บทสรุปความต้องการของพื้นที่: สิ่งที่ภาคใต้ชายแดนต้องการเพื่อแก้ปัญหาสำคัญ


1. ประเด็นการพัฒนาที่พื้นที่ให้ความสำคัญ

การทบทวนความสำคัญของประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืน ปีที่ 2 ของภาคมีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 21 คน แบ่งเป็น ภาครัฐ จำนวน 2 คน ภาคประชาสังคม จำนวน 13 คน ภาควิชาการจำนวน 3 คน ภาคอื่น ๆ จำนวน 1 คน ผู้ไม่ให้คำตอบ จำนวน 2 คน 

ตารางเปรียบเทียบการทบทวนความสำคัญของประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืน
ภาคใต้ชายแดน ปีที่ 1 และปีที่ 2

ลำดับปีที่ 1ปีที่ 2
1ปัญหายาเสพติดการเจรจาแบบมีส่วนร่วมเพื่อลดความรุนแรงในพื้นที่
2นิติธรรมและการเข้าถึงความยุติธรรมเพื่อลดความรุนแรงในพื้นที่นิติธรรมและการเข้าถึงความยุติธรรมเพื่อลดความรุนแรงในพื้นที่
3การสร้างพื้นที่ปลอดภัย ระงับเหตุความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชนปัญหายาเสพติด
4การศึกษาสถานการณ์ความไม่สงบส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนในพื้นที่
5การค้าชายแดนการสร้างพื้นที่ปลอดภัย ระงับเหตุความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชน

จากตารางข้างต้น สรุปได้ว่าประเด็นการพัฒนา 5 ลำดับแรกที่พื้นที่ภาคใต้ชายแดนให้ความสำคัญในปีที่ 1 และปีที่ 2 มีความแตกต่างกันถึง 4 ประเด็น กล่าวคือ ประเด็น “การศึกษา” และประเด็น “การค้าชายแดน” ปรากฏเฉพาะในปีที่ 1 ส่วนประเด็น “การเจรจาแบบมีส่วนร่วมเพื่อลดความรุนแรงในพื้นที่” และประเด็น “สถานการณ์ความไม่สงบส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนในพื้นที่” ปรากฏเฉพาะในปีที่ 2 

ทั้งนี้ สรุปประเด็นสำคัญทั้งหมดโดยแบ่งตามมิติต่าง ๆ ได้ดังนี้ ประเด็นภายใต้มิติเศรษฐกิจ 1 ประเด็น ได้แก่ การค้าชายแดน ประเด็นภายใต้มิติสังคม 2 ประเด็น ได้แก่ ปัญหายาเสพติด และ การศึกษา ประเด็นภายใต้มิติสันติภาพ 3 ประเด็น ได้แก่ การเจรจาแบบมีส่วนร่วมเพื่อลดความรุนแรงในพื้นที่ นิติธรรมและการเข้าถึงความยุติธรรมเพื่อลดความรุนแรงในพื้นที่ การสร้างพื้นที่ปลอดภัย ระงับเหตุความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชน และสถานการณ์ความไม่สงบส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนในพื้นที่ สำหรับมิติสิ่งแวดล้อม พบว่าไม่ปรากฏในประเด็นการพัฒนา 5 ลำดับแรก ทั้งในปีที่ 1 และปีที่ 2 

นอกจากนี้ ยังพบว่ามีความเปลี่ยนแปลงในการลำดับประเด็น เนื่องจากประเด็นที่พื้นที่ให้ความสำคัญมากที่สุดในปีที่ 1 คือ ปัญหายาเสพติด แต่ปีที่ 2 คือ การเจรจาแบบมีส่วนร่วมเพื่อลดความรุนแรงในพื้นที่


2. งานวิจัยที่พื้นที่ต้องการเพิ่มเติมเพื่อตอบสนองต่อปัญหาสำคัญ

การประชุมระดมความคิดเห็นกับผู้เชี่ยวชาญของภาคใต้ชายแดน สรุปได้ว่าพื้นที่ต้องการงานวิจัยเพื่อตอบสนองต่อปัญหาระดับพื้นที่ทั้งสิ้น 17 ประเด็น แบ่งตามมิติดังนี้

  • มิติเศรษฐกิจ ได้แก่
    1. งานวิจัยเชิงระบบที่ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรในท้องถิ่น เพื่อนําไปสู่การแก้ไขปัญหาและสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ [SDG8]
    2. งานวิจัยเกี่ยวกับสวัสดิภาพแรงหรือคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงกลุ่มแรงงานที่ไปทํางานในต่างแดน เช่น ประเทศมาเลเซีย [SDG1, SDG8]
    3. งานวิจัยบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยเน้นการมีส่วนร่วมภาคประชาชน [SDG8, SDG12]
  • มิติสังคม ได้แก่ 
    1. งานวิจัยแนวทางของการกระจายอํานาจชุมชนและแนวทางการพัฒนาชุมชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ [SDG10, SDG16]
    2. งานวิจัยเชิงระบบที่ศึกษาปัญหาเชิงโครงสร้างความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อนําไปสู่การหาทางออกและการแก้ไขปัญหา [SDG10]
    3. งานวิจัยด้านความมั่นคงทางอาหารหรือโภชนาการทางด้านอาหารในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ [SDG2]
    4. งานวิจัยเพื่อศึกษาระบบราชการและการบริหารจัดการของภาครัฐที่เหมาะสมกับบริบทของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพของภาครัฐและการทําให้ประชาชนเข้าถึงบริการของรัฐ อย่างเท่าเทียมและเหมาะสม [SDG16] 
  • มิติสิ่งแวดล้อม ได้แก่ 
    1. งานวิจัยการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ [SDG1, SDG11, SDG13] 
    2. งานศึกษาวิจัยการทําเกษตรกรรมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยมีประเด็นสําคัญที่เกี่ยวข้อง อาทิ การจัดการภาคการเกษตรกรรมเน้นการมีส่วนร่วม กลไกเชื่อมโยงระบบเกษตรกรรมแบบครบห่วงโซ่ [SDG2]
  • มิติสันติภา
    1. งานวิจัยกระบวนการพูดคุยกับชาวพุทธในพื้นที่เพื่อสร้างสันติภาพใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ [SDG16]
    2. งานวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสร้างสันติภาพใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ [SDG9, SDG16]
    3. งานวิจัยอิทธิพลของศาสนาต่อทัศนคติและวิธีคิดด้านสันติภาพและการจัดการความขัดแย้งของคนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ [SDG16]
    4. งานวิจัยด้านกระบวนการยุติธรรมและการซ้อมทรมานผู้ต้องหาคดีความมั่นคงใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ [SDG16]
    5. งานวิจัยปัญหาการใช้ความรุนแรงต่อสตรีและเด็กในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ [SDG5, SDG16]
    6. งานวิจัยศึกษาแนวทางและการดําเนินงานของหน่วยงานความมั่นคงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อทําความเข้าใจทัศนคติและวิธีคิดของเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงซึ่งมีบทบาทในการบริหารจัดการความขัดแย้งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ [SDG16]
    7. งานวิจัยเกี่ยวกับอิทธิพลในเชิงอํานาจและความคิดของกลุ่มผู้มีอิทธิพลคนพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงในพื้นที่มาเป็นระยะยาวนาน [SDG16]
    8. งานวิจัยเชิงศึกษาเปรียบเทียบเพื่อหาตัวแบบของการขับเคลื่อนกระบวนการสันติภาพในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น ในกรณี ของ อาเจะ – อินโดนีเซีย หรือ มินดาเนา – ฟิลิปปินส์ เป็นต้น โดยศึกษาทั้งตัวอย่างที่ประสบความสําเร็จและตัวอย่างที่ไม่ประสบความสําเร็จ [SDG16]

นอกจากนี้ การประชุมระดมความคิดเห็นกับผู้เชี่ยวชาญยังระบุถึงหน่วยงานที่ได้ทํางานร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนกลไกวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ระดับภาคใต้ชายแดน ได้แก่ 

  • สถาบันการศึกษา : บทบาทหน้าที่ เช่น สนับสนุนให้งบประมาณการทําวิจัยให้กับอาจารย์นักวิชาการและสนับสนุนให้นักศึกษาได้ออกไปทําวิจัยร่วมกับชุมชนในการแก้ไขปัญหาของพื้นที่
  • สถาบันวิจัย : บทบาทหน้าที่ เช่น ผลิตสร้างความรู้เพื่อนําไปใช้ในการแก้ไขปัญหา และทํางานเกาะติด ประเด็นในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเป็นตัวกลางในการสร้างความร่วมมือกับ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาอย่างแท้จริง
  • สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ : บทบาทหน้าที่ เช่น สนับสนุนและส่งเสริมงบประมาณ องค์ความรู้ และเครื่องมือของการพัฒนานวัตกรรมที่จะนําไปใช้ในการพัฒนามิติต่าง ๆ 
  • ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ : บทบาทหน้าที่ เช่น สนับสนุนเงินทุนในการทําวิจัยและมีพี่เลี้ยงช่วยสนับสนุนติดตามโครงการวิจัย 
  • ภาคธุรกิจเอกชน : บทบาทหน้าที่ เช่น สนับสนุนการทําวิจัยของชุมชนโดยให้มีนักวิจัยจากชุมชนและใช้ภูมิปัญญาของชุมชน 
  • กลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ : บทบาทหน้าที่ เช่น ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสร้างพลังทุนในพื้นที่ และพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในพื้นที่
  • กลุ่มขององค์การมหาชน : บทบาทหน้าที่ เช่น นําเสนอประเด็นปัญหาในพื้นที่โดยไม่มีข้อจํากัดและทําให้เกิดการทํางานได้อย่างยืดหยุ่น และสนับสนุนงบประมาณและทรัพยากรในการพัฒนาและแก้ไข ปัญหาของพื้นที่
  • ภาคการเมือง : บทบาทหน้าที่ เช่น มีอํานาจและอิทธิพลในการดําเนินการจัดการงานในพื้นที่และสามารถส่งต่อผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนในระดับนโยบายได้และพิจารณางบประมาณในแก้ไขปัญหา 
  • องค์กรเอกชนระหว่างประเทศ (INGOs) : บทบาทหน้าที่ เช่น มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางและเฉพาะประเด็นที่จะนําเอามาสร้างการเรียนรู้ให้กับหน่วยงานและประชาชนพื้นที่เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหา 
  • ภาคประชาสังคม : บทบาทหน้าที่ เช่น ขับเคลื่อนการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากเป็นเจ้าของปัญหาและรู้ปัญหาจริงที่เกิดขึ้นซึ่งสามารถนำไปเป็นโจทย์ของการทำวิจัยได้
  • สมาคมต่าง ๆ เช่น สภาคมประมงพืนบ้าน สมาคม SMEs ในพืนทีสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ : บทบาทหน้าที่ เช่น ขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาในพื้นที่ 
  • สภาเด็กและกลุ่มเยาวชน : บทบาทหน้าที่ เช่น ตัวกลางในการสื่อสารและขับเคลื่อนเพื่อให้เห็นคนในชุมชนรับรู้และมองเห็น ปัญหาในที่เกิดขึ้น 
  • องค์กรหรือกลุ่มผู้นำทางศาสนา : บทบาทหน้าที่ เช่น ให้ความรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนา และการอยู่ร่วมกันของแต่ละศาสนา 
  • กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการเจรจาสันติภาพ : บทบาทหน้าที่ เช่น เป็นกลไกของการขับเคลื่อนให้เกิดการเจรจาสันติภาพในพื้นที่ 3 จังหวัด ชายแดนใต้ และหาทางออกของการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงในพื้นที่

3. ข้อเสนอแนะสำหรับการทํางานร่วมกันของทุกภาคส่วน

จากกระบวนการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ให้ข้อเสนอแนะต่อการทำงานร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนกลไก ววน. ระดับพื้นที่ เช่น 

  • ส่งเสริมและสนับสนุนแนวทางการทําวิจัยแบบบูรณาการข้ามศาสตร์สาขาวิชา เพื่อให้เกิดการผสมผสานและการใช้ความรู้จากหลากหลายศาสตร์ไปช่วยแก้ไขปัญหาด้านการพัฒนาที่มีความสลับซับซ้อนซึ่งอาจนําไปสู่การสร้าง “ภาคีเครือข่ายเพื่อการพัฒนาระดับพื้นที่” 
  • การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำของประชาชน ควรมีประเด็นดังต่อไปนี้ 1.กลไกการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน 2.การแก้ไขปัญหาเชิงระบบทรัพยากร 3.การจัดการทรัพยากรเพื่อการท่องเที่ยวอย่างสมดุล และ 4.การสร้างนวัตกรรมด้านเกษตรสนับสนุนชุมชนฐานราก 
  • มีการจัดการความรู้และจัดทําฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่ได้เข้าไปใช้ประโยชน์จากข้อมูลและงานวิจัยเพื่อนําไปใช้แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน 
คณะวิจัยภาคใต้ชายแดน: ผศ.เอกรินทร์ ต่วนศิริ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ผศ. ดร.เเพร ศิริศักดิ์ดำเกิง มหาวิทยาลัยศิลปากร เเละคณะ

● บทความที่เกี่ยวข้องกับโครงการ Area Need 
– Introduction of Area Need | เราจะรู้ได้อย่างไรว่างานวิจัยที่มีอยู่ตอบโจทย์ความต้องการพื้นที่
– พื้นที่ต้องการอะไร? : ความต้องการและข้อเสนอเชิงนโยบายจากภาคเหนือ
 Area Need พื้นที่ต้องการอะไร? | ความต้องการและข้อเสนอเชิงนโยบายจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
– พื้นที่ต้องการอะไร?: ความต้องการและข้อเสนอเชิงนโยบายจากภาคตะวันออก 
– พื้นที่ต้องการอะไร? : ความต้องการและข้อเสนอเชิงนโยบายจากภาคกลาง
– พื้นที่ต้องการอะไร? : ความต้องการและข้อเสนอเชิงนโยบายจากภาคใต้
– พื้นที่ต้องการอะไร?: ความต้องการและข้อเสนอเชิงนโยบายจากภาคใต้ชายแดน
 Area Need 05 | Area Need 2: What’s next step? การติดตาม และวางแผนต่อไปสำหรับโครงการความต้องการของพื้นที่ ปีที่ 2 
 บทสรุปความต้องการของพื้นที่: สิ่งที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือต้องการเพื่อแก้ปัญหาสำคัญ
– บทสรุปความต้องการของพื้นที่: สิ่งที่ภาคเหนือต้องการเพื่อแก้ปัญหาสำคัญ 
– บทสรุปความต้องการของพื้นที่: สิ่งที่ภาคกลางต้องการเพื่อแก้ปัญหาสำคัญ
– บทสรุปความต้องการของพื้นที่: สิ่งที่ภาคตะวันออกต้องการเพื่อแก้ปัญหาสำคัญ 
บทสรุปความต้องการของพื้นที่: สิ่งที่ภาคใต้ต้องการเพื่อแก้ปัญหาสำคัญ
Director’s Note: 01 -โครงการ Area-Needs, สกสว. และ SDG Move

ซีรีส์ Area Need จะสรุปข้อค้นพบสำคัญของโครงการปีที่ 1 และอัปเดตสิ่งที่เรากำลังทำต่อในปีที่ 2 ไปจนถึง พฤษภาคม 2566

อติรุจ ดือเระ – เรียบเรียง
พิมพ์นารา อินต๊ะประเสริฐ – บรรณาธิการ
วิจย์ณี เสนเเดง – ภาพประกอบ

Author

  • Atirut Duereh

    Knowledge Communication | สนใจประเด็นสันติภาพ ความมั่นคงมนุษย์ เเละสิ่งเเวดล้อมทางทะเล ใช้ชีวิตโดยเชื่อในสมดุลมากกว่าความสมบูรณ์เเบบ

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นและรายละเอียดของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับและใช้เพื่อการพัฒนาการสื่อสารองค์ความรู้ของ SDG Move เท่านั้น
* หมายถึง ข้อมูลที่จำเป็น