บทสรุปความต้องการของพื้นที่: สิ่งที่ภาคตะวันออกต้องการเพื่อแก้ปัญหาสำคัญ


1. ประเด็นการพัฒนาที่พื้นที่ให้ความสำคัญ

การทบทวนความสำคัญของประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืน ปีที่ 2 ของภาคตะวันออก มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 50 คน แบ่งเป็นภาครัฐ จำนวน 35 คน ภาคเอกชน จำนวน 4 คน ภาคประชาสังคม/ภาคองค์กรชุมชน/ชาวบ้าน จำนวน 1 คน ภาควิชาการ จำนวน 10 คน ได้ผลการทบทวนเปรียบเทียบกับโครงการปีที่ 1 ดังตารางต่อไปนี้

ตารางเปรียบเทียบการทบทวนความสำคัญของประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืน ภาคตะวันออก ปีที่ 1 และปีที่ 2

ลำดับปีที่ 1ปีที่ 2
1ปริมาณกากของเสียในอุตสาหกรรมค่าครองชีพสวนทางกับค่าจ้าง
2ปัญหาภัยแล้งในภาคตะวันออกต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น
3ภัยแล้งและอุทกภัย เนื่องจาก Climate changeปริมาณกากของเสียในอุตสาหกรรม
4ป่าชายเลนที่กำลังสูญหายการชะลอตัวของเศรษฐกิจ
5ขยะทะเลในภาคตะวันออกภัยแล้งและอุทกภัย เนื่องจาก Climate change

จากตารางข้างต้น สรุปได้ว่าประเด็นการพัฒนา 5 ลำดับแรกที่พื้นที่ภาคตะวันออกให้ความสำคัญในปีที่ 1 และปีที่ 2  โดยในปีที่ 1 ประกอบด้วย ประเด็นภายใต้มิติสิ่งแวดล้อม 5 ประเด็น คือ ปริมาณกากของเสียในอุตสาหกรรม ปัญหาภัยแล้งในภาคตะวันออก ภัยแล้งและอุทกภัยเนื่องจาก Climate change ป่าชายเลนที่กำลังสูญหาย และขยะทะเลในภาคตะวันออก ซึ่งตรงกับปีที่ 2  ทั้งหมด 2 ประเด็น คือ ปริมาณกากของเสียในอุตสาหกรรม และ ภัยแล้งและอุทกภัยเนื่องจาก Climate change ขณะที่ ในปีที่ 2 จะเป็นประเด็นภายใต้มิติเศรษฐกิจ 3 ประเด็น ได้แก่ ค่าครองชีพสวนทางกับค่าจ้าง ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น และการชะลอตัวของเศรษฐกิจ โดยทั้งในปีที่ 1 และปีที่ 2 ไม่มีประเด็นในมิติสังคม


2. งานวิจัยที่พื้นที่ต้องการเพิ่มเติมเพื่อตอบสนองต่อปัญหาสำคัญ

การประชุมระดมความคิดเห็นกับผู้เชี่ยวชาญของภาคตะวันออก สรุปได้ว่าพื้นที่ต้องการงานวิจัยเพื่อตอบสนองต่อปัญหาระดับพื้นที่ทั้งสิ้น 16 ประเด็น แบ่งตามมิติ ดังนี้

  • มิติเศรษฐกิจ ได้แก่
  1. การวิจัยพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ที่มาจากผลิตผลการเกษตร เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากตาลโตนด มะม่วง จิ้งหรีด รวมถึงการใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ประยุกต์กับสินค้าในภาคเกษตร [SDG2]
  2. งานวิจัยนวัตกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่า โดยใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และเพิ่มช่องทางการตลาด [SDG8, SDG9]
  3. งานวิจัยเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการ SME สนับสนุนให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้ต่อ [SDG8, SDG9]
  4. การพัฒนาศักยภาพแรงงาน ให้ตรงกับความต้องการของตลาด [SDG4, SDG8]
  5. งานวิจัยเกี่ยวกับการส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก [SDG8, SDG12]
  • มิติสิ่งแวดล้อม ได้แก่
  1. งานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการขยะของเสียภาคการเกษตรและปศุสัตว์ การพัฒนานวัตกรรมเพื่อกำจัดกากของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมและครัวเรือนในพื้นที่ พร้อมนำขยะกลับมาใช้ใหม่ [SDG11, SDG12]
  2. การแปรรูปอ้อย วัชพืช เศษวัสดุจากการเกษตรเพื่อลดการเผา [SDG11, SDG12]
  3. งานวิจัยเกี่ยวกับการดูแลและกำจัดโรคที่เกิดกับพืชในพื้นที่ เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้ และแนวทางการใช้สารเคมีเพื่อช่วยรักษาโรคอย่างเหมาะสม [SDG2]
  4. การทำเกษตรและปศุสัตว์โดยไม่ส่งผลให้เกิดมลพิษ และทำให้เกิดผลกระทบต่อ Climate Change [SDG2, SDG13]
  5. งานวิจัยเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำ เพื่อให้มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี การใช้ประโยชน์จากแม่น้ำบางปะกง [SDG6]
  • มิติสังคม ได้แก่
  1. งานวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อทำความเข้าใจปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาสังคม เช่น คุณธรรม ยาเสพติด อาชญากรรมในเด็กและเยาวชน เป็นต้น [SDG16]
  2. การวิจัยเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยเฉพาะการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียนในพื้นที่ให้เท่าเทียมกัน [SDG4, SDG10]
  3. งานวิจัยเกี่ยวกับการจัดสรรและการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ ให้เกิดประสิทธิภาพ เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ [SDG11]
  4. งานวิจัยเกี่ยวกับจัดสวัสดิการ เพื่อให้คนได้เข้าถึงบริการสาธารณะ บริการสาธารณสุข ตลอดจนสวัสดิการที่เหมาะสมสำหรับครอบครัวที่มีผู้พึ่งพิง [SDG1, SDG3]
  5. งานวิจัยเพื่อเพิ่มทุนทางสังคมและพัฒนาศักยภาพ ของเด็กและเยาวชน และผู้สูงอายุ [SDG4, SDG10]
  6. งานวิจัยแก้ไขปัญหายาเสพติด ในเด็กและเยาวชน [SDG3, SDG16]

นอกจากนี้ การประชุมระดมความคิดเห็นกับผู้เชี่ยวชาญยังระบุถึงหน่วยงานที่ได้ทำงานร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนกลไกวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ระดับภาคเหนือ แบ่งตามภาคส่วนที่เข้ามามีบทบาทได้ดังนี้

ภาคการศึกษาและวิชาการ ได้แก่

  • มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ (Science park) และ มหาวิทยาลัยบูรพา  ช่วยพัฒนางานวิจัยต่อยอดผลิตภัณฑ์สมุนไพร การยืดอายุอาหาร เทคโนโลยี นวัตกรรม
  • อาชีวะ วิทยาลัยการอาชีพ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงาน โรงเรียนกำเนิดวิทย์ สอนการอาชีพ / ทักษะอาชีพ / ทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ลดความรุนแรง
  • ศูนย์วิจัยเกษตร ศูนย์วิจัยวังจันทร์ วัลเล่ย์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช .) ร่วมกันพัฒนางานวิจัยและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์

ภาครัฐ ได้แก่

  • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ช่วยสนับสนุนการลงพื้นที่และการทำความรู้จัก ความเข้าใจปัญหา ความต้องการลงพื้นที่  ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลระดับพื้นที่อย่างแท้จริง และเชื่อมโยงเครือข่ายในชุมชน
  • อุตสาหกรรมจังหวัด กำกับดูแลมาตรฐานอุตสาหกรรม
  • แรงงานจังหวัด ดูแล พัฒนาแรงงาน และสวัสดิการ
  • กรมพัฒนาชุมชน ส่งเสริมและพัฒนา และดูแลมาตรฐาน ของผู้ประกอบการท้องถิ่น ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด (ทสจ.) ดูแลด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) ดูแลสวัสดิการ และช่วยเหลือ กลุ่มเปราะบาง

ภาคประชาชน ได้แก่

  • ปราชญ์ท้องถิ่น ผู้มีความรู้อย่างลึกซึ้งและสามารถถ่ายทอดภูมิปัญญาที่เชื่อมโยงกับพื้นที่ 
  • ชุมชนในพื้นที่ ให้ข้อมูลแหล่งทรัพยากร เช่น Data Base แหล่งเกิดภูมิปัญญา โดยผู้นำ สามารถนำผลจากงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ผู้ให้ข้อมูลและร่วมจัดกิจกรรม

ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และหน่วยงานส่งเสริมผู้ประกอบการ ได้แก่ 

  • หอการค้าและสภาอุตสาหกรรม สามารถช่วยให้โจทย์และประเด็นสำหรับการทำวิจัยที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงกับผู้ประกอบการ  สนับสนุนส่งเสริมผู้ประกอบการและพัฒนาอุตสาหกรรม 
  • ผู้ประกอบการในพื้นที่ทั้งหมด (SME Smart Farmer) ให้ข้อมูลในงานวิจัยความต้องการในอนาคตของพื้นที่ แลกเปลี่ยนความรู้ การทำกิจกรรมเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility : CSR)
  • พาณิชย์จังหวัด ควบคุมดูแลกำกับด้านเศรษฐกิจการค้า
  • สถาบันไทย-เยอรมัน พัฒนาเครื่องจักรการผลิต

3. ข้อเสนอแนะสำหรับการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน

จากกระบวนการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ให้ข้อเสนอแนะต่อการทำงานร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนกลไก ววน. ระดับพื้นที่ เช่น

  • ต้องการนักวิจัยจากสถาบันการศึกษา ที่สามารถเป็นพี่เลี้ยงในการทำวิจัยให้กับชุมชน 
  • มีการกระจายการทำงานไปทุกภาคส่วน ครอบคลุมทุกมิติ ราชการ วิชาการ  ไม่จำกัดแค่จากส่วนกลางเท่านั้น
  • เปิดโอกาสให้กลุ่มคนจากหลายภาคส่วนมีส่วนร่วมให้ความคิดเห็นในการกำหนดโจทย์วิจัย ทั้งภาคประชาสังคม ผู้ประกอบการ เกษตร พร้อมสร้างกลไกการมีส่วนร่วม และเครือข่ายการทำงานที่ยั่งยืน
  • ต้องการการสนับสนุนให้เกิดการจัดทำฐานข้อมูลชุมชน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์กับการวิจัยและการแก้ไขปัญหาชุมชน และมีการอัปเดตข้อมูลที่ต่อเนื่อง 
  • ควรผลักดันให้นำงานวิจัยไปใช้ในการบริหารจัดการส่วนท้องถิ่น ได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน 
  • เปิดเผยงานวิจัยที่มีอยู่ให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ได้รับทราบ เพื่อให้ผู้ที่ต้องการใช้ประโยชน์สามารถเข้าถึงได้ รวมถึงเพิ่มการสื่อสารประชาสัมพันธ์งานวิจัย เพื่อให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
  • การพัฒนาและส่งเสริมให้ชุมชนสามารถทำวิจัย โดยใช้กระบวนการทำงานในการแก้ไขปัญหาของตนเอง 
  • บริหารจัดการเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัย เพื่อสนับสนุนสนับการต่อยอด
  • สร้างฐานข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจากแต่ละหน่วยงาน เพื่อให้เกิดการแบ่งปันองค์ความรู้
  • สร้างระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) ในเรื่ององค์ความรู้และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ 
คณะวิจัยภาคตะวันออก: รศ. ดร.ดวงพร ภู่ผะกา และ ผศ. ดร.พิชณสิณี อริยธนกตวงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ และคณะ

● บทความที่เกี่ยวข้องกับโครงการ Area Need 
– Introduction of Area Need | เราจะรู้ได้อย่างไรว่างานวิจัยที่มีอยู่ตอบโจทย์ความต้องการพื้นที่
– พื้นที่ต้องการอะไร? : ความต้องการและข้อเสนอเชิงนโยบายจากภาคเหนือ
 Area Need พื้นที่ต้องการอะไร? | ความต้องการและข้อเสนอเชิงนโยบายจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
– พื้นที่ต้องการอะไร?: ความต้องการและข้อเสนอเชิงนโยบายจากภาคตะวันออก 
– พื้นที่ต้องการอะไร? : ความต้องการและข้อเสนอเชิงนโยบายจากภาคกลาง
– พื้นที่ต้องการอะไร? : ความต้องการและข้อเสนอเชิงนโยบายจากภาคใต้
– พื้นที่ต้องการอะไร?: ความต้องการและข้อเสนอเชิงนโยบายจากภาคใต้ชายแดน
Area Need 05 | Area Need 2: What’s next step? การติดตาม และวางแผนต่อไปสำหรับโครงการความต้องการของพื้นที่ ปีที่ 2 
บทสรุปความต้องการของพื้นที่: สิ่งที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือต้องการเพื่อแก้ปัญหาสำคัญ
บทสรุปความต้องการของพื้นที่: สิ่งที่ภาคเหนือต้องการเพื่อแก้ปัญหาสำคัญ 
บทสรุปความต้องการของพื้นที่: สิ่งที่ภาคกลางต้องการเพื่อแก้ปัญหาสำคัญ

ซีรีส์ Area Need จะสรุปข้อค้นพบสำคัญของโครงการปีที่ 1  และอัปเดตสิ่งที่เรากำลังทำต่อในปีที่ 2 ไปจนถึง เมษายน 2566

แพรวพรรณ ศิริเลิศ – เรียบเรียง
พิมพ์นารา อินต๊ะประเสริฐ – บรรณาธิการ
วิจย์ณี เสนเเดง – ภาพประกอบ

Last Updated on พฤษภาคม 15, 2023

Author

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นและรายละเอียดของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับและใช้เพื่อการพัฒนาการสื่อสารองค์ความรู้ของ SDG Move เท่านั้น
* หมายถึง ข้อมูลที่จำเป็น