่งคือการค้ามนุษย์ที่มีสถานสงเคราะห์เด็กบังหน้า
– ผู้อพยพเด็กที่เดินทางโดยลำพังอย่างน้อย 18,000 คน หายตัวไปในยุโรปตั้งแต่ปี 2018 เสี่ยงตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์
– เลขาธิการ UN แถลงประเด็น SDGs ที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษในปี 2566 พร้อมเรียกร้องทั่วโลกยุติการก่อสงครามทำลายล้างธรรมชาติ
– การลักพาตัวเด็กจากเหตุสงครามเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ชวนอ่าน Guidance Note on Abduction – บันทึกแนวทางป้องกันเเละยุติการลักพาตัวเด็กฉบับใหม่ของ UN
– ปัญหาฝุ่น..แก้ไม่ได้..ถ้ามองไม่เห็น: เมื่อระบบสุขภาพเป็นแค่ปลายน้ำของปัญหา
– 53 รัฐสมาชิกในที่ประชุม WHO ประจำยุโรป มุ่งมั่นเตรียมระบบสุขภาพในปัจจุบัน-อนาคตพร้อมรับมือกับความท้าทายทางสุขภาพ
– การย้ายถิ่นของบุคลากรทางการแพทย์ในประเทศกำลังพัฒนา เพิ่มความเสี่ยงต่อระบบสุขภาพที่เปราะบางให้รุนแรงขึ้นอีก
ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
– (3.5) เสริมสร้างการป้องกันและการรักษาการใช้สารในทางที่ผิด ซึ่งรวมถึงการใช้ยาเสพติดในทางที่ผิดและการใช้แอลกอฮอล์ในทางที่เป็นอันตราย
– (3.8) บรรลุการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมถึงการป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน การเข้าถึงการบริการสาธารณสุขจำเป็นที่มีคุณภาพ และเข้าถึงยาและวัคซีนจำเป็นที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ และมีราคาที่สามารถซื้อหาได้
– (3.a) เพิ่มความเข้มแข็งในการดำเนินงานตามกรอบอนุสัญญาขององค์การอนามัยโลกว่าด้วยการควบคุมยาสูบในทุกประเทศตามความเหมาะสม
– (3.c) เพิ่มการใช้เงินสนับสนุนด้านสุขภาพ และการสรรหา การพัฒนา การฝึกฝน และการเก็บรักษากำลังคนด้านสุขภาพในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศพัฒนาน้อยที่สุดและรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก
– (3.d) เสริมขีดความสามารถของทุกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศกำลังพัฒนา ในด้านการแจ้งเตือนล่วงหน้า การลดความเสี่ยง และการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพทั้งในระดับประเทศและระดับโลก
#SDG17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
– (17.17) สนับสนุนและส่งเสริมหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาครัฐ-ภาคเอกชน และประชาสังคม สร้างบนประสบการณ์และกลยุทธ์ด้านทรัพยากรของหุ้นส่วน
เเหล่งที่มา : OECD Issues 2025 Update of Health Statistics (IISD)
Last Updated on กรกฎาคม 18, 2025