SDG Updates | เปิดตัว “รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2565” เจาะลึกข้อมูลสถานการณ์ SDGs ภายใต้มุมมองผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนของประเทศไทย

ครั้งแรกของประเทศไทยกับการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาคส่วน “เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย” เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการกระตุ้นให้ประเทศไทยมุ่งไปสู่การเปลี่ยนแปลงระดับฐานรากเพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ภายใน พ.ศ. 2573

ในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ ได้มีการเปิดตัวรายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย: มุมมองจากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาคส่วนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2565 (Thailand Sustainable Development Report 2022: TSDF Report) ที่มุ่งให้เป็นหมุดหมายสำคัญของการเริ่มต้นให้เกิดกลไกการนําข้อมูลไปสู่การกําหนดวาระนโยบาย ผ่านการจัดทําข้อมูลสถานการณ์ และการระบุช่องว่างการดําเนินงานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ

รายงานฉบับนี้ เกิดขึ้นจากการระดมความคิดเห็นของภาคส่วนที่ดำเนินงาน SDGs ผ่านกระบวนการสังเคราะห์และเรียบเรียงประเด็นที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคมของประเทศไทย เพื่อสะท้อนให้เห็นภาพการเชื่อมโยง 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงระดับฐานรากเข้าด้วยกัน ภายใต้ 5 ธีมสำคัญ ได้แก่

  • สุขภาวะและทรัพยากรมนุษย์ (Human Well-being and Capabilities) ให้มีการจัดสรรและบริหารจัดการทรัพยากรและโอกาสที่เป็นธรรม เพื่อสร้างหลักประกันทางการศึกษา และการประกอบอาชีพรวม ทั้งการมีสุขภาวะ ในประชากรแต่ละกลุ่มอย่างเสมอภาค (equity)
  • เศรษฐกิจที่ยั่งยืนและเป็นธรรม (Sustainable and Just Economies) ต้องมีการคุ้มครองทางสังคมสําาหรับคนฐานราก เช่น แรงงาน คนพิการ และคนในชนบท ผ่านระบบและกฎหมายสวัสดิภาพแรงงาน การเข้าถึงกลไกความคุ้มครองทางสังคมของภาครัฐ ระบบสวัสดิการชุมชนและการเข้าถึงเทคโนโลยี
  • การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน และอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน (Energy Decarbonization with Universal Access) ต้องนําประเทศไปสู่สังคมที่มีคาร์บอนเป็นกลาง การส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
  • การพัฒนาของพื้นที่เมือง และพื้นที่กึ่งเมือง (Urban and Peri-urban Development) ด้านการพัฒนาของพื้นที่เมือง และพื้นที่กึ่งเมือง ต้องขจัดความยากจน ทางที่ดิน ที่อยู่อาศัย และการมีสิทธิในที่ดิน การเชื่อมโยงข้อมูล พื้นที่สีเขียว และการสนับสนุนงบประมาณ
  • ระบบอาหาร ที่ดิน น้ำ และมหาสมุทรที่ยั่งยืน (Sustainable Food, Land, Water and Oceans)  ต้องมีระบบเกษตรและอาหารที่มีความสมดุล ยั่งยืน และปรับตัวได้ เกี่ยวข้องกับความสมดุล และความเชื่อมโยงของมิติทั้งสามของการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่ มิติทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

สำหรับท่านที่สนใจติดตามข้อมูลสถานการณ์ ประเด็นที่เกี่ยวข้องและสถานะรายเป้าหมายย่อย ความท้าทายเชิงระบบที่สําคัญ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่สำคัญในการผลิกโฉมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไปสู่การเปลี่ยนแปลงระดับฐานรากให้บรรจุวาระสำคัญของโลกได้ทันกาล การดำเนินงาน SDGs นี้ ยังคงมุ่งหวังให้ประเทศไทยปราศจากความเหลื่อมล้ำ และการทิ้งใครไว้ข้างหลังผ่านการทบทวนสถานการณ์ปัจจุบัน ตีโจทย์ความท้าทาย และผลิกโฉมประเทศไปสู่วันพรุ่งนี้ที่ยั่งยืน

ดาวน์โหลด Thailand Sustainable Development Report ฉบับเต็มและ
Highlight 2022 สรุปรายงานฉบับรวบรัด ในรูปแบบ PDF ที่นี่

Author

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นและรายละเอียดของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับและใช้เพื่อการพัฒนาการสื่อสารองค์ความรู้ของ SDG Move เท่านั้น
* หมายถึง ข้อมูลที่จำเป็น