เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา องค์การสหประชาชาติได้เผยแพร่รายงาน ‘The State of the World’s Indigenous Peoples’ ว่าด้วยความสำคัญและความท้าทายของชนพื้นเมืองต่อความหลากหลายทางชีวภาพและการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยรวบรวมข้อมูลจากหลากหลายภาคส่วน ได้แก่ ผู้นำชนพื้นเมือง นักวิจัย และองค์การอนามัยโลก
สาระสำคัญจากรายงานข้างต้น เช่น
- ชนพื้นเมืองที่มีอยู่ราว 6% ของประชากรโลก มีส่วนในการปกป้องคุ้มครองความหลากทางชีวภาพของโลกกว่า 80% แต่กลับได้รับความช่วยเหลือด้านการตั้งรับปรับตัวและแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศน้อยกว่า 1%
- ท่ามกลางความทะเยอทะยานของโลกในการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานหมุนเวียน แต่ชนพื้นเมืองหลายกลุ่มกลับไม่มีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทาง และต้องแบกรับผลกระทบหรือเสียประโยชน์จากการเปลี่ยนผ่านที่ถูกกำหนดขึ้นอีกด้วย
- การแก้ปัญหาหรือรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ขาดการมีส่วนร่วมของชนพื้นเมืองจะส่งผลให้ความพยายามดังกล่าววนเวียนอยู่วงจรเดิมที่เป็นสาเหตุสำคัญของวิกฤติสิ่งแวดล้อม
- เรียกร้องให้เห็นความสำคัญของความรู้/ภูมิปัญญาของชนพื้นเมือง ในฐานะความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคนิคที่มีคุณค่ามากกว่าการมองเป็นเพียงเรื่องเล่าโบราณหรือตำนานพื้นบ้าน
- การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชนพื้นเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต้องเปลี่ยนแปลงในระดับฐานราก ครอบคลุมถึงกลไกทางการเงินที่ให้ชนพื้นเมืองเป็นผู้บริหารจัดการและจัดสรรงบประมาณด้วยตัวเอง
- ควรยอมรับระบบการปกครองดูแลตนเองของชนพื้นเมืองอย่างเป็นทางการ และการรับรองสิทธิในการควบคุมข้อมูลของตนเอง โดยให้ชุมชนมีอำนาจตัดสินใจว่าความรู้เกี่ยวกับที่ดินและวิถีชีวิตของพวกเขาจะถูกรวบรวมและนำไปใช้อย่างไร
Hindou Oumarou Ibrahim ประธานเวทีชนพื้นเมืองแห่งสหประชาชาติ (UN Permanent Forum on Indigenous Issues) กล่าวว่า “แม้เราจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตสภาพอากาศอย่างหนัก แต่เราไม่ใช่เหยื่อ เราคือผู้พิทักษ์ธรรมชาติที่ทุ่มเทรักษาสมดุลของโลกเพื่อลูกหลานในอนาคต”
● อ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
– ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คุกคามระบบผลิตอาหารที่เก่าแก่ของชนพื้นเมืองทั่วโลก
– ผู้ป่วยชนพื้นเมืองอะบอริจิน รู้สึกว่าได้รับการดูแลและประสบการณ์ที่ดีกว่าจากบุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นชนพื้นเมืองเหมือนกัน
– Change agent ตัวจริง: หรือชนพื้นเมืองคือผู้ขับเคลื่อน ‘ความยั่งยืน’ อย่างแท้จริงตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
– ชวนติดตามกิจกรรมและชมภาพยนตร์ในสัปดาห์ชนพื้นเมือง (Indigenous Week 2021) วันที่ 8-12 กุมภาพันธ์ 2564
– แคนาดา-บริติชโคลัมเบีย จับมือพัฒนาข้อตกลงทวิภาคีอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ พร้อมทำงานร่วมกับชนพื้นเมือง
– มหาวิทยาลัยในแอตแลนติกร่วมจัดตั้งโครงการสนับสนุนเงินทุน เพื่อดึงดูดนักศึกษาชนพื้นเมืองและผิวสีเข้าเรียนโรงเรียนธุรกิจมากขึ้น
– 9 สิงหาคม วันสากลว่าด้วยชนพื้นเมืองดั้งเดิมของโลก – UN DESA จัดงานเฉลิมฉลองภายใต้ธีม “บทบาทสตรีพื้นเมืองในการอนุรักษ์และถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น”
– วันสากลว่าด้วยชนพื้นเมืองดั้งเดิมของโลก เยาวชนส่งต่อแรงบันดาลใจต่อสู้เพื่อสิทธิ และนำเสนออัตลักษณ์ชนเผ่าพื้นเมืองร่วมสมัย
ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG10 ลดความเหลื่อมล้ำ
– (10.2) ให้อำนาจและส่งเสริมความครอบคลุมด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมืองสำหรับทุกคน โดยไม่คำนึงถึงอายุ เพศ ความบกพร่องทางร่างกาย เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ แหล่งกำเนิด ศาสนา หรือสถานะทางเศรษฐกิจหรือสถานะอื่น ๆ ภายในปี 2573
#SDG11 เมืองเเละชุมชนที่ยั่งยืน
– (11.4) เสริมความพยายามที่จะปกป้องและคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติของโลก
#SDG13 การรับมือกับการเปลี่ยนเเปลงสภาพภูมิอากาศ
– (13.b) ส่งเสริมกลไกที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการวางแผนและการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิผลในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด และรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก โดยให้ความสำคัญต่อผู้หญิง เยาวชน ชุมชนท้องถิ่นและชุมชนชายขอบ
#SDG15 ระบบนิเวศบนบก
– (15.5) ปฏิบัติการที่จำเป็นและเร่งด่วนเพื่อลดการเสื่อมโทรมของถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ หยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และภายในปี พ.ศ. 2563 ปกป้องและป้องกันการสูญพันธุ์ของชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม
#SDG17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
– (17.17) สนับสนุนและส่งเสริมหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาครัฐ-ภาคเอกชน และประชาสังคม สร้างบนประสบการณ์และกลยุทธ์ด้านทรัพยากรของหุ้นส่วน
แหล่งที่มา
– ชนพื้นเมืองต้องทนรับมือทั้งภัยธรรมชาติและแผนรักษ์โลกที่ไม่นับรวมพวกเขา (ประชาไท)
– Indigenous Peoples sidelined in global climate fight, UN warns (UN News)