World Bank ชี้เอเชียตะวันออก-แปซิฟิก เผชิญอุปสรรคด้านสิ่งแวดล้อม-ภูมิรัฐศาสตร์ แต่ยังรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจได้

ธนาคารโลก (World Bank: WB) เผยแพร่ “รายงานอัปเดตเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกฉบับเดือนเมษายน 2567” (East Asia and Pacific April 2024 Economic Update) ระบุว่าประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกมีแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงกว่าภูมิภาคอื่นของโลก แต่ยังคงต่ำกว่าอัตราการเติบโตของช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 แม้การค้าโลกจะฟื้นตัวและสภาวะการเงินที่ผ่อนคลาย แต่การกีดกันทางการค้าที่เพิ่มขึ้นและความไม่แน่นอนของนโยบายยังเป็นผลให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเติบโตน้อย

ขณะที่มีการคาดการณ์ว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ จะลดลงเหลือ ร้อยละ 4.5 จากร้อยละ 5.1 ในปีที่แล้ว  แต่รายงานของธนาคารโลกฉบับนี้ ได้ระบุว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศกําลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ยกเว้นจีน คาดว่าจะเพิ่มขึ้นมาจากปีก่อนหน้าร้อยละ 0.2 เเละมีการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับปานกลางลดลงถึงร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เหตุจากภาระมีหนี้สูง ภาคอสังหาริมทรัพย์ที่อ่อนแอ และความขัดแย้งทางการค้า ซึ่งล้วนส่งผลกระทบด้านลบต่อเศรษฐกิจจีน ขณะที่กลุ่มประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก คาดว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงเหลือร้อยละ 3.6 น้อยกว่าปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 2.0 เนื่องจากเศรษฐกิจกลับสู่ภาวะปกติหลังการฟื้นตัวจากโรคระบาดโควิด-19

มานูเอลา วี. เฟอโร รองประธานธนาคารโลกประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก กล่าวว่า “ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกมีส่วนส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกเป็นอันมาก แม้ว่าต้องเผชิญกับปัญหาและความไม่แน่นอนด้านสิ่งแวดล้อมของโลกที่เพิ่มขึ้น ประชากรสูงอายุ และผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ”

อย่างไรก็ดี แนวโน้มดังกล่าวขึ้นอยู่กับความเสี่ยงขาลงหรือความเสี่ยงด้านลบ (downside risks) ด้วย เช่น การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ การที่เขตเศรษฐกิจหลักยังคงอัตราดอกเบี้ยระยะยาวอยู่ในระดับสูง ความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ทวีความรุนแรงขึ้น เช่น สงครามความขัดแย้ง 

สภาพการณ์ดังกล่าว มีส่วนช่วยให้หน่วยงานและบริษัทต่าง ๆ จัดการกับอุปสรรคในการแข่งขันในภาคเศรษฐกิจ เช่น ด้านทักษะของพนักงาน และกำหนดทิศการจัดการให้มีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมการเติบโตของผลิตภาพของภาคธุรกิจ พร้อมเพิ่มโอกาสในการแข่งขันของสินค้าและบริการให้สูงขึ้น และการพัฒนาทุนมนุษย์ผ่านการลงทุนด้านการศึกษาอีกด้วย ซึ่งถือเป็นแนวทางที่ช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยคำนึงถึงทุกมิติอย่างรอบด้าน

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG8 งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
– (8.3) ส่งเสริมนโยบายที่มุ่งเน้นการพัฒนาที่สนับสนุนกิจกรรมที่มีผลิตภาพ การสร้างงานที่มีคุณค่า ความเป็นผู้ประกอบการ ความสร้างสรรค์และนวัตกรรม และให้การสนับสนุนการรวมตัวและการเติบโตของวิสาหกิจรายย่อย ขนาดเล็ก และขนาดกลาง ผ่านการเข้าถึงบริการทางการเงิน
– (8.4) ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรของโลกในการบริโภคและการผลิตอย่างต่อเนื่อง และพยายามที่จะไม่เชื่อมโยงระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นไปตามกรอบการดำเนินงานระยะ 10 ปี ว่าด้วยการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนโดยมีประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นผู้นำในการดำเนินการไปจนถึงปี 2573
#SDG13 การรับมือกับการเปลี่ยนเเปลงสภาพภูมิอากาศ
– (13.2) บูรณาการมาตรการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการวางแผนระดับชาติ

ผลงานนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้โครงการกลยุทธไตรพลังในการดำเนินการเพื่อสุขภาวะและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย

Author

  • Praewpan Sirilurt

    Knowledge Communication | มนุษย์ผู้เชื่อว่า “การสื่อสารสามารถเชื่อมต่อความรู้สึกของกันและกันได้” ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหน หรือเผชิญกับอะไรอยู่ การสื่อสารจะช่วยบอกเล่าเรื่องราวส่งไปให้แก่ผู้อื่นได้รับรู้

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นและรายละเอียดของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับและใช้เพื่อการพัฒนาการสื่อสารองค์ความรู้ของ SDG Move เท่านั้น
* หมายถึง ข้อมูลที่จำเป็น