SDG Recommends | Complementarities between the ASEAN Community Vision 2025

วันที่ 8 สิงหาคม วันอาเซียน

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) หรือ ปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีประเทศสมาชิก 5 ประเทศ ประกอบด้วย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงได้ถือให้วันนี้เป็นวันอาเซียน ต่อมามีประเทศสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุส-ซาลาม เวียดนาม ลาว เมียนมาร์ และกัมพูชา ตามลำดับ จึงทำให้ปัจจุบันอาเซียน มีสมาชิก 10 ประเทศ

ภาพการลงนามในปฏิญญากรุงเทพ หรือ ปฏิญญาอาเซียน จุดเริ่มต้นของการก่อตั้งอาเซียน

อาเซียนนับเป็นการรวมกลุ่มของประชาคมในภูมิภาคที่สำคัญ และกำลังได้รับความสนใจในฐานะภูมิภาคที่ยังมีศักยภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งในมิติของการเป็นตลาดแรงงาน ตลาดบริโภคขนาดใหญ่ สำหรับประเด็นการพัฒนาประชาคมอาเซียนพร้อมด้วย หน่วยงานสหประชาชาติ และภาคีภายนอกของอาเซียนได้ร่วมกันจัดทำแนวทางขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้ข้อริเริ่มความเกื้อกูลระหว่างวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน ค.ศ. 2025 กับวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 Complementarities between the ASEAN Community Vision 2025 and the UN 2030 Agenda for Sustainable Development ผ่านการประชุมที่เรียกว่า

High-Level Brainstorming Dialogue on Enhancing Complementarities between the ASEAN Community Vision 2025 and the UN 2030 Agenda for Sustainable Development (HLBD)

ในด้านเนื้อหา Complementarities Roadmap (ค.ศ. 2020-2025) ประกอบด้วยแนวทางที่อเาซียนต้องการขับเคลื่อนร่วมกันจำนวน 5 ด้าน ได้แก่

  1. การขจัดความยากจน
  2. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและความเชื่อมโยง
  3. การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน 
  4. การบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน
  5. การเสริมสร้างความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติ และการเสริมสร้างขีดความสามารถ

สำหรับประเทศไทยในฐานะผู้ประสานงานของอาเซียนในเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้ร่วมกับเอสแคปจัดการประชุม HLBD เป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี 2560 โดยการประชุมฯ มีบทบาทสำคัญในการผลักดันความร่วมมือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนในอาเซียนให้มีความคืบหน้า ตลอดจนกระชับความร่วมมือระหว่างอาเซียนและสหประชาชาติในด้านดังกล่าว

เข้าถึง Complementarities between the ASEAN Community Vision 2025 and the United Nations 2030 Agenda for Sustainable Development ได้ที่นี่

ที่มา;

https://www.mfa.go.th/th/content/enhancing-complementarities-asean-2025-un-2030

Last Updated on พฤศจิกายน 8, 2021

Author

  • Pimnara Intaprasert

    Editor | คนทำงานข้ามสายที่ชอบมองภาพใหญ่และอยากเห็นงานพัฒนามองทุกศาสตร์อย่างเชื่อมโยง

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นและรายละเอียดของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับและใช้เพื่อการพัฒนาการสื่อสารองค์ความรู้ของ SDG Move เท่านั้น
* หมายถึง ข้อมูลที่จำเป็น