ทั้งวงจรชีวิตของพลาสติกปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะจากกระบวนการผลิตที่ใช้พลังงานถ่านหิน

ายงานเผยแพร่ใน Nature Sustainability ระบุว่า รอยเท้าคาร์บอนจากพลาสติกทั่วโลกเพิ่มขึ้นสองเท่าจากปี 2538 เกือบเป็นการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 2.2 พันล้านตันในปี 2558 หรือคิดเป็น 4.5% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในโลก โดยข้อมูลการศึกษาผลกระทบของห่วงโซ่พลาสติกที่มีต่อสภาพอากาศและสุขภาพมาร่วม 20 ปีนี้ยังพบว่า ตลอดทั้งวงจรชีวิตของพลาสติก (life cycle) ตั้งแต่การได้มาซึ่งพลาสติก ผ่านกระบวนการผลิต ใช้งาน นำไปรีไซเคิล เผา หรือกองเป็นภูเขาขยะนั้น มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งสิ้น

โดยเฉพาะภาคส่วนที่ใช้พลังงานจากถ่านหินในการเผาไหม้เพื่อผลิตพลาสติก ยิ่งเป็นการปล่อยอนุภาคของพลาสติกให้ปนเปื้อนและสะสมในอากาศปริมาณมาก ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพและก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้หรือหอบหืด รวมถึงโรคที่เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด เป็นการสะท้อนว่ายิ่งมีการใช้พลังงานจากถ่านหินในการเผาไหม้มากเท่าใด หรือใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตพลาสติก ยิ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบที่ตามมาต่อสุขภาพ

การศึกษานี้ถือเป็นอีกชิ้นที่ช่วยขยายคำอธิบายผลกระทบของพลาสติกที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ โดยครอบคลุมถึงมิติของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอากาศตลอดทั้งระยะของการผลิตและการบริโภค โดยเฉพาะตัวเร่งอย่างพลังงานถ่านหินในกระบวนการผลิตที่คิดเป็น 95% ของรอยเท้าคาร์บอนจากพลาสติก

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบของพลาสติกต่อสิ่งแวดล้อม
ไมโครพลาสติกเป็นพิษต่อเซลล์ ทำให้เซลล์มนุษย์ตายได้เมื่อกลืนกินและสูดดมในปริมาณมาก
พลาสติกจากการเกษตรตกค้างในดิน เป็นอันตรายต่อความมั่นคงทางอาหาร สุขภาพมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม
พลาสติกในของใช้ในบ้านอาจรบกวนระบบต่อมไร้ท่อและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเรา

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG3 สุขภาพและสุขภาวะที่ดี
-(3.9) ลดจำนวนการตายและการป่วยจากสารเคมีอันตราย และจากการปนเปื้อนและมลพิษทางอากาศ น้ำ และดิน ให้ลดลงอย่างมาก ภายในปี 2573
#SDG7 พลังงานสมัยใหม่
-(7.2) เพิ่มสัดส่วนของพลังงานทดแทนในการผสมผสานการใช้พลังงานของโลก ภายในปี 2573
#SDG12 การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
-(12.4) บรรลุการจัดการสารเคมีและของเสียทุกชนิดในวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตลอดทั้งวงจรชีวิตของสิ่งเหล่านั้น และลดการปลดปล่อยสิ่งเหล่านั้นออกสู่อากาศ น้ำ และดินอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อที่จะลดผลกระทบทางลบที่จะมีต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด ภายในปี 2563
#SDG13 การรับมือและจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

แหล่งที่มา:  
What’s the real toll of plastics on the environment? (WEF, Futurity)

Author

  • Thiraphon Singlor

    Editor | อยากรู้ความคิดของคนต่างพื้นเพ ต่างสังคมและวัฒนธรรม สนใจความเป็นไปของโลก ความมั่นคง และการพัฒนา แล้วนำมาถ่ายทอดร้อยเรียงเรื่องราวเล่าให้ฟัง

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นและรายละเอียดของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับและใช้เพื่อการพัฒนาการสื่อสารองค์ความรู้ของ SDG Move เท่านั้น
* หมายถึง ข้อมูลที่จำเป็น