รายงานฉบับใหม่ของ UNEP ย้ำลดคาร์บอนเป็นศูนย์ต้องพึ่งภาคการก่อสร้าง พร้อมชี้เกณฑ์ BEC ของหลายประเทศยังล้าสมัย

วันที่ 7 มีนาคม 2567 ซึ่งเป็นวันเปิดการประชุม “Buildings and Climate Global Forum” ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UN Environment Programme: UNEP) และ Global Alliance for Buildings and Construction (GlobalABC) เผยแพร่รายงาน “The 2024 Global Status Report for Buildings and Construction” ซึ่งจัดทำขึ้นภายใต้ธีม “Beyond Foundations: Mainstreaming Sustainable Solutions to Cut Emissions from the Buildings Sector” หรือ “มากกว่าการก่อสร้าง : แนวทางที่ยั่งยืนสำหรับลดคาร์บอนจากอุตสาหกรรมก่อสร้าง” 

รายงานดังกล่าวชี้ว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคการก่อสร้างนั้นคิดเป็น 1 ใน 5 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก โดยเฉพาะปี 2565 การก่อสร้างอาคารต้องการใช้พลังงานโลกกว่า 34% และมีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์กว่า 37% แม้ว่าความเข้มข้นของพลังงานจะลดลง 3.5% แต่ความต้องการพลังงานโดยรวมและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก็เพิ่มขึ้น 1% จากปี 2564

นอกจากนี้ รายงานยังเน้นย้ำว่าแม้มีความก้าวหน้าเชิงนโยบายบรรลุผลสำเร็จด้วยแผนการปฏิบัติการต่อสภาพภูมิอากาศที่มีความครอบคลุมไปถึงการก่อสร้าง ในการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contributions : NDCs) ซึ่งเป็นกลไกสำคัญเพื่อบรรลุความตกลงปารีส (Paris Agreement) ในความพยายามกำจัดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมมนุษย์ อย่างไรก็ดี มีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่มีความสอดคล้องกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ และเกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานขั้นต่ำในอาคารที่จะขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลง (Building Energy Code: BEC) ก็ยังมีความล้าสมัย 

สาระสำคัญอื่น ๆ จากรายงานข้างต้น เช่น

  • การพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานขั้นต่ำในอาคารที่จะขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงควรทำไปควบคู่กันกับอาคารลดคาร์บอน (Zero-Emissions Building) 
  • การเพิ่มอัตราและผลกระทบของการปรับปรุงอาคารที่มีอยู่เพื่อประสิทธิภาพการใช้พลังงานจากปัจจุบัน 1% ต่อปีเป็น 5-10% ต่อปี
  • ปรับใช้มาตรการการออกแบบอาคารที่สอดรับกับสิ่งแวดล้อมอาคารใหม่ทั้งหมด
  • สร้างแรงจูงใจทางการเงินเพื่อการลงทุนที่มากขึ้นในการลดการปล่อยคาร์บอนในภาคส่วนอาคารและการก่อสร้าง

ขณะที่ Inger Andersen ระบุว่า “ไม่มีแนวทางที่น่าวางใจได้ในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในภาคการก่อสร้าง” และเปิดเผยข้อเท็จจริงว่าอาคารครึ่งหนึ่งที่จะมีขึ้นภายในปี 2593 จะยังไม่ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็น “โอกาสสำหรับภาคส่วนนี้ในการคิดจิตนาการใหม่ถึงอาคารแห่งอนาคต”

● อ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
EU เตรียมเสนอข้อกำหนดให้ประเทศสมาชิกปรับปรุงระบบพลังงานในอาคารให้ปล่อยคาร์บอนน้อยลงภายใน 10 ปีนี้
โควิด-19 ทำให้ความต้องการพัฒนาอาคารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและประหยัดพลังงานเพิ่มขึ้น
สีขาวอัลตร้าไวท์ สีขาวชนิดพิเศษที่สามารถสะท้อนแสดงอาทิตย์ และลดความร้อนในอาคารได้
รายงาน ‘ลดคาร์บอนเป็นศูนย์’ จากภาคการขนส่งในเอเชีย ชี้หลักสำคัญ 6 ข้อ สู่พลังงานสะอาดในอนาคต
สิงคโปร์ประกาศขึ้น ‘ภาษีคาร์บอน’ 5 เท่า ภายในปี 2024

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG7 พลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้ 
– (7.2) เพิ่มสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนในสัดส่วนพลังงานของโลก (global energy mix) ภายในปี พ.ศ. 2573
– (7.3) เพิ่มอัตราการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานของโลกให้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ภายในปี พ.ศ. 2573
– (7.a) ยกระดับความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงการวิจัย และเทคโนโลยีพลังงานที่สะอาด โดยรวมถึงพลังงานหมุนเวียน ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และเทคโนโลยีเชื้อเพลิงฟอสซิลชั้นสูงและสะอาด และสนับสนุนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและเทคโนโลยีพลังงานที่สะอาด ภายในปี พ.ศ. 2573
#SDG9 โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม และอุตสาหกรรม
– (9.1) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ยั่งยืนและมีความต้านทานและยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานของภูมิภาคและที่ข้ามเขตแดน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์
#SDG13 การรับมือกับการเปลี่ยนเเปลงสภาพภูมิอากาศ
– (13.2) บูรณาการมาตรการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการวางแผนระดับชาติ
– (13.3) พัฒนาการศึกษา การสร้างความตระหนักรู้ และขีดความสามารถของมนุษย์และของสถาบันในเรื่องการลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปรับตัว การลดผลกระทบ และการเตือนภัยล่วงหน้า
#SDG17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
– (17.17) สนับสนุนและส่งเสริมหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาครัฐ-ภาคเอกชน และประชาสังคม สร้างบนประสบการณ์และกลยุทธ์ด้านทรัพยากรของหุ้นส่วน

แหล่งที่มา : Global Report Calls for Accelerated Decarbonization of Buildings Sector (IISD)

ผลงานนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้โครงการกลยุทธไตรพลังในการดำเนินการเพื่อสุขภาวะและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย

Last Updated on มีนาคม 15, 2024

Author

  • Atirut Duereh

    Knowledge Communication | สนใจประเด็นสันติภาพ ความมั่นคงมนุษย์ เเละสิ่งเเวดล้อมทางทะเล ใช้ชีวิตโดยเชื่อในสมดุลมากกว่าความสมบูรณ์เเบบ

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นและรายละเอียดของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับและใช้เพื่อการพัฒนาการสื่อสารองค์ความรู้ของ SDG Move เท่านั้น
* หมายถึง ข้อมูลที่จำเป็น