เผยเเพร่แล้ว “รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ.2566” ชวนสำรวจตัวอย่างการขับเคลื่อน SDGs ระดับท้องถิ่น

การพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยในปี 2566 เป็นอย่างไรบ้าง มีพื้นที่ระดับท้องถิ่นใดเป็นต้นแบบให้ถอดบทเรียนเพื่อการขับเคลื่อน SDGs ระดับพื้นที่ หรือ “SDG Localization” ได้บ้าง SDG Recommends ฉบับนี้ ชวนหาคำตอบผ่านรายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย จากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาคส่วนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2566 ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2566

รายงานข้างต้นจัดทำโดยสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมด้วยความร่วมมือจากองค์กรหุ้นส่วน โดยปีนี้จุดเน้นสำคัญคือการขับเคลื่อน SDGs ระดับพื้นที่ 

เนื้อหาของรายงานแบ่งเป็น 5 ส่วนสำคัญ ได้แก่ 

  • บทนำ : ชวนทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับ SDGs และอธิบายกระบวนการในการจัดทำรายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2566 พร้อมทั้งฉายภาพรวมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับพื้นที่ เช่น การอบรมปฏิบัติการพื้นที่เรียนรู้ SDGs รุ่นที่ 1
  • บทเรียนจากพื้นที่เรียนรู้ SDGs รุ่นที่ 1 : ชวนสำรวจและเรียนรู้บทเรียนจากการขับเคลื่อนกิจกรรม โครงการ หรืออาชีพที่เกี่ยวข้องกับ SDGs ของพื้นที่ตัวอย่าง 5 พื้นที่ จาก 4 ภูมิภาค ได้แก่ 1) อาศรมวงศ์สนิท จังหวัดนครนายก พื้นที่ที่สอนให้คนรู้จักตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ยั่งยืนและดีกว่า 2) บ้านมั่นคงชุมแพ จังหวัดขอนแก่น พื้นที่ที่มุ่งสร้างความมั่นคงทางที่อยู่อาศัย ต่อยอดไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชน ช่วยให้ชาวบ้านมีกินมีใช้ 3) ข้าวเม่านายอ จังหวัดสกลนคร พื้นที่ที่มีจุดเด่นในการพัฒนาและยกระดับการผลิตอาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัยผ่านการสนับสนุนของมหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน 4) รักษ์ยั่งยืนเชียงของ จังหวัดเชียงราย พื้นที่ที่คิดสร้างนวัตกรรมสิ่งทอเส้นใยสับปะรดจากวัสดุใช้ธรรมชาติ ช่วยสร้างรายได้ให้คนพื้นเมือง ต่อยอดภูมิปัญญาชุมชน และ 5) ธนาคารปูม้าบ้านหาดสมบูรณ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี พื้นที่ที่อนุรักษ์และส่งเสริมการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลจากความร่วมมือของชุมชนและการสนับสนุนจากหลากหลายภาคส่วน
  • ภาพรวมของการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับพื้นที่ของประเทศไทย : ระบุถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่และความเชื่อมโยงกับ SDGs รวมถึงปัจจัยความยั่งยืนของพื้นที่ 
  • ภาคผนวก : รายชื่อคณะทำงาน
  • แทนคำขอบคุณ : คำขอบคุณต่อคณะทำงานและองค์กรหุ้นส่วน

นอกจากนี้ มีข้อน่าสนใจที่ ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช ประธานกรรมการมูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ได้ระบุไว้ในคำนิยมของรายงานข้างต้นว่า “เป้าหมายและแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติมีค่ายิ่งต่อความอยู่รอดของโลกและมนุษยชาติ แต่เมื่อประเทศและภาคส่วนต่าง ๆ ภายในแต่ละประเทศนำมาดำเนินการ ต้องมีการปรับให้เข้ากับบริบทของประเทศ และที่สำคัญการดำเนินการในทศวรรษแห่งการลงมือทำต้อง “ลงมือทำ” ไปพร้อมกับมีระบบของการเรียนรู้จากประสบการณ์ จากการลงมือทำ”

● อ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
SDG Updates | ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ
Director’s Note: 16: บันทึกจากการประชุม Thailand Sustainable Development Forum 2022
ร่วมเสนอความคิดเห็นต่อ “(ร่าง) รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2565” (ผ่านช่องทางออนไลน์)
SDG Updates | เปิดตัว “รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2565” เจาะลึกข้อมูลสถานการณ์ SDGs ภายใต้มุมมองผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนของประเทศไทย
ประมวลภาพถ่าย – เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาคส่วนเพื่อ “การพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย” พ.ศ. 2565  (Thailand Sustainable Development Forum 2022)

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG1 ขจัดความยากจน
#SDG2 ขจัดความหิวโหย
#SDG3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
#SDG4 การศึกษาที่มีคุณภาพ
#SDG5 ความเท่าเทียมทางเพศ
#SDG6 น้ำสะอาดและการสุขาภิบาล
#SDG7 พลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้
#SDG8 งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
#SDG9 โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม อุตสาหกรรม
#SDG10 ลดความเหลื่อมล้ำ
#SDG11 เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน
#SDG12 การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
#SDG13 การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
#SDG14 ทรัพยากรทางทะเล
#SDG15 ระบบนิเวศบนบก
#SDG16 ความสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันที่เข้มแข็ง
– (16.7) สร้างหลักประกันว่าจะมีกระบวนการตัดสินใจที่มีความรับผิดชอบ ครอบคลุม มีส่วนร่วม และมีความเป็นตัวแทนที่ดี ในทุกระดับการตัดสินใจ
#SDG17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
– (17.17) สนับสนุนและส่งเสริมหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาครัฐ-ภาคเอกชน และประชาสังคม สร้างบนประสบการณ์และกลยุทธ์ด้านทรัพยากรของหุ้นส่วน

แหล่งที่มา : รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ.2566 

ผลงานนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้โครงการกลยุทธไตรพลังในการดำเนินการเพื่อสุขภาวะและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย

Author

  • Atirut Duereh

    Knowledge Communication | สนใจประเด็นสันติภาพ ความมั่นคงมนุษย์ เเละสิ่งเเวดล้อมทางทะเล ใช้ชีวิตโดยเชื่อในสมดุลมากกว่าความสมบูรณ์เเบบ

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นและรายละเอียดของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับและใช้เพื่อการพัฒนาการสื่อสารองค์ความรู้ของ SDG Move เท่านั้น
* หมายถึง ข้อมูลที่จำเป็น